แปะก๊วย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

แปะก๊วย งานวิจัยและสรรพคุณ 17 ข้อ

ชื่อสมุนไพร  แปะก๊วย
ชื่ออื่นๆ  หยาเจียว (จีน) อิโจว(ญี่ปุ่น)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Gingko biloba L. 
ชื่อวงศ์  Ginkgoaceae

 แปะก๊วย

 

ถิ่นกำเนิดแปะก๊วย

แปะก๊วยมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เชื่อกันว่าเป็นพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ที่หลงเหลืออยู่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นพืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ โดยพบอยู่ในธรรมชาติไม่กี่ต้น ต่อมามีการนำต้นแปะก๊วยไปปลูกในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี และในราวศตวรรษที่ 18 ได้มีการปลูกในทวีปยุโรป ปัจจุบันต้นแปะก๊วยเป็นไม้ให้ความร่มเงาตามแถวถนนและสวนสาธารณะทั่วไปทั่งในยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา

ประโยชน์และสรรพคุณแปะก๊วย

  1. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
  2. ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  3. สามารถชะลอความแก่ได้
  4. ฤทธิ์การยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  5. ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง
  6. ทำให้เลือดไหลฉีดไปตามผิวหนังได้ดี
  7. ฤทธิ์เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
  8. ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดไลปิดเพอรอกไซด์
  9. ฤทธิ์ช่วยให้ความจำดีขึ้น
  10. ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว
  11. ฤทธิ์เพิ่มการมองเห็น
  12. ฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมของสมอง
  13. เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ
  14. จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น
  15. แก้ไขปัญหาเลือดไปไหลเวียนในบริเวณอวัยวะเพศไม่สะดวก
  16. บรรเทาอาหารของโรคพาร์กินสัน 
  17. สามารถผลิตฮอร์โมนโดปามีนได้มากขึ้น 

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้แปะก๊วย 

• สารสกัดใบแปะก๊วยแห้ง –ใช้ 120 – 240 มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 2 – 3 ครั้ง สำหรับอาการ dementin โดยให้ยาติดต่อกัน 8 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน
• สารสกัดใบแปะก๊วยแห้ง – ใช้ 120 – 160 มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 2 – 3 ครั้ง สำหรับรักษาอาการเส้นเลือดแดงส่วนปลายประสาทอุดตัน และ ความมึนงง มีเสียงในหู โดยให้ยาติดต่อกัน 6 – 8 สัปดาห์
• ในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ให้ใช้รับประทานใบแปะก๊วยไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม

 

ลักษณะทั่วไปแปะก๊วย 

ต้นแปะก๊วยเป็นไม้ยื่นต้นขนาดใหญ่อาจสูงได้ถึง 35 – 40 เมตร ต้นโตเต็มที่มีเส้นรอบวงประมาณ 3 – 4 เมตร และอาจโตได้ถึง 7 เมตร ใบเป็นใบเดียว ลักษณะคล้ายกับใบบัวบก กว้าง 5 – 10 เซนติเมตร ก้านใบยาว ใบแก่มีรอยหยักเว้าตรงกลาง ใบออกเวียนสลับกัน หรือออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง เส้นใบขนานกันจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นสีเขียว สามารถเปลี่ยนเป็นสีเข้มได้เมื่อโตเต็มที่ และเป็นสีเหลืองในฤดูใบไม้ร่วง ต้นแปะก๊วยจะมีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย ซึ่งลักษณะแตกต่างกัน เหมือนกับกำลังพญาเสือโคร่ง ที่กำลังเป็นที่พูดถึงและนิยมนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านอาหารและสมุนไพร

 

การขยายพันธุ์แปะก๊วย

ปัจจุบันขยายพันธุ์โดยวิธีการ เพาะเมล็ด , ปักชำ , ทาบกิ่ง การปลูกแปะก๊วยโดยวิธีการเพาะเมล็ด มีดังนี้

สมุนไพรแปะก๊วย

 

• ล้างเมล็ดแปะก๊วยในน้ำอุ่นให้สะอาดเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา
• หมกเมล็ดที่ล้างแล้ว ในขุยมะพร้าวหรือขี้เถ้าแกลบในถุงซิบล็อก ปิดถุงให้สนิท แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น (ช่องเก็บผัก) ประมาณ 12 อาทิตย์ ช่วงนี้ให้คอยหมั่นตรวจดูว่ามีต้นอ่อนเริ่มแตกออกมาหรือยัง ถ้ามีเมล็ดไหน

รากแปะก๊วยงอกก่อน 12 อาทิตย์ ก็แยกออกมาเพาะก่อน
• ให้นำเมล็ดที่งอกก่อนมาเพาะในถุงชำ ใช้ดินถุงที่ขายทั่ว ๆ ไป ฝังเมล็ดแปะก๊วยลงไปประมาณ 2 นิ้ว วางถุงเพาะชำให้โดนแดดอ่อน ๆ ให้ดินที่

