กระเทียม ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
กระเทียม งานวิจัยสรรพคุณ 51 ข้อ
ชื่อสมุนไพร กระเทียม
ชื่ออื่นๆ หัวเทียม (ภาคใต้), หอมเตียม (ภาคเหนือ), กระเทียมขาว, หอมขาว (อุดรธานี), ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง), ผักหมี่ขาว ผักหมี่หอ (ไทใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn
ชื่อพ้อง Languas galangal (Linn.) Stuntz.
ชื่อสามัญ Garlic, common garlc.
วงศ์ ALLIACEAE
ถิ่นกำเนิดกระเทียม
กระเทียมนี้เป็นที่รู้จักกันมานาน กว่า 6,000 ปีมาแล้ว ดั้งเดิมกระเทียมเป็นพืชสมุนไพรของเอเชียกลาง ต่อมากลายเป็นอาหารประจำโต๊ะของชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ในแถบเมดิเตอเรเนียนและกลายเป็นสมุนไพรชูรสในเอเชีย แอฟริกาและยุโรปบางประเทศ ในสุสานตุตันคะเมนก็พบดินปั้นเป็นหัวกระเทียมวางอยู่ด้วย บางประเทศโดยเฉพาะประเทศยุโรปตะวันออกเชื่อว่า กระเทียมใช้กันผีเข้าบ้านด้วย และที่หนีไม่พ้นก็คือประชาชนในหลาย ๆ ประเทศใช้กระเทียมเป็นยากระตุ้น กำหนัดหรือยาโป๊วด้วย
การบริโภคกระเทียมเพิ่งจะแพร่ไปถึงสหรัฐในตอนหลังของศตวรรษที่ 20 นี่เอง แต่ปัจจุบันก็กลายเป็นเครื่องปรุง อาหารหลักในครัวเสียแล้ว ปีหนึ่งๆ มีผู้บริโภคกระเทียมมากกว่า 200 ล้านตันทีเดียว ที่เมืองกิลรอย (Gilroy) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาได้พยายามยกฐานะเมืองนี้ให้เป็น “นครกระเทียมโลก” โดยการจัดงานกิลรอยการ์ ลิกเฟสต วัลในฤดูร้อนของทุกปีการสำรวจความเห็นประชาชน 2,000 คน เมื่อปี พ.ศ. 2548 ผลปรากฏวากระเทียมเป็นสิ่งที่ชาวบ้านนิยมนำไปปรุงอาหารที่อันดับที่ 6 ทีเดียว ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ แต่กระเทียมที่มีชื่อเสียงว่าเป็นกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน ได้แก่กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ
ประโยชน์และสรรพคุณกระเทียม
- เป็นยาขับลม
- แก้ลมจุกเสียด
- แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
- แก้ธาตุพิการ
- แก้อาหารไม่ย่อย
- ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยขับเหงื่อ
- ช่วยลดไขมัน
- ช่วยรักษาปอด
- แก้ปอดพิการ
- แก้อุจจาระเป็นมูกเลือด
- เป็นยาบำรุงธาตุ กระจายโลหิต
- ช่วยขับปัสสาวะ
- แก้บวมพุพอง
- เป็นยาขับพยาธิ
- แก้ตาปลา
- แก้ตาแดง น้ำตาไหล ตาฟาง
- รักษาโรคลักปิดลักเปิด
- รักษามะเร็งคุด
- รักษาริดสีดวง
- แก้ไอ แก้สะอึก
- ช่วยบำบัดโรคในอก
- แก้พรรดึก
- รักษาฟันเป็นรำมะนาด
- แก้หูอื้อ
- แก้อัมพาต ลมเข้าข้อ
- แก้อาการชักกระตุกของเด็ก
- รักษาวัณโรค
- แก้โรคประสาท
- แก้หืด
- แก้ปวดมวนในท้อง
- บำรุงสุขภาพทางกามคุณ
- ขับโลหิตระดู
- บำรุงเส้นประสาท
- แก้ไข้
- แก้ฟกช้ำ
- แก้ปวดกระบอกตา
- แก้โรคในปาก
- แก้หวัดคัดจมูก
- แก้ไข้เพื่อเสมหะ
- ช่วยทำให้ผมเงางาม
- ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
- รักษาแผลเรื้อรัง
- รักษากลากเกลื้อน
- แก้โรคผิวหนัง
- แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
- ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
- แก้โรคโรคเบาหวาน
- แก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย
- ลดความดันโลหิต
- ลดระดับไขมันในเลือด
รูปแบบและวิธีการใช้กระเทียม
ปริมาณการรับประทานกระเทียมที่เหมาะสมต่อวัน ผู้ใหญ่ ควรรับประทานกระเทียมสด 4 กรัมต่อวัน หากเป็นผงกระเทียมแห้ง หรือ แบบสกัด ควรรับประทานประมาณ 300 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2-3 ครั้งต่อวัน
ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด
• นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาเฉพาะน้ำดื่ม
• นำกระเทียมมาปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ มาซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน
• นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือ บดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน
• ขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึมด้วยใบมีด แล้วใช้กระเทียมสดทา ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย
กระเทียมแก้ปวดฟัน
