โรคไข้สมองอักเสบ เจอี
โรคไข้สมองอักเสบ เจอี (Japanese Encephalitis)
โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี คืออะไร ไข้สมองอักเสบ (encephalitis) หมายถึง การอักเสบของเนื้อสมอง หรือเฉพาะที่บางส่วน เนื่องจากเนื้อสมองอยู่ติดกับเยื่อหุ้มสมอง จึงอาจพบการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองร่วมกับการอักเสบของสมองได้ด้วย โดยโรคไข้สมองอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุส่วนมากมักจะมีสาเหตุจากการติดเชื้อจากไวรัส โดยสามารถเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิดหรือบางครั้งอาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคหัด คางทูม ไข้สุกใส แต่ไข้สมองอักเสบชนิดที่อันตราย/ร้ายแรงที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้ คือ โรคไข้สมองอักเสบ เจอี(Japaneseencephalitis, JE) พบได้มากที่สุดในเอเชียรวมถึงประเทศไทยและบางส่วนของแปซิฟิกตะวันตก โดยมากมักจะพบการเกิดโรคในช่วงฤดูฝน แต่ในแต่ล่ะประเทศจะพบช่วงเวลาที่มีการเกิดโรคได้แตกต่างกันซึ่งเจอได้ตลอดทั้งปี โดยในบริเวณแหล่งระบาดมักจะพบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปี เนื่องจากในผู้ใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันอยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามหากเป็นบริเวณที่ไม่เคยเกิดโรคมาก่อนก็จะพบในกลุ่มของผู้ที่มีอายุสูงขึ้นได้
โรคไข้สมองอักเสบเจอี เป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิตและเป็นโรคที่รักษายาก ที่สำคัญเมื่อเป็นแล้วมีอัตราการตายสูง หากรอดชีวิตมักมีความพิการหรือผิดปกติทางสมองตามมา อัตราป่วยตายอยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ ในเอเชียพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณปีละ 30,000-50,000 ราย โรคนี้เรียกว่า Japanese เนื่องจากสามารถแยกเชื้อได้จากผู้ป่วยในญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2468
สาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ เจ อี ด้วยโรคไขสมองอักเสบเจอีเปนโรคที่มีอัตราตายและความพิการตามมาสูง ซึ่งสวนใหญมักจะเปนในเด็กส่วนเชื้อที่กอโรคไดแก Japanese encephalitis virus (JEV) ซึ่งเปน arbovirus จัดอยูใน family Flaviviridae, genus Flavivirus โดยมียุงรําคาญ Culex tritaeniorhynchus เปนพาหะนําโรค โรคนี้พบในเขตเมืองนอยกวาชนบทมีอัตราตายรอยละ 10-35 และมีอัตราการเกิดความพิการตามมาสูงถึงรอยละ 30-50 โดยไวรัสชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นและได้กระจายทั่วไปทุกภาคและทุกฤดู ซึ่งประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ได้แก่ บริเวณเอเชียใต้ ประเทศอินเดียและศรีลังกา ตลอดจนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในภาคตะวันออกของประเทศจีน และพบได้ในประเทศ ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น
ปลายคริสตศตวรรษที่ 18 มีการระบาดใหญ่ของโรคไขสมองอักเสบเจอีในประเทศญี่ปุน โดยในป พ.ศ. 2468 สามารถแยกเชื้อไวรัสเจอีไดเปนครั้งแรกจากสมองของผูปวยชายอายุ 19 ปที่มีอาการสมองอักเสบและเสียชีวิตในกรุงโตเกียว ต่อมาสามารถแยกเชื้อไวรัสไดจากยุงรำคาญ Culex และมีรายงานการระบาดของโรคไขสมองอักเสบเจอีในประเทศต่างๆในทวีปเอเชียตามมา ซึ่งนับเป็นปัญหาที่สําคัญที่สุดในบรรดาโรค สำหรับประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกในป พ.ศ. 2512 ที่จังหวัดเชียงใหมหลังจากนั้นมีการพบผูปวยเรื่อยมาและมีการระบาดใหญ่เปนครั้งคราว ผู้ปวยโรคนี้สามารถพบไดบอยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาไดแก ภาคกลางและภาคใต