เพาะเมล็ดชื้ออยู่ตลอดเวลาแต่อย่าให้แฉะ หลังจากนั้นก็รอให้ต้นเขาโตขึ้นมาก่อนที่จะนำไปปลูกลงดิน
• สำหรับเมล็ดที่ไม่งอกก่อนกำหนด พบครบ 12 อาทิตย์ในตู้เย็นก็ออกมาเพาะต่อตามข้อ 3

 

องค์ประกอบทางเคมีของแปะก๊วย

ใบแปะก๊วย มีสารประกอบทางเคมีมากมาย แต่ที่สำคัญมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ เทอร์ปีนอยด์ (terpenoids) มีสารประกอบที่สำคัญชื่อ กิงโกไลด์ (ginkgolide) และมีบิโลบาไลด์ (bilobalide) และอีกกลุ่มคือ ฟลา-โวนอยด์ (flavonoids) นอกจากนี้ยังพบในพวกสารสตีรอยด์ (steroide) อนุพันธ์กรดอินทรีย์และน้ำตาล

 แปะก๊วย

 แปะก๊วย

สารประกอบหลักของใบแปะก๊วย ( Po – ChuenChan 2007 )

โครงสร้างแปะก๊วย

สูตรโครงสร้าง ของ Ginkgolide

 โครงสร้างของแปะก๊วย 

สูตรโครงสร้างของ Bilobalide

ใบแปะก๊วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของแปะก๊วย

มีการทดลองงานวิจัยแปะก๊วยกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัม และหลอดเลือดพบว่า ในแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น ในสหรัฐอเมริกา ใบแปะก๊วยก็ถูกให้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าว โดยมีการทดลองในปี 1994   ทดลองให้กินใบแปะก๊วยกับกลุ่ม ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำ และสมาธิได้ดีขึ้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าประโยชน์ใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & AcutE Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานใบแปะก๊วยแห้งยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย

 

การศึกษาทางพิษวิทยาของแปะก๊วย

การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของผงแปะก๊วยในหนู พบว่าให้ค่า LD50 เท่ากับ 7725 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ไม่พบผลที่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ (mutagen) หรือทำให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) และไม่เป็นพิษต่อ ระบบอวัยวะสืบพันธุ์


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

• สาร Gingkolide จากใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ยีนส์การเกาะดึงของเกล็ดเลือด ถ้ากินยาแอสไพรินอยู่ประจำ หรือ กินยา Gingkolide อยู่อาจมีผลข้างเคียงของการที่เลือดไหลไม่หยุด
• ถ้ากินสารสกัดใบแปะก๊วยในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และมีอาหารกระวนกระวาย
• สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ยังไม่มีงานวิจัยตีพิมพ์ถึงความปลอดภัย หรือผลที่จะเกิดกับทารก
อีกทั้งหากรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยมากเกินไปอาจมีผลข้างเคียงทำให้ปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ ทางเดินอาหารปั่นป่วน หรืออาจเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง ระบบหายใจและหลอดเลือดผิดปกติ ง่วงซึม ระบบการนอนหลับก็ปั่นป่วนไปด้วย

แปะก๊วย


เอกสารอ้างอิง

1. รศ.ธรา วิริยะพานิช , กิตติ สรณเจริญพงศ์ , จันทรากานต์ ทองเปลว , สารสกัดใบแปะก๊วย , สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
www.inmu.mahidol.ac.th/th/knowledge/view.php?id=73
2. วิธีเพาะแปะก๊วย (GinkgoBiloba) เข้าถึงได้จาก www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=5278.0
3. แปะก๊วยช่วยยับยั้งการเสื่อมของสมองและต่อต้านอนุมูลอิสระ : บทความสุขภาพ , มูลนิธิหมอชาวบ้าน (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.doctor.or.th/article/detail/4229
4. Po – Chuen Chan , Q.X.a.P.P.F.(2007) “Giloda Leave Extract Biological,Medicinal,ang Toxicological Effects.” Environmental and Health Part C25:211-244.
5. ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์เภสัชสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข
6. ภัยจากสมุนไพรแปะก๊วย กระดานถามตอบ เภสัชกรรมคลินิก ภาควิชาเภสัชเวท และเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://drug.pharmacy.psu.ac.th/auestion.asp?ID=503&gid=1
7. แปะก๊วยอาหารสมอง ประโยชน์ล้วนๆ จริงหรือ. ศูนย์บริการข้อมูลทางยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://pharmblog.kku.ac.th/index.php/9-uncategrised/92-2014-02-09-14-51-23