• นำหัวกระเทียม 1 กลีบ ปอกเปลือกออกแล้วนำมาตำจนละเอียด ขณะที่ตำให้ใส่เหลือไปด้วยสักเล็กน้อย แล้วนำไปพอก หรือ อุดไว้บริเวณฟันที่ปวด
บิด
• นำหัวกระเทียม 12-15 กลีบ ปอกเปลือก รับประทานดิบๆ วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารอาจใช้น้ำผึ้ง หรือ น้ำตาลอ้อย ช่วยกลบรสเผ็ดของกระเทียมก็ได้
รักษาแผลที่เน่าเปื่อยและเป็นหนอง
• นำหัวกระเทียม 1 หัว มาปอกเปลือกแล้วตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็นแผล โดยพอกทิ้งเอาไว้ประมาณ 30 นาที จึงเอาออกแล้วทำความสะอาดแผลหรือจะนำกระเทียมที่ตำแล้วไปแช่ในน้ำอุ่นและปิดฝาทิ้งเอาไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จึงกรองเอาน้ำมาใช้ล้างแผล ก็ได้ผลดีเช่นกัน
ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต หรือ เพื่อรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบตัน
• กินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม โดยสับหรือบดตวงได้ราว 1 ช้อนชาพูน กินพร้อมอาหารวันละ 3 เวลา อย่ากินกระเทียมตอนท้องว่าง เพราะจะระคายเคืองต่อกระเพาะ ลำไส้
ในกรณีต้องการกินเป็นประจำ เพื่อป้องกันเบาหวาน และขจัดพิษสารตะกั่ว
• นำกระเทียมกลีบใหญ่ๆ เพียง 3 กลีบ ทุบให้แตก กลืนกับน้ำอุ่น 1 แก้ว ทุกๆ เช้าหลังตื่นนอน น้ำอุ่นจะช่วยไม่ให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะ
ขนาดและวิธีใช้สำหรับแก้ไอ
• นำกระเทียม และขิงสดอย่างละเท่ากันตำละเอียด ละลายน้ำอ้อยสด คั้นเอาน้ำจิบแก้ไอ กัดเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ตำรายาไทยบางตำรับให้คั้นกระเทียมกับน้ำมะนาวเติมเกลือใช้จิบหรือกวาดคอ
ลักษณะทั่วไปกระเทียม
• รากกระเทียม และหัวกระเทียม มีระบบรากเป็นรากฝอย สีขาวขุ่น แผ่กระจายในแนวดิ่งลงลึกประมาณ 20-30 ซม. กระเทียม เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นเป็นหัว (bulp) ในดิน มีลำต้นเทียมที่เป็นใบ สูงประมาณ 30-60 ซม. แตกออกเฉพาะกลีบหลัก หัวใต้ดินที่เป็นลำต้นประกอบด้วยกลีบเล็กๆหลายกลีบเรียงซ้อนกันแน่น ประมาณ 4-15 กลีบ แต่ละกลีบประกอบด้วยเปลือกหุ้มที่แยกออกจากกันได้ กลีบ 1 กลีบ สามารถนำไปปลูกได้หนึ่งต้นส่วนปลายกลีบมีลักษณะแหลมเป็นที่เกิดของใบ
• หัวกระเทียม ที่ประกอบด้วยกระเทียมหลายกลีบจะมีเปลือกหุ้มกลีบทั้งหมดเอาไว้อีก ชั้นกลีบหุ้มนี้มีหลายสี อาทิ สีขาว สีชมพู สีม่วง ส่วนมากเป็นสีขาว และสีขาวอมสีอื่นๆ โดยหัวกระเทียมมีลักษณะกลมแป้น หรือ กลมรี แตกต่างกันตามสายพันธุ์ หัวกระเทียมที่ประกอบด้วยหลายกลีบจะมีเพียงลำ ต้นเดียวที่แตกออกจากต้นหลัก ส่วนกลีบอื่นจะเป็นกลีบที่เติบโตหลังการปลูก ซึ่งจะไม่แตกใบ แต่จะแตกใบเป็นลำต้นเมื่อนำกลีบจากหัวมาแยกปลูก
• ใบกระเทียม เป็นส่วนที่เรียกว่า ลำต้นกระเทียม โดยใบจะเกิดจากการนำกลีบมาปลูก ใบประกอบด้วยโคนใบที่เป็นเปลือกหุ้มหัว ถัดมาเป็นก้านใบ และแผ่นใบ โดยแผ่นใบมีลักษณะแบนเรียบ ยาวประมาณ 30-60 ซม. กว้างประมาณ 1-2.5 ซม. ปลายใบแหลม กระเทียม 1 หัว จะให้ใบประมาณ 14-16 ใบ
• ดอกกระเทียม มีลักษณะเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ แทงออกบริเวณตรงกลางของหัว มีก้านดอกยาวเท่าความสูงของใบ ดอกอ่อนมีใบประดับเป็นแผ่นห่อหุ้มดอก ด้านในประกอบด้วยดอกย่อยมีขนาดเล็ก แต่ละดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร ด้านในประกอบด้วยดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 อัน สีชมพู ด้านในมีเกสรตัวเมีย 1 อัน เกสรตัวผู้ 6 อัน
• ผลเมล็ดกระเทียม มีขนาดเล็กมาก มีลักษณะทรงกลม มี 3 พู ผลแก่สามารถใช้ขยายพันธุ์ได้ ซึ่งโดยทั่วไปการปลูกกระเทียมในประเทศไทยมักไม่ออกดอกหรือติดเมล็ด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสม
การขยายพันธุ์กระเทียม
การเตรียมดิน เริ่มจากการไถพรวนดินในแปลง และตากดินนาน 5-7 วัน หลังจากนั้น หว่านด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 3 ตัน/ไร่ ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ หรือ อาจไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี หลังจากหว่านปุ๋ยรองพื้น แล้ว ให้ทำการไถกลบอีกรอบ และตากดินนานประมาณ 3 วัน ก่อนจะไถยกร่องขึ้นแปลง ขนาดแปลงกว้าง 2-2.5 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยให้มีระยะระหว่างร่องสำหรับทางเดินประมาณ 40-50 ซม.
