มะรุม ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

มะรุม งานวิจัยและสรรพคุณ 36 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะรุม
ชื่ออื่นๆ/ชื่อประจำถิ่น ผักอีฮุม (อีสาน), มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), กาแน้งเดิง (กะเหรี่ยง, กาญจนบุรี), ผักเนื้อไก่ (ชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ Horse Radish Tree, Drumstick
ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringaoleifera Lam
วงศ์ Moringaceae

มะรุม


ถิ่นกำเนิดมะรุม

ต้นมะรุมมีปลูกอยู่ทั่วโลก โดยมนุษย์รู้จักพืชชนิดนี้มากกว่า 4000 ปี แล้ว ในต่างประเทศทำการวิจัย และสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อบำรุงร่างกายมาหลายปีแล้ว ตนได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งในยุโรป และอเมริกา เชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยบำบัดโรคได้กว่า 300 ชนิด โดยเฉพาะโรคที่สำคัญๆ ของมนุษย์ เช่น มะเร็ง, ขาดสารอาหาร และเอดส์ เป็นต้น โดยมีสายพันธุ์อยู่ทั้งหมด 13 สายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย อินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ก็พบได้ทั่วไปในแอฟริการ และเขตร้อนของทวีปอเมริกา มะรุมเป็นพืชผักสมุนไพรที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับต้นมะรุมที่ปลูกทั่วไปในประเทศไทย เรียกว่า พันธุ์ข้าวเหนียว เป็นสารพันธุ์เดียวกับต่างประเทศที่เรียกว่า MoringaOleiferaและอีกสายพันธุ์ที่เรียกว่าสายพันธุ์กระดูก (MoringaStenopatala )


ประโยชน์และสรรพคุณมะรุม

  1. บำบัดโรคเบาหวาน
  2. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยรักษารักษาโรคมะเร็ง
  4. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ
  5. ช่วยรักษาโรคเก๊าส์
  6. ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
  7. ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
  8. รักษาโรครูมาติซั่ม
  9. ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
  10. แก้ท้องเสีย ท้องผูก
  11. รักษาโรคพยาธิในลำไส้
  12. รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ
  13. ช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ
  14. รักษาโรคตา
  15. แก้ไข้หัวลม
  16. เป็นยาบำรุง
  17. ช่วยขับปัสสาวะ
  18. ช่วยขับน้ำตา
  19. ต้านอนุมูลอิสระ
  20. เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย 
  21. ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งใช้ชุ่มชื่น
  22. ช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิว ชะลอความแก่
  23. ช่วยรักษาแผลสด ถูกมีดบาด หรือ แผลสดเล็กๆ น้อยๆ
  24. ช่วยลดอาการผื่นผ้าอ้อมในเด็ก
  25. ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิว
  26. ช่วยลดจุดด่างดำหลังจากโดนแดด
  27. ใช้นวดศีรษะ รักษาราผิวหนัง บรรเทาอาการผมร่วง คันศีรษะ
  28. แก้อาการบวม
  29. บำรุงไฟธาตุ 
  30. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ 
  31. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
  32. น้ำมันมะรุม ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ
  33. ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู
  34. รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ
  35. รักษาโรคหูน้ำหนวก
  36. ป้องกันมะเร็ง สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin)


รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะรุม

ตำราพื้นบ้านใช้ใบมะรุมใช้พองแผลช่วยห้ามเลือด ยอดอ่อนลวกรับประทานมะรุมเป็นอาหาร ดอกตากแห้งชงเป็นชา หรือ ต้มรับประทานน้ำเป็นยา ฝัก ใช้ประกอบอาหารรับประทาน เมล็ดใช้สกัดทำเป็นน้ำมันมะรุม เปลือกลำต้นและรากใช้ต้มกรองกากเพื่อรับประทานน้ำเป็นยา


ลักษณะทั่วไปของมะรุม

           • Moringaoleifera Lamหรือมะรุมพันธุ์ข้าวเหนียว ลักษณะทั่วไปของมะรุม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 15–20 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ เติบโตมีความสูงถึง 4 เมตร และออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20–40 ซม.ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1–3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานในมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ออกดอกในฤดูหนาว ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะๆ ตามยาวของฝักฝักยาว 20–50 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ ซม.
           • MoringaStenopatala หรือมะรุมพันธุ์กระดูก ลักษณะมีขนาดเล็กสูงไม่ถึง 12 เมตร หรือ ประมาณ 39 ฟุต ลำต้นก็มีหลายกิ่ง ใบมี คล้ายแผ่นเชิงวงรีรูปไข่ หรือ รูปใบหู ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยงสีครีม ขาว ชมพู หรือสีเหลือง มีเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ฝักมีความยาว 30–60 ซม.