ปจจุบันพบผูปวยโรคไขสมองอักเสบเจ อี นอยลง เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนปองกันโรคไขสมองอักเสบเจอีในเด็กทั่วประเทศ ในป พ.ศ. 2552 สํานักระบาดวิทยาไดรับรายงานผูปวยโรคไขสมองอักเสบรวมทั้งสิ้น 543 ราย คิดเปนอัตราปวย 0.86 ตอแสนประชากรจําแนกเปนโรคไขสมองอักเสบเจอีจํานวน 106 ราย (รอยละ 19.52) คิดเปนอัตราปวย 0.17 ตอแสนประชากร ไมมีรายงานผูเสียชีวิต สวนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุนอยกวา 15 ป พบผูปวยสูงสุดในกลุมอายุ 0-4 ป คิดเปนอัตราปวย 1.1 ตอแสนประชากร รองลงมาคือกลุมอายุ 5-9 ป มากกวา 15 ป และ 10-14 ป โดยมีอัตราปวย 0.3, 0.09 และ 0.08 ตอแสนประชากรตามลําดับกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ
อาการของโรคไขสมองอักเสบ เจ อี ไวรัสเจอีนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะแพร่กระจายไปสู่สมองและจะทำลายเนื้อสมองตั้งแต่เล็กน้อยไปจนกระทั่งอย่างมากมายแตกต่างกันไปในแต่ละคน (Japanese encephalitis virus) โดยส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300 คนเท่านั้น ที่จะแสดงอาการ โดยในรายที่รุนแรงจะแสดงอาการแบบสมองอักเสบ (encephalitis) โดยมีลักษณะอาการแบงเปน 3 ระยะดังนี้ 1. Prodromal stage ในระยะนี้ผู้ปวยจะมีอาการไขสูงรวมกับอาการออนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไสอาเจียนระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 1-6 วัน 2. Acute encephalitic stage ผูปวยยังคงมีไข้และเริ่มมีอาการระคายเคืองของเยื่อหุมสมอง มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรูสึกตัว มีอาการชักเกร็งสามารถตรวจพบ pyramidal tract signs, flaccid paralysis และพบ deep tendon reflex ลดลงไดรอยละ 10 อาจพบอัมพาตครึ่งซีกและความผิดปกติของเสนประสาทสมองได ระยะที่ 1 และ 2 ของโรคมักกินเวลาไมเกิน 2 สัปดาห ผูปวยที่มีอาการรุนแรงมักเสียชีวิตในระยะนี้ 3. Late stage and sequele ในระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทางสมองจะคงที่หรือดีขึ้น ผูปวยที่เสียชีวิตในระยะนี้มักเกิดจากโรคแทรกซอนที่ตามมา เช่น ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด ฯลฯ ซึ่งผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบ บางรายอาจมีอาการพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงหรือเป็นอาการทางจิตได้อาการชักมักเป็นแบบชักเกร็งกระตุกทั่วตัว ซึ่งพบได้บ่อยมากโดยเฉพาะเด็กเล็ก อาจจะมาด้วยนิ้วกระตุก, ตาเหล่, หรือหายใจผิดจังหวะได้หรืออาจจะมีอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน คือมีอาการตัวเกร็ง, หน้าไม่แสดงอารมณ์,มือสั่นและเคลื่อนไหวลำบาก
แนวทางการรักษาโรคไข้สมองอักเสบ การวินิจฉัยการวินิจฉัยอาศัยประวัติ การตรวจรางกายและการตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจนับเม็ดเลือดมักพบวาจํานวนเม็ดเลือดขาวและคารอยละของนิวโตรฟลเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางถึงสูงมาก การตรวจน้ำไขสันหลังสวนใหญจะพบวาน้ำไขสันหลังมีลักษณะใส ไมมีสีความดันของน้ำไขสันหลังอยูในเกณฑปกติมีเซลลเม็ดเลือดขาวไดตั้งแต 10-1,000 เซลล/ลบ.มม.ซึ่งส่วนใหญเปนชนิดโมโนนิวเคลียรเซลล ในระยะแรกของโรคอาจไมพบเซลลในน้ำไขสันหลังหรืออาจพบนิวโตรฟลเดนได โปรตีนมักสูงกวาปกติเล็กนอย ระดับน้ำตาลมักอยูในเกณฑปกติเมื่อเทียบกับระดับน้ำตาลในเลือด