วิธีปลูก กระเทียมที่นิยม มี 2 วิธี คือ
• การปลูกกลีบ การปลูกกระเทียมด้วยกลีบ เริ่มจากแกะกลีบกระเทียมออก ซึ่งจะคัดเลือกเฉพาะกลีบใหญ่ เพราะจะเติบโตดีกว่ากลีบเล็ก หลังจากนั้น นำกลีบกระเทียมไปแช่น้ำไว้ 1 คืน ก่อนนำมาปักลงในดินบนแปลงที่เตรียมดินไว้แล้ว การปักกลีบจะปักลึกประมาณ 1 นิ้ว โดยหันโคนกลีบลงดิน ระยะห่างระหว่างแถว และต้นที่ 10×10 ซม. หรือ 15×15 ซม. และหากต้องการหัวใหญ่มากขึ้นจะปลูกที่ระยะ 20×20 ซม. หลังจากนั้น กลบด้วยฟางข้าวเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น และป้องกันแสงแดด แล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม (1 ไร่ ใช้ฟาง 300-400 มัด)
• การหว่านกลีบ การปลูกกระเทียมด้วยการหว่านกลีบ เริ่มจากแกะกลีบกระเทียมออก และคัดแยกเอากลีบที่หัวใหญ่ หลังจากนั้น นำกลีบกระเทียมหว่านลงแปลงที่เตรียมดินไว้แล้ว กลบด้วยฟางข้าว แล้วรดน้ำเช่นกัน
ปริมาณพันธุ์กระเทียมที่ใช้ หากเป็นพันธุ์เบา และพันธุ์กลางใช้ประมาณ 70-80 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนพันธุ์หนักใช้ประมาณ 150-200 กิโลกรัม/ไร่
การดูแลรักษากระทียม
• การให้น้ำ ในระยะแรกหลังการปลูกเสร็จถึง 1 เดือน จะให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 3 วัน/ครั้ง และหลังจากเดือนที่ 1-2 ให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ เดือนที่ 3 ให้ 1 ครั้ง/14 วัน และเมื่อครบประมาณ 100 วัน ควรงดการให้น้ำ เพราะหากให้น้ำในระยะนี้ กระเทียมจะออกดอก ทำให้น้ำหนักหัวลดลง ขนาดหัวลดลงได้
• การใส่ปุ๋ย แนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลัก อัตรา 2 ตัน/ไร่ ส่วนปุ๋ยเคมีให้ใส่ในช่วงระยะ 1 เดือนแรก หลังการปลูก ที่อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ ในสูตร 15-15-15 และอีก 1 เดือน ถัดมาที่อัตราเดียวกันด้วยสูตร 12-12-24 ทั้งนี้ อัตราปุ๋ยเคมีอาจมากกว่านี้ แต่แนะนำให้ใส่พอประมาณ เพราะหากใส่มากจะมีผลต่อการเพิ่มความเป็นกรดของดิน และทำให้เนื้อดินแน่นได้ง่าย
• การกำจัดวัชพืช ให้มั่นกำจัดวัชพืชด้วยการถอนอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ 1 ครั้ง/เดือน ตลอดระยะเวลา 3 เดือน
การเก็บผลผลิตกระเทียม
• กระเทียมที่เหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยวจะสังเกตได้จากใบที่เริ่มแห้งเหี่ยว โดยการเก็บหัวกระเทียมนั้น จะใช้วิธีการถอนทั้งต้นขึ้นจากดิน และตากทิ้งไว้ในแปลงประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ดินที่ติดมากับราก และหัวแห้งก่อน หลังจากนั้น ค่อยเก็บใส่ตะกร้าด้วยการกระเทาดินให้ร่วงออกก่อน
• สำหรับการปลูกเพื่อเก็บพันธุ์ไว้ใช้ปีหน้า เกษตรกรมักแยกแปลงปลูกต่างหาก โดยนิยมปลูกในระยะ 15×15 ซม. เพราะไม่ต้องการให้มีหัวใหญ่มาก หรือ ไม่ต้องการให้หัวมีขนาดเล็กเกินไป ส่วนการดูแล และการเก็บหัวกระเทียมจะปฏิบัติคล้ายกับการปลูกในแปลงทั่วไป และหลังจากการเก็บแล้วจะนำต้นกระเทียมมามัดเป็นกระจุกรวมกัน และนำมาแขวนไว้ในที่ร่มเพื่อให้แห้งสำหรับใช้ปลูกในปีต่อไป
องค์ประกอบทางเคมี
น้ำมันหอมระเหย ประมาณ 0.1-0.4% มีองค์ประกอบหลัก คือ allicin ajoene alliin allyldisulfide diallyldisulfide ซึ่งเป็นสารประกอบกลุ่มกลุ่ม organosulfur สารในกลุ่มนี้ที่พบในกระเทียมเช่น สารกลุ่ม S-(+)-alkyl-L-cysteine sulfoxides, alliin 1% , methiin 0.2%, isoalliin 0.06% และ cycloalliin 0.1% และสารที่ไม่ระเหยคือ สารกลุ่ม gamma-L-glutamyl-S-alkyl-L-cysteines, gamma-glutamyl-S-trans-1-propenylcysteine 0.6% และ gamma-glutamyl-S-allylcysteine รวมประมาณ 82% ของสารกลุ่ม organosulpur ทั้งหมด ส่วนสารกลุ่ม thiosulfinates (Allicin) สารกลุ่ม ajoenes (E-ajoene และ Z-ajoene) สารกลุ่ม vinyldithiins (2-vinyl-(4H)-1,3-dithiin, 3-vinyl-(4H)-1,2-dithiin) และสารกลุ่ม sulfides (diallyl disulfide, diallyl trisulfide) ซึ่งเป็นสารที่ไม่ได้พบในธรรมชาติแต่เกิดจากการสลายตัวของสาร allin ซึ่งถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ alliinase หลังจากนั้นจึงเกิดการรวมตัวกันใหม่ได้สาร allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่เสถียร สลายตัวได้สารกลุ่ม sulfides อื่นๆ ดังนั้นกระเทียมที่ผ่านกระบวนการสกัด การกลั่นน้ำมัน หรือ ความร้อน สารประกอบส่วนใหญ่ที่พบเป็นสารกลุ่ม diallyl sulfide, diallyl disulfide, diallyl trisulfide และ diallyl tetrasulfide ส่วนกระเทียมที่ผ่านกระบวนการหมักในน้ำมัน สารประกอบที่พบส่วนใหญ่เป็น 2-vinyl-(4H)-1,3-dithiin, 3-vinyl-(4H)1,2-dithiin, E-ajoene และ Z-ajoene ปริมาณของ alliin ที่พบในกระเทียมสด ประมาณ 0.25-1.15% สารกลุ่มอื่นๆ ที่พบ เช่น สารเมือก และ albumin, scordinins, saponins 0.07% , beta-sitosterol 0.0015%, steroids, triterpenoids และ flavonoids