การขยายพันธุ์มะรุม

มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลางการปลูกมะรุมได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1–5 ต้น เพื่อให้เป็น ผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา


องค์ประกอบทางเคมีของมะรุม

สมุนไพรมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญ คือ รูทินและเควอเซทิน (rutinและ quercetin) สารอัลคาลอยด์ (alkaloid) สารลูทีน และ กรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids)

 รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของมะรุม

สมุนไพรมะรุม
โครงสร้างพื้นฐานของฟลาโวนอยด์PiettaPG.Flavonoids as (2000)

โครงสร้างมะรุม
 สาร Alkaloid . wikimedia - Commons (Pubic Domain)

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะรุม

มีการศึกษาในคนเพียงชิ้นเดียว โดยมีเพียงรายงานเกี่ยวกับการใช้ยา Septillin ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากพืช 6 ชนิด ได้แก่ มะรุม บอระเพ็ด จิตรลดา มะขามป้อม ชะเอมเทศ Balsamodendendronmukul (พืชอินเดีย) และเปลือกหอยสังข์ โดยพบว่า Septillinให้
           • ฤทธิ์ลดความดันโลหิต สารสกัด น้ำและเอทานอลของใบมะรุม สารสกัดเอทานอลของผล และฝัก สารในกลุ่ม glycosides ในสารสกัดเมทานอลของฝักแห้ง และเมล็ด แสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัชและหนูแรท
           • ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอก และฤทธิ์ต้านมะเร็ง สาระสำคัญในกลุ่ม thiocarbamate จากใบ สารสกัดเอทานอลของเมล็ด แสดงฤทธิ์ทั้งยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์มะเร็งเมื่อป้อนสารสกัดของผลและฝัก ขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดจำนวนหนูเม้าส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
           • ฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอล สารสกัดน้ำของส่วนใบ มีผลลดระดับคอเลสเตอรอลและลดการเกิด plaque ในหลอดเลือดของหนูแรทและกระต่ายซึ่งได้รับอาหารชนิดที่มีไขมันสูง การทดสอบโดยให้กระต่ายที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง และกระต่ายปกติ โดยให้กินผลมะรุมขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัว ต่อวัน นาน 120 วัน เปรียบเทียงกับยาลดไขมันโลวาสแตทิน 6 มก./กก. น้ำหนักตัว ต่อวัน และให้อาหารไขมันมาก พบว่ามีผลลดระดับคอเลสเตอรอล, phospholipids, triglycerides, low density lipoprotein (LDL), very low density lipoprotein (VLDL), อัตราส่วนระหว่างคอเสลเตอรอลและ phospholipids และ atherogenic index ในกระต่ายกลุ่มแรกได้
           • ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัด เมทานอลของใบ และสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอกสามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารชองหนูแรท ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยแอสไพรินได้ ในขณะที่สารสกัดน้ำจากใบมีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
           • ฤทธิ์ป้องกันตับ อักเสบ สารสกัด 80% เอทานอลจากใบ สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอก มีฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทที่ได้รับ aceteaminophen (ยาพาราเซตามอล) และสารสกัดน้ำจากส่วนรากแสดงฤทธิ์ป้องกันทำลายเซลล์ตับหนูแรทจากการเหนี่ยวนำโดยยาไรแฟมพิซิน
           • ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสารสกัดน้ำสารสกัด 80% เมทานอล และสานสกัด 70% เอทอนอลจากส่วนใบ ผลแห้งบดหยาบและสารสกัดน้ำจากเมล็ด และสารในกลุ่ม phenol จาก ส่วนราก สามารถต้านและกำจัดอนุมูลอิสนะได้
           • ฤทธิ์ต้านเชื้อ แบคทีเรีย น้ำคั้นสดของใบ สารประกอบคล้าย pterygospermin ของดอกสารสกัดอะซีโตน และสานสกัดเอทอนอลของเปลือกราก และสาร athominจากกเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการใช้สารสกัดน้ำมันจากเมล็ดซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคเรียเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ กับตา โดยพบว่าใช้ได้ดีกับ pyodermia ในหนูเมาส์ ที่มีสาเหตุมาจาก Staphylococcus aureus
           • ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล ผงใบแห้งสารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้น มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ละระดับน้ำตาลในหนูเม้าส์
           • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ชาชงน้ำร้อน และสารสกัดเมทานอลจากราก มีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหลังของหนูเรทและหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยว นำด้วยคาราจีแนน ในขณะที่เมล็ดแก่สีเขียว สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ด มีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะเภา ซึ่งยืนยันถึงการใช้มะรุมในทางพื้นบ้านเพื่อบำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้ เช่น หอบหืด สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าบริเวณข้อของหนูแรท และพบว่าสารสกัดมะรุมมีผลลด oxidative stress ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย
           • ฤทธิ์ชองสารสกัดใบมะรุม ที่สกัดด้วยน้ำและสกัดด้วยเอทานอล ต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาวพันธุ์ Wistar เพศผู้โดยแบ่งหนู 16 ตัว ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารที่แตกต่างกัน 2 ชนิด คือ อาหารปกติ (normal pellet diet; NPO) และอาหารที่มีไขมันสูง (high fat diet; HFD) เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ จากนั้นตัดแยกเนื้อเยื่อไขมันบริเวณอัณฑะมาเตรียมเซลล์ไขมันโดยใช้วิธีการย่อยด้วยเอนไซม์ collagenase ทดสอบสารสกัดใบมะรุมที่ความเข้มข้นต่างๆ และทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 37̊C เป็นเวลา 2 ชั่งโมง พบว่า สารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยน้ำที่ความเข้มข้น 1 และ 3 mg/mL เพิ่มการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n=4) ที่สภาพวะ basal lipolysis ทั้งในกลุ่มหนู NFD และ HFD ในขณะที่สารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยเอทานอลเฉพาะที่ความเข้มข้นสูงสุด คือ 3 mg/mL ที่เพิ่มการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n=4) ที่สภาวะ basal lipolysis ในกลุ่มหนู NFD แต่ไม่มีผลในกลุ่มหนู HFD ฤทธิ์ของสารสกับใบมะรุมต่อการสลายไขมันที่เกิดขึ้นนี้ อาจมีความเกี่ยวข้องกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
 