การส่งตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์โดยจะเห็นความผิดปกติในตำแหน่ง thalamus,basalganglia, midbrain, pons, และ medullaโดยตำแหน่งที่พบร่วมมากที่สุดคือตำแหน่ง thalamus การส่งตรวจแยกเชื้อ (serology) ซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหาIgM antibodyเฉพาะต่อไวรัสเจอีในนํ้าไขสันหลังและในเลือด โดยการตรวจพบ JEV-specific IgM antibody ในนํ้าไขสันหลังสามารถช่วยยืนยันการติดเชื้อในครั้งนี้ได้แต่หากตรวจพบJEV-specific IgMantibodyในเลือดอาจเป็นการติดเชื้อหรือขึ้นจากการได้วัคซีนก็ได้การตรวจหา antibody ในนํ้าไขสันหลังจะสามารถตรวจพบได้ร้อยละ 70-90 ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดยจะสามารถตรวจพบได้เมื่อประมาณวันที่5-8หลังจากเริ่มมีอาการการตรวจหาantibodyในเลือดจะสามารถตรวจพบได้ร้อยละ60-70 ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโดยจะสามารถตรวจพบได้อย่างน้อย 9 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะ การรักษา เปนเพียงการรักษาตามอาการ ที่สําคัญคือ ลดอาการบวมของสมอง ดูแลระบบทางเดินหายใจ ใหยาระงับชัก บางรายอาจจําเปนตองให mannitol เพื่อควบคุมความดันในกะโหลกศีรษะ และป้องกันอาการแทรกซ้อนตามมาการใช dexamethasone ในขนาดสูงเพื่อลดการบวมของสมองในผูปวยไขสมองอักเสบเจอี พบวาไมสามารถลดอัตราการตายและอัตราการฟนจากโรคไดมีรายงานจากการศึกษาแบบ controlled clinical trials ขนาดเล็กเกี่ยวกับ Neutralizing murine monoclonal antibodies ซึ่งผลิตในประเทศจีน นํามาใชรักษาผูปวยไขสมองอักเสบเจอี พบวาการรักษาดังกลาวใหผลการรักษาที่ดีขึ้น บางรายงายการศึกษาพบว่าได้มีการทดลองใช้ยาต้านไวรัส ribavirin แต่ไม่พบความแตกต่างของผลการรักษาของการใช้ยาต้านไวรัสกับยาหลอกและพบว่าcorticosteroidsและinterferonalpha2a ไม่ช่วยในเรื่องของการควบคุมอาการและไม่ช่วยในเรื่องของผลการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ เนื่องจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis ที่เป็นตัวการของโรคไข้สมองอักเสบ เจอี จะอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น หมู และยุงจะเป็นพาหะนำเชื้อชนิดนี้มาสู่คน โดยเฉพาะหมูที่มีอายุที่มากขึ้น ตัวสัตว์เองก็จะมีภูมิต้านทานพอสมควร เพราะฉะนั้น ถ้ามีไวรัสอยู่ในตัวก็จะโดนควบคุมไม่ให้มีปริมาณมาก ส่วนลูกหมูมักจะมีภูมิต้านทานไม่ค่อยดี เมื่อโดนยุงกัด แล้วมีเชื้อไวรัส ไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อมาสู่ยุงไปสู่คน ดังนั้นไข้สมองอักเสบเจอี จึงพบมากในแหล่งที่มีการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีการเลี้ยงหมูจำนวนมาก เช่น ในชนบท และบริเวณชานเมือง และพบมากในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม แต่ก็อาจพบประปรายได้ตลอดทั้งปี ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้สมองอักเสบเจอี ได้แก่ เกษตรกรที่มีอาชีพเลี้ยงหมู ผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบทในท้องถิ่นที่มีการระบาด ทหารที่เข้าไปประจำการหรือปฏิบัติการในท้องถิ่นที่มีการระบาดของโรค ผู้อพยพไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศที่มีการระบาด