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของกระเทียม
Saponin
ส่วนประกอบของกระเทียม
แร่ธาตุ สารประกอบและวิตามิน
ที่เป็นสารอาหารอยู่ด้วยดังนี้
ไฟโตเคมิกัล | สารอาหาร |
Allicin Beta-sitostcrol Caffcic acid Diallyl disulfide Fcrilic acid Gcraniol Kacmpfcrol Linalool Olcanolic acid P-coumaric acid Phloroglucinol Phytic acid Qucrcetin Rutin S-Allyl cystcine Saponin Sinapic acid Stignastcrol Alliin |
Calcium |
คุณค่าทางโภชนาการและไฟโตนิวเทนียนท์ในกระเทียม | |||||
ในกระเทียม 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอริ(kcal)และให้คุณค่าทางอาหารดังนี้ | |||||
น้ำ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน แคลเซียม แมกนิเซียม |
58.6 |
กรัม กรัม กรัม กรัม มิลลิกรัม มิลลิกรัม |
ฟอสเฟอรัส โพเเทสเซียม ซิลินเนียม วิตามินซี โฟเลท ใยอาหาร |
153 401 14.2 31.2 3.1 2.1 |
มิลลิกรัม มิลลิกรัม ไมโครกรัม มิลลิกรัม ไมโครกรัม กรัม |
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกระเทียม
มีหลักฐานการวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกระเทียมและการป้องกันมะเร็งหรือไม่
มีการวิจัยอย่างเป็นระบบ 3 การศึกษาทำการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกระเทียมและความเสี่ยงต่อการป่วยเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร การวิจัยแรกเป็นการวิจัยอย่างเป็นระบบในชาวจีน 5,000 คน ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ทำวิจัยโดยการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทาน สารอัลลิทริดินสังเคราะห์ (synthetic allitridin) ซึ่ง เป็นสารสกัดจากกระเทียมที่มีใช้กันมานานในประเทศจีน ปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับรับประทานซิลิเนียม (selenium) ปริมาณ 100 ไมโครกรัมวันเว้นวัน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยคณะผู้วิจัยทำการติดตามผลเป็นเวลา 5 ปี พบว่ากลุ่มที่ได้รับ สารสกัดอัลลิทริดินและซิลิเนียม มีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในกระเพาะอาหารลดลง 33% และมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง หลอดอาหารลดลงถึง 52% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก การวิจัยอย่างเป็นระบบอีกการวิจัยหนึ่งแสดงผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน โดยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากกระเทียม ปริมาณ 800 มิลลิกรัมร่วมกับน้ำมันกระเทียมเป็นประจำทุกวันไม่ลดความชุกของรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร (precancerous gastric lesion) และไม่ลดอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การวิจัยอย่างเป็นระบบในประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบผลการบริโภคกระเทียมสกัดปริมาณสูง (2.4 มิลลิลิตร) เทียบกับการบริโภค ในปริมาณที่น้อยกว่า (0.16 มิลลิลิตร) ในกลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกลำไส้ชนิดอดีโนมา (colorectal adenomas) และทำการติดตามผลที่ 6 และ 12 เดือน พบว่ากลุ่มที่บริโภคกระเทียมเสริมปริมาณสูงมีโอกาสเกิดเนื้องอกใหม่น้อยกว่ากลุ่มที่บริโภคกระเทียมสกัดในปริมาณ ที่น้อยกว่า ได้แก่ 47 และ 67% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยพบว่าการใช้สารสกัดกระเทียมทามะเร็งผิวหนังชนิดเบซัล (basal cell carcinoma) พบว่าผู้ป่วย 21 รายที่เข้าร่วมการศึกษา มีก้อนมะเร็งยุบลงหลังทากระเทียมสกัด
