แอลคาร์นิทีน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
แอลคาร์นิทีน
ชื่อสามัญ แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) หรือ คาร์นิทีน (carnitine)
แอลคาร์นิทีน (L-carnitine) หรือ คาร์นิทีน (carnitine) มาจากภาษาละติน แปลว่า เนื้อสด เนื่องจากครั้งแรกสกัดได้ จากกล้ามเนื้อของหมู คาร์นิทีนมีโครงสร้างเป็น quaternary amine เป็นสารที่สร้างในตับ และไตของคนเรา คาร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของ (L-carnitine) แอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิด คือ ไลซีน และเมธไทโอนีน ในการสังเคราะห์คาร์นิ-ทีน ภายในร่างการอาศัย cofactor ได้แก่ วิตามินซี, ไนอะซิน, วิตามินบี และเหล็ก โดยสามารถใช้พลังงานจาก fatty acid oxidation ได้ทั้งนี้ คาร์นิทีน จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และน้ำดี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers : Active firm คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine เดิมคาร์นิทีน พบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนก และมีอยู่บนฉลากวิตามินบี
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของแอลคาร์นิทีน
L-carnitine
แอลคาร์นิทีน ประกอบด้วย คาร์นิทีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acids) ที่ร่างกายสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์ กรดอะมีโน 2 ตัว คือ ไลซีน (Lysine) และเมทไธโอนีน (Methionone) โดยกรดอะมิโนทั้ง 2 ชนิดนี้ มีสาระสำคัญดังนี้
• ไลซีน (Lysine) คือ กรดอะมิโน ชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเป็น กรดอะมิโนจำเป็น ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากสารอาหารอื่นๆ ไลซีน มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย โดยร่างกายต้องการไลซีนเพื่อการเจริญเติบโต การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การสร้างภูมิต้านทาน ฮอร์โมน รวมถึงเอนไซม์ต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้แอลคาร์นิทีน
• เมทไธโอนีน จะถูกนำไปใช้สร้างเป็นกรดอะมิโน ซีสตีน (cysteine) ซึ่งหากร่างกายได้รับกรดอะมิโนเมทไธโอนีนไม่เพียงพอจะมีผลให้เกิดอาการซึมเศร้า ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และผิวหนังที่เป็นแผลจะหายช้ากว่าปกติ
• นอกจากนี้ เมไธโอนีน ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเกิด โฮโมซีสเทอีน ซึ่งเป็น กรดอะมิโนที่ประกอบไปด้วยซัลเฟอร์ (Sulfur) เป็นการเผาผลาญของกรดอะมิโนเมไธโอนีน ในช่วงระหว่างการเผาผลาญปกติภายในร่างกาย มันจะถูกย่อยให้อยู่ในรูปของ โฮโมซีสเทอีน โดยจะถูกย่อย และถูกเปลี่ยนเป็น ซีสเทอีน อีกครั้งหนึ่ง (ไม่ก่อให้เกิดอันตราย) และมันจะถูกเปลี่ยนกลับเป็น เมไธโอนีน ในขั้นตอนนี้เอนไซม์ต้องการวิตามินบี 12 และกรดโฟลิก เป็นผู้ช่วยในการเปลี่ยนสารชนิดนี้กลับไปเป็น เมไธโอนีน อีกครั้งหนึ่ง