การติดต่อของโรคไข้สมองอักเสบ เจอี เชื้อ JEV(Japanese encephalitisVirus)จัดอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (family flaviviridae) สกุลฟลาวิไวรัส (genus flavivirus)อยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสเด็งกี่(Dengue virus)และไข้เหลือง(yellowfever) ดังนั้นเชื้อไวรัสเจอีจึงมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฟลาวิไวรัสตัวอื่นๆ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีแมลงกินเลือดเป็นพาหะนำ โรคจะติดต่อในวงจรจากสัตว์สู่คน โดยมียุงเป็นตัวพาหะนำเชื้อโรค โดยมีหมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือด เมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน ส่วนสัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JEได้แก่ม้า วัวควายนก แต่สัตว์เหล่านี้เมื่อติดเชื้อแล้วจะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้นที่มีอาการ เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆจึงจัดว่าเป็นamplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ ยุงที่เป็นพาหะเป็นชนิด Culex tritaeniorhynchus Culex golidus , Culex fascocephalus ยุงเหล่านี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีนํ้าขัง จำนวนยุงจะเพิ่มมากในฤดูฝนยุงตัวเมียสามารถถ่ายทอดเชื้อผ่านรังไข่ไปสู่ลูกยุงได้ ซึ่งมีระยะฟักตัวในยุงประมาณ 9-12 วัน ยุงเหล่านี้จะออกมากัดกินเลือดในช่วงเย็นหรือช่วงคํ่า หมูและนกนํ้า เช่น นกกระสา นกกระยางเป็นรังโรคที่สำ คัญเนื่องจากจะมีเชื้อในการแสเลือดได้นานและมีการเพิ่มจำนวนเชื้อได้สูง ซึ่งในประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีจำนวนของการเลี้ยงหมูปริมาณมากดังนั้นจึงมีความเสี่ยงต่อโรคไข้สมองอักเสบมากตามมา
การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นโรคไข้สมองอักเสบ เจอี
· รับประทานยาตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
· รักษาสุขภาพของร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
· ไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัดให้ตรงเวลา
· เมื่อพบว่าอาการไม่ดีขึ้นหรืออาการทรุดลง หลังจากกินยาที่แพทย์สั่งให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
· ใช้ยาทากันยุงและนอนในมุ้งเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้ที่อยู่รอบข้าง
· กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การป้องกันตนเองจากโรคไข้สมองอักเสบ เจอี
· ผู้ที่มีไข้ตัวร้อนควรไปพบแพทย์ทันที เมื่อมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะรุนแรง กินยาแก้ปวดแล้วไม่ทุเลาอาเจียนมากมีอาการชักร่วมด้วยซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือหมดสติแขนขาเป็นอัมพาต ปากเบี้ยว กลืนลำบาก หรืออ้าปากลำบาก (ขากรรไกรแข็ง) หรือก้มคอไม่ลง (คอแข็ง)
· ควรกำจัดยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง
· เมื่อมีการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบ เจอี ควรยินยอมให้เจ้าหน้าที่ฉีดยาทำลายยุงในบริเวณพื้นที่ เกิดการระบาดของโรคโดยการพ่นสารเคมีเพื่อฆ่ายุงตัวแก่
· ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนกางมุ้ง หรือติดมุ้งลวดในบ้านและตามห้องต่างๆ
· ย้ายคอกสัตว์ เช่น หมู วัว ควาย ให้ห่างจากแหล่งที่พักอาศัย เพื่อลดความเสี่ยงของรังโรค
· ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ
· วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ได้แก่การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ให้แก่เด็กๆของเราก่อนที่จะติดเชื้อเองตามธรรมชาติ
· วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (JEV) เริ่มมีการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 ในประเทศรัสเซียและญี่ปุ่น ต่อมาได้เพิ่มกระบวนการทำให้วัคซีนบริสุทธิ์ขึ้นเพื่อป้องกันผลแทรกซ้อนจากการปนเปื้อนของเนื้อเยื่อสมองหนู และได้รับการพัฒนาต่อเรื่อยมาจนกระทั่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
· ส่วนในประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งระบาดของเชื้อนั้น มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ตั้งแต่ปี 2533 โดยเริ่มต้นในภาคเหนือ และค่อยๆ ขยายครอบคลุมทั้งประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 โดยให้วัคซีนแก่เด็กอายุ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปีคนละ 2 ครั้งและกระตุ้น 1 ครั้ง เมื่ออายุ2 ปีครึ่ง ถึง 3 ปีวัคซีนที่ใช้เป็นชนิดเชื้อตาย (JE SMBV: mouse brain-derivedinactivatedJEvaccine)วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอีที่ขึ้นทะเบียนและจำหน่ายในประเทศไทยปัจจุบันมี2ชนิดได้แก่(1.)วัคซีนชนิดเชื้อตายที่เพาะเชื้อในสมองหนู(suckling mouse brain vaccine หรือ SMBV) (2.)วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ (SA 14–14–2) ที่เพาะเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง เป็นวัคซีนใหม่ที่เพิ่งขึ้นทะเบียนในประเทศไทยปีพ.ศ.2550
สมุนไพรที่ใช้ป้องกันตนเองจากโรคไข้สมองอักเสบ เอจี โรคไข้สมองอักเสบ เจอี เป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาเฉพาะการรักษายังต้องใช้การรักษาแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ ดังนั้นจึงไม่มีสมุนไพรชนิดไหนที่สามารถรักษาได้ แค่มีสมุนไพรที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคไข้สมองอักเสบ เจอี ได้เพราะไข้สมองอักเสบ เจอี นั้นมียุงเป็นพาหนะนำเชื้อ ดังนั้นสมุนไพรที่ช่วยป้องกันโรคชนิดนี้นั้น จึงเป็นสมุนไพรที่ใช้ไล่ยุงต่างๆ เช่น
พืชกลุ่มสกุล (genus) Cymbopogon
ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus (L.) Rendle)มีการศึกษาฤทธิ์ไล่ยุงของตำรับน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ที่มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ citronella, geraniol และ citronellol ในรูปแบบของครีม พบว่าตำรับที่มีน้ำมันตะไคร้หอม 17% ป้องกันยุงลายได้นานประมาณ 3 ชั่วโมง ครีมที่มีน้ำมันตะไคร้หอม 14% ลดจำนวนยุงรำคาญที่มาเกาะภายใน 1 ชั่วโมงหลังทาครีม นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลของตะไคร้หอมผสมกับน้ำมันมะกอกสามารถไล่ยุงลายและยุงรำคาญได้นาน 2 ชั่วโมง ครีมที่มีน้ำมันหอมระเหยจากใบตะไคร้หอมที่ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5.0% ป้องกันยุงก้นปล่องได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ขณะที่ความเข้มข้น 10% ให้ผลได้นานกว่า 4 ชั่วโมง