การศึกษาทางพิษวิทยาของมะรุม

มีการรายงานความเป็นพิษของมะรุมในระดับเซลล์และในสัตว์ทดลองว่า
           • สาระสำคัญ 4 (alpha-L-rhamnosyloxy) phenylacetonitrile จากเมล็ด แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ใน Micronucleus test
           • สารสกัดน้ำจากใบ หรือ 90% เอทานอล ในขนาด 175 มก/กก ของน้ำหนักแห้ง เมื่อป้อนให้หนูแรทที่มีการผสมพันธุ์ สามารถทำให้เกิดการแท้งได้
           • สารสกัดน้ำของรากขนาด 200 มก/กก น้ำหนักตัว เมื่อให้กับหนูแรท จะเหนี่ยวนำให้เกิดทารกฝ่อ (foetalresorption) ในการตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย
           • สารสกัดเมล็ดด้วย 0.5 M borate buffer มีผลทำให้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายรวมตัวกัน
           • เมื่อให้หนูแรทกินผงของเมล็ดดิบที่แก่ของมะรุม โดยไม่จำกัดจำนวนเป็นเวลา 5 วัน พบว่าทำให้ความอยากอาหาร การเจริญเติบโตและการใช้โปรตีนลดลง ขนาดของกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ และปอดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ต่อมไทมัส และม้ามมีลักษณะฝ่อลง โดยเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไข่ขาวเป็นส่วนประกอบ
           • การทดสอบความเป็นพิษโดยให้หนูเม้าส์กินส่วนราก หรือ ฉีดสารสกัดไม่ระบุชนิดตัวทำตัวละลายเข้าใต้ผิวหนัง ในขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว ไม่พบความเป็นพิษ

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

หากจะรับประทานใบ เนื้อในฝัก หรือ ดอกมะรุมซึ่งเราใช้เป็นอาหารมานานแล้วเพื่อการรักษาโรค ก็อาจทำไดแต่อย่าหวังผลมากนัก และไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก หรือ ติดต่อกันนานเกินไป ซึ่งอาจจะมีการจะสมสารบางอย่างและอาจเป็นพิษได้ จากรายงานความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง ซึ่งพบว่าทำให้เกิดการแท้ง ดังนั้นควรระมัดระวังการใช้ส่วนต่างๆ ของมะรุมในสตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน

เอกสารอ้างอิง มะรุม

1. มะรุมต้นไม้มหัศจรรย์. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง (พืชสวน)
2. รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะรุมลดไขมันป้องกันมะเร็ง.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 338. มิถุนายน 2550
3. ดร.วรรดาเรศโภดาพานิช,ดร.เสาวนาภรณ์ โชคสกุลพร.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการกำจัดโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำด้วยเมล็ดมะรุมศึกษาโดยโฟโต้อิเลคตรอนสเปกโตรสโกปี.มหาวิทยาลัยนครพนม.มีนาคม 2558. หน้า 1-6
4. A.Rolff,H.Weisger,U.Larg,B.Stimm,Moringaoleifera Lam.,1785,Enzyklopa”die der Holzgewa”chse-40.Erg.Lfg.6/05,(2009)
5. PiettaPG.Flavonoids as antioxidantys.J Nat Prod .2000;63:1035-42
6. Alkaloid.เข้าถึงได้จาก http://commons.wikimedia.org/wiki/File:6-MAM.svg
7. บทความที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2.สำนักงานคงระกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 5-24
8. Healer,D.2008. มะรุมพืชมหัศจรรย์. (cited 21 February2011).Available from:URL: http://thaiherbclinic.com/node/141.
9. รศ.วิมล ศรีสุข. พืชสมุนไพรหลากประโยชน์. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ฉบับ 26 (4) กรกฎาคม 2552
10. อธิกา จารุโชติกมล, ปวิตรา พูลบุตร, จริยาพร เพริศแก้ว, ปรีณ์สุดา สามสี่, รุ่งนภา ปาพรม, ศิวากรณ์ แดนรักษ์. ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันหนูขาว. นิพนธ์ต้นฉบับ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 มีนาคม–เมษายน 2556 หน้า 129