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ : กระเทียมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิด ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย Shigella sonnei, Escherichia coli, Bacillus sp., Staphylococus aureus, Streptococcus faecalis, Pseudomonas aeruginosa เป็นต้น เชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis และเชื้อรา Candida spp., Aspergillus niger และ Trichosporon pullulans เป็นต้น สารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ allicin , ajoene , และ diallyl trisulfide
ฤทธิ์ต้านไวรัส : สารสกัดหัวกระเทียมความเข้มข้น 0.15 มก./มล. ต้านเชื้อไวรัส Influenza B (LEE) อย่างมีนัยสำคัญ P<0.001 แต่ในความเข้มข้น 1.5 มก./มล. ไม่ต้านเชื้อไวรัส Coxsackie B1 เมื่อกรอกสารสกัดน้ำผสมแอลกอฮอล์จาก aged bulb เข้ากระเพาะอาหารหนูถีบจักร ขนาด 0.1 มล./ตัว พบว่าสามารถต้านเชื้อไวรัส Influenza ในเลือดของหนู และมีการทดสอบเนื้อกระเทียมขนาด 1,000 มก./มล.ในจานเพาะเชื้อ แสดงฤทธิ์อย่างอ่อนต่อเชื้อ Parainfluenza type 3
ฤทธิ์ต้านการบีบเกร็ง : สารสกัดน้ำ หรือ สารสกัดเอทานอล หรือ น้ำคั้น มีฤทธิ์ต้านการบีบเกร็งในหนูขาวและหนูตะเภา
ฤทธิ์ลดระดับไขมัน : กระเทียมในรูปสด สารสกัด น้ำมันหอมระเหย และน้ำคั้น มีฤทธิ์ลดไขมันได้เฉพาะคอเลสเตอรอล ทั้งในการศึกษาในสัตว์และหลอดทดลอง พบว่าสาร allicin และ ajoene มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างคอเลสเตอรอล และมีฤทธิ์ต้านการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด
ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด : สารสกัดน้ำ สารสกัดคลอโรฟอร์ม สารสกัดเมทานอล และน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดทั้งการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง สารสำคัญคือ adenosine, alliin, allicin, ajoenes, vinyldithiins และมีฤทธิ์ดีกว่าสาร allicin 10 เท่า
ฤทธิ์กระตุ้นการทำลาย fibrin (fibrinolysis) : กระเทียมแห้ง สารสกัดน้ำ สารสกัดแอลกอฮอล์ และน้ำมันกระเทียม มีฤทธิ์กระตุ้นการสลายตัวของ fibrin (fibrinolysis)
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด : สารสกัดน้ำ สารสกัดเอทานอล สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ สารสกัดคลอโรฟอร์มและน้ำมันหอมระเหย สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูและกระต่าย สารสำคัญคือ allicin
ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน : สารกลุ่ม thiosulfiates มีฤทธิ์ต้านออกซิดัน โดยยับยั้ง lipid peroxidation
ฤทธิ์ลดความดันโลหิต : สารสกัดน้ำ และสาร ajoene สารกลุ่ม M-glutamylpeptides, scordinins, steroids, triterpenoids, flavovoids มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต
ฤทธิ์ลดการอักเสบ : สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ 2 ก/นน.ตัว 1 กก. มีฤทธิ์ลดการอักเสบอย่างอ่อนๆ ในหนูขาวที่ทำให้อุ้งเท้าบวมโดยใช้ formalin มีผู้พบว่าเมื่อใช้สารสกัดด้วย น้ำ : แอลกอฮอล์ 1:1 แก่หนูขาวทางช่องท้อง พบว่าลดการอักเสบที่เกิดจากคาราจีแนนและเมื่อให้สารสกัดเอทานอลทางสายยางเข้ากระเพาะอาหารหนูขาวเพศผู้ขนาด 100 มก./กก. พบว่าสามารถลดอาการอักเสบอุ้งเท้าที่ถูกทำให้อักเสบด้วยคาราจีแนนได้ 23% เมื่อทาสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ เฮกเซนและเมทานอจากหัวกระเทียมให้หนูถีบจักร ขนาด 20 มคล./ตัว ในการรักษาหูที่อักเสบ ผลไม่แน่นอน
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการเกิดออกซิเดชัน : สารสกัดกระเทียมด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดกระเทียมมีฤทธิ์ลดการออกซิเดชันของไขมัน และกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase สาร diallyl sulfide มีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชันโดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ได้แก่ superoxide dismutase, catalase และ glutathione peroxidase ในเนื้อเยื่อปอด และเพิ่มระดับ glutathione ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในร่างกายตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ที่ต้านการเกิด oxidative stress ได้แก่ heme oxygenase-1 (HO-1) และ ยับยั้ง CYP2E1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์สมานแผล : เมื่อทาสารสกัดกระเทียมบนผิวหนังไก่ จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น โดยพบว่ามีการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวและคอลลาเจนใหม่ มีการเจริญของมัดเส้นใยคอลลาเจน และมีการสร้างเส้นเลือดใหม่