ตะไคร้ (Cymbopogon citratus (DC.) Stapf) น้ำมันตะไคร้ (lemongrass oil)ใน liquid paraffin ความเข้มข้น 20 และ 25% มีผลป้องกันยุงลายได้ 100% ใน 1 ชั่วโมงแรก และลดลงเหลือประมาณ 95% ภายใน 3 ชั่วโมง การเตรียมผลิตภัณฑ์น้ำมันตะไคร้ 15% ในรูปของครีมและขี้ผึ้งพบว่าให้ผลป้องกันยุงกัดได้ โดยคุณสมบัติของส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์มีผลต่อการปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหย และมีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันยุงด้วย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ที่มี geraniol ปริมาณ 0.2 มก./ซม2 สามารถลดอัตราการกัดจากยุงรำคาญ เป็น 10, 15 และ 18% ที่เวลา 1, 2 และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ได้ทาน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สบู่อาบน้ำที่มีส่วนประกอบของน้ำมันตะไคร้หอม 0.1% น้ำมันตะไคร้ 0.5% และน้ำมันสะเดา 1% สามารถไล่ยุงได้ในช่วง 8 ชั่วโมง
พืชกลุ่มสกุล (genus) Ocimum
น้ำมันหอมระเหยจากพืชกลุ่มนี้ 5 ชนิด ได้แก่ แมงกะแซง (O. americanum L.) โหระพา (O. basilicum L.) แมงลัก (O. africanum Lour. ExH) ยี่หร่าหรือโหระพาช้าง (O. gratissimum L.) และกะเพรา (O. tenuiflorum L.) พบว่ามีฤทธิ์ทั้งฆ่าลูกน้ำและไล่ยุงลายได้ ฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายของน้ำมันหอมระเหย เรียงลำดับดังนี้ โหระพา > ยี่หร่า> กะเพรา > แมงลัก = แมงกะแซง โดยมีค่าความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยที่ให้ผลป้องกันยุงได้ 90% (EC90) เท่ากับ 113, 184, 240, 279 และ 283 ppm ตามลำดับ สำหรับฤทธิ์ไล่ยุงของน้ำมันหอมระเหยที่ความเข้มข้น 10% พบว่า โหระพาช้างมีฤทธิ์แรงที่สุด ป้องกันยุงกัดได้นาน 135 นาที รองลงมาคือ กะเพรา และแมงลัก ที่ป้องกันยุงกัดได้นาน 105 และ 75 นาที ตามลำดับ ขณะที่แมงกะแซง และโหระพาให้ผลน้อยที่สุดเพียง 15 นาที
พืชกลุ่มสกุล (genus) Citrus
มะกรูด (Citrus hystrix DC.)น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีฤทธิ์ป้องกันยุงได้นาน 95 นาที และตำรับยาทากันยุงที่มีน้ำมันมะกรูดความเข้มข้น 25 และ 50% สามารถไล่ยุงได้นาน 30 และ 60 นาที ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยผสมจากมะกรูด 5% และจากดอกชิงเฮา (Artemisia annua L.) 1% ป้องกันยุงลาย ยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญได้นาน 180 นาที ในห้องปฏิบัติการ ในความเข้มข้นเดียวกันสามารถป้องกันยุงลาย และยุงเสือ ได้ 180 นาที และยุงรำคาญได้นานถึง 240 นาทีในภาคสนาม
มะนาวฝรั่ง (Citrus limon (L.) Burm.f.)น้ำมันหอมระเหยจากมะนาวฝรั่งมีฤทธิ์ไล่ยุงก้นปล่องได้ 0.88 เท่าของสารเคมีสังเคราะห์ N,N-diethyl-3-methylbenzamide
นอกจากสมุนไพรที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสมุนไพรอื่นๆ ที่มีการศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันยุง ได้แก่ ข่า ไพล ขึ้นฉ่าย ว่านน้ำ กานพลู หนอนตายหยาก ดอกกระดังงาไทย สารไพรีทรัม (pyrethrum) และไพรีทริน (pyrethrins) ที่พบได้ในพืชตระกูลดอกเบญจมาศ (chrysanthemum flowers) เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
1. รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ.ไข้สมองอักเสบ จากเชื้อไวรัส เจอี.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 174.คอลัมน์ แนะยา-แจงโรค.ตุลาคม.2536
2. Halstead SB, Jacobson J. Japanese encephalitis vaccines. In: Plotkin SA, Orenstein WA, Offit PA, editors. Vaccines. 5th ed. Elsevier Inc.; 2008. p.311-52.