• ระดับของโฮโมซีสเทอีน ที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลต่อความเป็นพิษโดยตรง และเกิดผลแห่งการอักเสบบริเวณเยื่อบุผิดของหลอดเลือด จึงเป็นผลให้กลุ่มคนที่มีโฮโมซีสเทอีน สูงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงถึง 3 เท่า ยิ่งระดับของ โฮโมซีสเทอีนยิ่งมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหบอดเลือกสมองตีบ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับโฮโมซีสเทอีนสูง มีการขาดแคลน วิตามินบี 6, วิตามินบี12 และกรดโฟลิก
• เมทไธโอนีน สามารถเปลี่ยนไปเป็น SAMe (S-Adenosyl Methionine) ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคข้ออังเสบด้วยการเพิ่มระดับสารโปรทีโอไกลแคน (proteglycan) ในเลือด โปรทีโอไกลแคน มีบทบาทสำคัญในการปกป้องกระดูกอ่อน โดยรักษาสภาพกระดูกอ่อน และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในข้อ มีงานวิจัยพบว่า SAM-e มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้เท่ากับยาไอบูโพรเฟน
• เมทไธโอนีน เป็นสารต้านอีสตามีน (anti-histamine) เนื่องจากฮิสตามีนเป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการแพ้ต่างๆ เมทไธโอนีน จึงช่วยลดอาการแพ้ต่างๆ ยับยั้งการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ฮีสตามีน สารก่อภูมิแพ้ฮีสตามีน และสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ จากการบริโภคอาหารที่มีระดับของฮีสตามีน (Histamine) สูง สารก่อภูมิแพ้ (allergen) ได้แก่ สารต่างๆ ทั้งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ หรือ สารที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยทั่วไปคนที่เป็นโรคภูมิแพ้สารต่อไปนี้ คือ ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ พิษแมลง อาหาร (เช่น ไข่ นม ปลา อาหารทะเล)
• เมทไธโอนีน เสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับอ่อน จึงช่วยแก้ปัญหาระบบการย่อยอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
ขนาดรับประทานแอล-คาร์นิทีน
เนื่องจากแอล คาร์นิทีน เป็นสารที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง และพบได้ในอาหารหลายๆ ชนิด จาการทดสอบหาค่า ความเป็นพิษ Lathal dose (LD) ของแอล-คาร์นิทีน ในหนู พบว่ามีค่าเท่ากับ 8.9–9.1 กรัม/กิโลกรัม หรือ เทียบเท่ากับขนาดในคน คือ 630 กรัม/วัน อย่างไรก็ตามการรับประทานแอล-คาร์นิทีน ในขนาดมากกว่า 4 กรัม/วัน จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองในทางเดินอาหารได้ ดังนั้นปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน คือ 2 กรัม/วัน
การรับประทานแอล-คาร์นิทีน ในขนาดที่เหมาะสม คือ 2 กรัม/วัน จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพการทำงาน และเกิดเมแทบอลิซึมโดยเฉพาะ fatty acid oxidation ได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการนำไปใช้ในระยะยาวเพื่อหวังผลในการเสริมสร้างกำลังของนักกีฬายังต้องมีการศึกษาต่อไป ดังนั้นจะเป็นการดีที่สุดหากเราเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเพียงที่ร่างกายต้องการ รวมถึง หมั่นออกกำลังกายร่วมด้วยก็จะเป็นการดีที่สุด ที่จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
ประโยชน์ของกรดอะมิโนไลซีน ที่มีต่อร่างกาย
• ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย มีส่วนในการช่อยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
• เสริมสร้างภูมิต้านทาน ฮอร์โมน และเอนไซม์ต่างๆ ในร่างกาย