ฤทธิ์ในการยับยั้งฟันกัส (Fun-gus) : สารออกฤทธิ์ในกระเทียมหรือน้ำจากการแช่กระเทียม หรือ กระเทียมที่ตำจนแหลกละเอียด จากการทดลองนอกร่างกายพบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งและทำลายฟันกัส (fun-gus) หลายชนิด รวมทั้งแคนตินา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)
ฤทธิ์ในการยับยั้งโปรโตซัว (Protozoa) : ผลจากการทดลองนอกร่างกาย น้ำที่ได้จากการแช่กระเทียมมีฤทธิ์ทำลาย Amebic protozoon กระเทียมเปลือกสีม่วงจะมีฤทธิ์แรงกว่ากระเทียมเปลือกขาว หรือเมื่อใช้กับผู้ป่วยที่เป็นบิดจากอะมีบาก็ได้ผลดีเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อในโรค Trichomonas vaginalis
ฤทธิ์ต่อหลอดเลือดหัวใจ : Ailfid ในกระเทียมมีพิษน้อยมาก จะทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง และเพิ่มการบีบและคลายตัวของหัวใจ ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้ปัสสาวะมากขึ้น และในบางคลินิกได้ผลดีมาก สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันสูง และหลอดเลือดแข็งตัว
สำหรับกระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) สามารถยับยั้งการแข็งตัวของหลอดเลือด
กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบจึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อันจะเป็นผลช่วยลดการแน่นจุกเสียดในผู้ป่วยที่เป็นแผลในโรคกระเพาะอาหาร โดยต้านการสังเคราะห์ prostaglandinและมีผู้ศึกษาพบว่าสารสกัดกระเทียมมีผลยับยั้งการสร้าง IL-12และเพิ่มการสร้าง IL-10 และtumor necrosis factor(?-INF) , IL-1? , IL-6 ,L-8 และT-cell interferon-gamma (IFN-gamma , IL-2 จึงมีผลช่วยลดอาการอักเสบในผู้ป่วยลำไส้อักเสบ ได้มีผู้ทดลองพบฤทธิ์ในการต้านโรคไขข้ออักเสบ เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำในขนาด 100 มก./กก. เป็นเวลา 10 วัน และเมื่อกรอกน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ด(seed oil)เข้ากระเพาะอาหารหนูขาว ขนาด 0.0025 มล./กก. พบว่า ลดอาการอักเสบจากอาการข้ออักเสบที่เกิดจากฟอร์มาลดีไฮด์ได้
การศึกษาทางพิษวิทยาของกระเทียม
สาร allicin มีค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน LD50 เท่ากับ 120 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อฉีดใต้ผิวหนัง และ 60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าเส้นเลือด สารสกัดกระเทียมมีค่าความเป็นพิษมากกว่า 30 มิลลิลิตร/กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าช่องท้อง คนที่รับประทานกระเทียมปริมาณมากอาจจะทำให้หัวใจขาดเลือดได้
การทดสอบความเป็นพิษของกระเทียม
1. การทดลองในหนูขาว เมื่อกรอกสารสกัดด้วยน้ำ ให้หนูขาว LD50 มีค่า 173.8 ซีซี/กก. การให้สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำทางปาก หรือ ฉีดเข้าช่องท้องในขนาด 50 มก./กก. ไม่มีผลต่อปอดและตับ แต่ขนาด 500 มก./กก. ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อตับและปอด หรือ เมื่อป้อนน้ำมันกระเทียมในขนาด 0.5 ซีซี/กก. พบว่าเป็นพิษเช่นกัน ขณะที่หนูขาวกินสารสกัดด้วยน้ำในขนาด 300 และ 600 มก./กก./วัน เป็นเวลา 21 วัน พบว่าทำให้การเจริญเติบโตลด และมีผลต่อ biological parameter และเนื้อเยื่อ เมื่อให้ชาชงกระเทียมในขนาดสูงแก่หนูขาว พบว่าลดความเข้มข้นฮีโมโกลบิน ปริมาตร packed cell จำนวน lymphocyte เอนไซม์ aspartate aminotransferase และ alanine aminotransferase ในขณะที่จำนวนเม็ดเลือดขาวและ leukocyte ชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันพบว่า เมื่อกรอกสารสกัดกระเทียมซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็งให้หนูขาวพันธุ์ albino ขนาด 2, 4, 8และ 16 ก./กก.ไม่พบความผิดปกติ LD50 มีค่ามากกว่า 16 ก./กก. การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง เมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดกระเทียม 12 ก./กก. สัปดาห์ละ 5 ครั้งเป็นเวลา 6 เดือน ไม่พบพิษ แต่ในการศึกษาของน้ำมันกระเทียมและสารสกัดกระเทียม พบว่ายับยั้งการเจริญเติบโตและทำให้เกิดภาวะเลือดจางในหนูขาว สารประกอบซัลเฟอร์ในกระเทียมบางชนิด ได้แก่ di- , tri- ,tetra-sulfide ทำลายเม็ดเลือดแดงในหลอดทดลองเนื่องจากเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซีดในหนูขาวที่กินกระเทียมหรือหอม