3. Thisyakorn U, Thisyakorn C. Japanese encephalitis. In: Dupont HL, Steffen R, editors. Textbook of Travel Medicine and Health. 2nd ed. Hamilton: B.C. Decker Inc.; 2001. p.312-4.
4. นศ.พ.เฉลิมเกียรติ สุวรรณเทน.รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า. Japanese Encephalitis. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ปีที่ 6.ฉบับที่4.ตุลาคม-ธันวาคม 2554.หน้า 93-100
5. Thisyakorn U, Thisyakorn C. Diseases caused by arboviruses: dengue haemorrhagic fever and Japanese B encephalitis. Med J Aust. 1994;160:22-6.
6. โอฬาร พรหมาลิขิต.วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี.ตำราวัคซีน.สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย.หน้า 127-135
7. Thisyakorn U, Nimmannitya S. Japanese encephalitis in Thai children, Bangkok, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1985;16:93-7.
8. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.โครงการเสริมภูมิคุ้มกันโรคและวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีในประเทศไทย. ประจำปี 2553. Available from: http://nvi.ddc.moph.go.th/attach/ebook9.pdf
9. Thisyakorn U, Thisyakorn C. Studies on Flaviviruses in Thailand. In: Miyai K, Ishikawa E, editors. Progress in Clinical Biochemistry: Proceedings of the 5th Asian-Pacific Congress of Clinical Biochemistry; 1991 Sept 29-Oct 4; Kobe, Japan. Amsterdam: Excerpta Medica; 1992. p.985-7.
10. อุษา ทิสยากร, สุจิตรา นิมมานนิตย. Viral meningitis และ encephalitis ในเด็ก. วารสารโรคติดเชื้อและยาตานจุลชีพ. 2528;2:6-10.
11. สุจิตรา นิมมานนิตย, อุษา ทิสยากร, อนันตนิสาลักษณ, Hoke CH, Gingrich J, Leake E. Outbreak of Japanese encephalitis-Bangkok Metropolis. รายงานการเฝาระวังโรคประจําสัปดาห. 2527;15:573-6.
12. นพ.คำนวน อึ้งชูศักดิ์.โรคไข้สมองอักเสบจากไวรัสเจอี ถึงจะร้ายแต่ก็ป้องกันได้.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่108.คอลัมน์กันไว้ดีกว่าแก้.เมษายน.2531
13. สำนักระบาดวิทยา.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี2552.นนทบุรี:สำนักระบาดวิทยากองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; รายปี2552: 21-23.
14. สมบุญ เสนาะเสียง, อัญชนา วากัส, ฐิติพงษ์ ยิ่งยง. Situation of encephalitis and Japanese B Encephalitis, Thailand, 2009. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2010;41:33-5.
15. อุษา ทิสยากร. ไขสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสแจแปนนิส. ใน: อุษา ทิสยากร, จุล ทิสยากร, บรรณาธิการ.กุมารเวชศาสตรเขตรอน. กรุงเทพฯ: ดีไซร จํากัด; 2536. น.89-97
16. วรรณีลิ่มปติกุล, อุษา ทิสยากร. การติดเชื้อ Japanese Encephalitis Virus ที่โรงพยาบาลสงขลา.วารสารวิชาการเขต 12. 2541;9:65-71.
17. Weekly epidemiological record. Japanese Encephalitis. 2015;90:69-88.
18. อ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ.โรคไข้สมองอักเสบ.บทความความรู้สู่ประชาชน.ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
19. รศ.ดร.สุวรรณ ธีระวรพันธ์.สมุนไพรป้องกันยุง.จุลสารข้อมูลสมุนไพร.ปีที่24 ฉบับที่3.2550.หน้า1-5,15