• กำจัดโรคต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคเริม (Herpes), โรคติดเชื้อไวรัสเอ็มสไตบาร์, โรคติดเชื้ออีบีวี (Epstein-Barr virus infection), โรคงูสวัด (Shingles)
• ช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ดียิ่งขึ้น
• ช่วยให้ร่างกายนำกรดไขมันมาใช้เผาผลาญให้เป็นพลังงาน
• ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ป้องกัน และรักษาโรคกระเพาะ
• ป้องกัน และรักษาโรคกระดูกพรุน
• ช่วยบรรเทาปัญหาด้านการสืบพันธุ์บางประการ
• ช่วยรักษาเด็กส่าไข้
• ช่วยปรับสมดุลของระดับไนโตรเจน ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
• ช่วยรักษาอาการที่มีจากหัวใจขาดเลือด
อาการที่บ่งบอกถึงภาวการณ์ขาดกรดอะมิโนไลซีน
หากคุณรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ ตาแดงเพราะเส้นเลือดฝอยแตก คลื่นไส้ วิงเวียน ผมร่วง และมีภาวะโลหิตจาง สำหรับผู้เป็นมังสวิรัติอาจมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะขาดไลซีนได้ หากร่างกายได้รับไลซีนไม่เพียงพอ เราสามารถรับรู้ถึงสัญญาณบางอย่างของการขาดไลซีน อย่างเช่น การเป็นโรคโลหิตจาง อาการเมื่อยล้า เบื่ออาหารคลื่นไส้ และอาจทำให้เกิดโรคนิ่วในไต คนสูงอายุโดยเฉพาะในเพศชาย จะต้องการ ไลซีน มากกว่าคนอายุน้อย แต่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ ไม่ควรรับประทานไลซีนเสริม หากคุณเป็นโรคเริ่ม แนะนำให้รับประทานไลซีนเสริมในขนาด 3–6 กรัมต่อวัน ร่วมกับอาหารที่มีไลซีนสูง สำหรับตุ่มน้ำใส หรือ แผลพุพอที่ปาก แนะนำให้รับประทานไลซีนเสริม 500–1000 มิลลิกรัมต่อวัน จะป้องกันอาการกำเริบได้ดีมาก
แหล่งที่มีพบกรดอะมิโนไลซีน ในธรรมชาติ ไข่ นม ชีส ยีสต์ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และอาหาร ที่มีโปรตีนสูงทุกชนิด
• เมทไธโอนีน (Methionone) จัดอยู่ในกลุ่ม กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acids) เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร
• เมไธโอนีน เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยในการย่อยสลายไขมัน มีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในตับ และช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง เช่นเดียวกับซีสทีน ช่วยป้องกันร่างกายจากสารพิษ ช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภทบางราย โดยจะช่วยลดระดับของสารฮีสตามีนในเลือดซึ่งอีสตามีนเป็นตัวการที่ทำให้สมองส่งผ่านสื่อประสาทที่ผิดไปจากความเป็นจริง
• เมไธโอนีน ยังมีประโยชน์ผู้หญิงทีรับประทานยาคุมกำเนิด เนื่องจาก ช่วยเพิ่มการขับเอสโทรเจนส่วนเกินออกจากร่างกายได้ เมทไธโอนี ยังเป็นผู้ให้ เมธิน ที่เรียกว่ากลุ่มเมธิล ที่ให้ความหลากหลายทางเคมี และปฏิกิริยาการเผาผลาญภายในร่างกาย
• หน้าที่สำคัญของเมไธโอนีน คือ เป็นแหล่งที่ให้ซัลเฟอร์ (Sulfur) หรือ ที่เราเรียกว่ากำมะถัน และสารประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นแกร่างกาย โดยร่างกายจะใช้กำมะถันสำหรับการเผาผลาญ และการเจริญเติบโตตามปกติ หากร่างกายขาด หรือ มีปริมาณของกำมะถันที่ไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และไม่สามารถนำสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับมาจากแหล่งต่างๆ มาใช้ให้เกิด