2. การทดลองในหนูถีบจักร การศึกษาตั้งแต่ปี 1944 พบว่า allicin มี LD50 สำหรับฉีดเข้าใต้ผิวหนังและเข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร 120 มก./กก. และ 60 มก./กก. ตามลำดับและเมื่อฉีดเข้าช่องท้องค่า LD50 เท่ากับ 222 มก./กก. การทดสอบพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร พบว่า LD50 เมื่อให้ทางช่องท้องและใต้ผิวหนังมีค่า 30 ซีซี/กก. ในกลุ่มที่ให้ทางช่องท้องของหนูเพศผู้ตาย 5 ใน 10 และเพศเมียตาย 1 ใน 10 หลังจากได้รับสารสกัด 1 วัน การทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสาร S-allyl cysteine (SAC) จากกระเทียมพบว่าเมื่อให้ทางปาก LD50 มีค่ามากกว่า 54.7 มิลลิโมล/กก.ขณะที่ฉีดเข้าภายในช่องท้อง LD50 มีค่ามากกว่า 20 มิลิโมล/กก. และเมื่อทาน้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมบนผิวหนูถีบจักรในขนาด 10 มก./ตัว พบว่าทำให้หนูตาย
3. การทดลองในแมวและสุนัข การศึกษาพิษเรื้อรังของน้ำมันกระเทียมและสารสกัดกระเทียม พบว่ายับยั้งการเจริญเติบโตและทำให้ภาวะเลือดจางในแมวและสุนัข
จากการทดสอบในคนไม่พบอาการพิษเมื่อให้เด็กรับประทานกระเทียม วันละ 900 มิลลิกรัม หรือ ในผู้ใหญ่ขนาด 350 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง และการรับประทานสารสกัดกระเทียมด้วยแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และ สารสกัดด้วยน้ำผสมแอลกอฮอล์ ก็ไม่พบพิษเช่นกัน
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ทฤษฎีแพทย์จีนกล่าวไว้ว่า กระเทียมมีคุณสมบัติร้อน รสเผ็ด สำหรับผู้ที่เป็นโรคร้อนเพราะยีนพร่อง คือ มีอาการหน้าแดง มีไข้หลังเที่ยง คอแห้ง ท้องผูก ร้อนในกระหายน้ำ ไม่ควรกิน หรือ กินได้เล็กน้อย
ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือ ตาแดง ไม่ควรกินกระเทียม
เนื่องจากกระเทียมมีรสฉุน กระเทียมที่ปรุงสุกแล้วจะไม่มีกลิ่น หรือ เมื่อจำเป็นต้องกินกระเทียมดิบ หลังจากกินกระเทียม ให้เคี้ยวใบชา หรือ น้ำชาแก่ๆ บ้วนปาก หรือ จะเคี้ยวพุทราจีนสัก 2-3 เม็ดก็ได้ กลิ่นกระเทียมก็จะหายไป
แม้ว่ากระเทียมจะเป็นพืชที่มีสรรพคุณอยู่มากมาย แต่คุณก็ไม่ควรที่จะเลือกใช้กระเทียมเพื่อหวังผลในการรักษาอาการ หรือ โรคใดโรคหนึ่ง อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละบุคคลก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรเลือกรับประทานให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะพืชผักสมุนไพรทั่วๆ ไป ถ้าศึกษากันจริงๆ แล้ว มันก็มีประโยชน์ไม่น้อยไปกว่ากันเลย
อาการไม่พึงประสงค์
อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ หรือ มีอาการทางเดินอาหารไม่ปกติ หากรับประทานกระเทียมขณะท้องว่าง เช่น เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น และกลิ่นกระเทียมจะติดที่ผิวหนัง และลมหายใจ บางกรณีอาจจะเกิดอาการหอบหืดได้ และทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าทำให้เสี่ยงต่อภาวะเลือดหยุดไหลยากหลังผ่าตัด จึงไม่ควรรับประทานกระเทียมก่อนการผ่าตัด เพราะจะทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าลง
การรับประทานกระเทียมอาจทำให้มีลมหายใจและกลิ่นตัวเหม็น ด้วยเหตุนี้บริษัท ผู้ผลิตอาหาร และยาบางรายจะผสมชะเอมเทศหรือลิคอริซ (Liquorice) เพื่อ กลบกลิ่นและรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ และยังสามารถให้ประโยชน์ทางยาอีกด้วย เช่น รากหรือเหง้าของชะเอมเทศมีสารในกลุ่มไกลเซอร์ไรซิน (Glycyrrhizin) ที่มี สรรพคุณช่วยดับกระหาย มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านเชื้อไวรัส และปก ป้องตับจากการทำลายของอนุมูลอิสระ อาการข้างเคียงมีน้อยแต่อาจพบได้ดังนี้
1. อาการคลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งพบน้อย มาก
2. เวลาเรอ อาจมีกลิ่นกระเทียมเมื่อรับ ประทานในปริมาณมาก ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณท์ กระเทียมที่มีกลิ่นน้อยหรือไม่มีกลิ่น
3. สำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้กระเทียม ไม่ควร รับประทานผลิตภัณท์กระเทียม
การทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆของกระเทียม
กระเทียมมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดเหลวและแข็งตัวช้า ดังนั้นต้องระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือ ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด และยา NSAIDs บางชนิด เช่น aspirin, และ indomethacin เพราะจะทำให้ค่าทดสอบระยะเวลาที่เลือดแข็งตัวเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เลือดออก นอกจากนี้ควรหยุดรับประทานกระเทียมขนาดสูง 4-8 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด
กระเทียมมีผลยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ CYP ที่ใช้เปลี่ยนสภาพยาหลายชนิด ได้แก่ เอ็นไซม์ CYP2D6, CYP2E1, CYP2P9, CYP3A4, CYP3A5 และ CYP3A7 ดังนั้นควรระมัดระวังการรับประทานกระเทียมร่วมกับยาที่ถูกทำลายด้วยเอ็นไซม์เหล่านี้ เช่น dextromethorphan, alprazolam, midazolam และ paracetamol เนื่องจากอาจทำให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้สูงกว่าปกติ แล้วทำให้เกิดความเป็นพิษจากยาได้ นอกจากนี้มีรายงานว่ากระเทียมมีผลลดระดับยาต้านไวรัสเอดส์ เช่น saquinavir และยังมีผลทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดตกในผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากไปเพิ่มผลการลดน้ำตาลในเลือดของยา chlorpropamide
Isoniazid เป็นยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรค กระเทียมสามารถลดการดูดซึมยาตัวนี้ได้ เป็นเหตุให้ใช้ยาดังกล่าวมีปริมาณไม่พอต่อการรักษาโรค
ยาคุมกำเนิด กระเทียมอาจลดประสิทธิภาพของยาลงได้
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด กระเทียมอาจทำให้ฤทธิ์ของยาต้านการจับตัวเป็นก้อนเลือดได้ ทำให้เกิดมีเลือดออกได้
Medications for HIV/AIDs กระเทียมสามารถลดระดับของสาร Protease inhibitors ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรค HIV
Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) ทั้ง NSAIDs และกระเทียมสามารถทำให้เกิดมีเลือดออก (bleeding)
เอกสารอ้างอิง กระเทียม
1. กระเทียม. วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/
2. เต็ม สมิตินันท์.ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย.สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พันธุ์พืช พ.ศ.2549
3. กระเทียม .ฉบับประชาชน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหิดล.
4. ประเสริฐ ทองเจริญ.กระเทียม.บทความพิเศษ วารสาร พุทธชินราชเวชสาร โรงพยาบาลพุทธชินราช.พิษณุโลก.ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2550 หน้า 88-92
5. กระเทียม สรรพคุณ และการปลูกกระเทียม.พืชเกษตร.ดอท.คอม.เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com
6. กระเทียม. ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=8
7. วิทิต วัณนาวิบูล.กระเทียม:ยาปฏิชีวนะธรรมชาติ.คอลัมน์อาหารสมุนไพรนิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 76.สิงหาคม 2528
8. วิธีกินกระเทียมให้เป็นยา.สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวสส.) กระทรวงสาธารณสุข.
9. กระเทียมกับการป้องกันมะเร็ง.CHULA CANCER รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา.มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. กรองทอง จันทร.กระเทียม.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร.2521.หน้า 81-86
11. สมพร ภูติยานันต์, 2542. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย.
12. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.2544.คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย
13. พร้อมจิต ศรลัมพ์,2537.สมุนไพรกับโรคทางเดินอาหาร
14. Jain AK, Vargas R, Gotzkowsky S, McMahon FG. Can garlic reduce levels of serum lipids? A controlled clinical study. Am J Med 1993;94: 632-5
15. Macpherson LJ, Geierstanger BH, Viswanath V, Bandell M, Eid SR, Hwang S, et al. The pungency of garlic: Activation of TRPA1 and TRPV1 in response to allicin. Curr Biol 2005;15:929-34.
16. Steiner M, Lin RS. Changes in platelet function and susceptibility of lipoproteins to oxidation associated with administration of aged garlic extract. J Cardiovasc Pharmacol 1998;31: 904-8.