แหล่งที่พบและแหล่งที่มา ของแอลคาร์นิทินในธรรมชาติ
อาหาร แหล่งของแอลคาร์นิทีน ที่มีมากพบในเนื้อแดง และผลิตภัณฑ์จากนม คาร์นิทีนจากแหล่งธรรมชาติอื่นๆ ประกอบด้วยถั่วและเมล็ดพืช (เช่น ฟักทอง ทานตะวัน งาดำ) พืชตระกูลถั่ว หรือ เมล็ดถั่ว (ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วแขก, ถั่วลิสง,ถั่วขาว) ผัก (อาร์ติโชค, หน่อไม้ฝรั่ง, หัวผักกาดเขียว, บร็อคโคลี่, กะหล่ำดาว, ผักคอลลาร์ด, กระเทียม, ผักกาดเขียวปลี, กระเจี๊ยบมอญ, พาสลี่ย์, คะน้า) ผลไม้ (แอปปริคอท, กล้วย) ธัญพืช (บัควีท (buckwheat), ข้าวโพด, ลูกเดือย, ข้าวโอ๊ต, รำข้าว, ข้าวไรย์, ข้าวสาลี, รำข้าวสาลี, จมูกข้าวสาลี) และอื่นๆ ที่เป็นอาหารน้ำส้มสุขภาพ (ละอองเกสรดอกไม้, ยีสต์ที่ใช้หมักสุรา, carob)
อาหาร ปริมาณอาหาร ปริมาณคาร์นิทีน
อาหาร | ปริมาณอาหาร | ปริมาณคาร์นิทีน |
สเต็กเนื้อ เนื้อบด เนื้อหมู เบคอน Tempeh (ถั่วหมักจากเชื้อรา) ปลาค็อด อกไก่ เนยแข็งอเมริกา ไอศครีม นมที่ไม่ได้เอาครีมออก อะโวคาโด Cottage cheese ขนมปังโฮลวีต หน่อไม้ฝรั่ง ขนมปังขาว มะกะโรนี เนยถั่ว ข้าวสุก ไข่ น้ำส้ม |
100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม 100 กรัม |
95 มิลลิกรัม 94 มิลลิกรัม 27.7 มิลลิกรัม 23.3 มิลลิกรัม 19.5มิลลิกรัม 5.6 มิลลิกรัม 3.9 มิลลิกรัม 3.7 มิลลิกรัม 3.7 มิลลิกรัม 3.3 มิลลิกรัม 2 มิลลิกรัม 1.1 มิลลิกรัม 0.36 มิลลิกรัม 0.195 มิลลิกรัม 0.147 มิลลิกรัม 0.126 มิลลิกรัม 0.083 มิลลิกรัม 0.0449 มิลลิกรัม 0.0121 มิลลิกรัม 0.0019 มิลลิกรัม |
โดยทั่วไป 20 ถึง 200 มิลลิกรัม คือ ปริมาณของแอลคาร์นิทีน ที่ควรได้รับต่อวัน ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เคร่งครัดในการทานมังสวิรัติจะรับประทานเพียง 1 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่มีประโยชน์เกิดขึ้นถ้ารับประทานคาร์นิทีนมากกว่า 2 กรัม ภายในครั้งเดียว เพราะว่าร่างกายสามารถดูดซึมได้สูงสุดได้เพียง 2 กรัม
แหล่งที่มาอื่นๆของแอลคาร์นิทีน
โดยทั่วไปร่างกายได้รับแอลคาร์นิทีนจากอาหารแระมาณร้อยละ 75 ที่เหลือจึงได้จากการสังเคราะห์ภายในร่างกาย แหล่งคาร์นิทีนอื่น ที่พบได้อยู่ในวิตามิน, เครื่องดื่มชูกำลัง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลากหลาย
กลไกการทำงานในร่างกายมนุษย์ เมื่อรับประทานแอลคาร์นิทีน แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง
เมื่อรับประทานคาร์นิทีน ซึ่งปกติในปริมาณ 24-81 มิลลกรัมต่อวัน ก็เพียงพอต่อการทำงานของผู้ใหญ่ คาร์นิทีนจะดูดซึมจากลำไส้เล็กเข้าสู่ร่างกาย และการดูดกลับที่ไต เกิดขึ้นโดยอาศัย Organic cation transporters (OCTNs) ซึ่ง transporter หลักที่เกี่ยวข้อง คือ OCTN2 เมื่อเข้าสู่ร่างกายคาร์นิทีน จะกระจาย (distribution) ไปอยู่ในเนื้อเยื่อมากกว่าในเลือด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อหัวใจ
นอกจากนี้ปริมาณแอลคาร์นิทีนในร่างกาย แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุ และเพศ โดยเพศชายจะมีปริมาณคาร์นิทีนมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายมีผลต่อระดับคาร์นิทีนในเลือด อีกทั้งยังพบว่ามีฮอร์โมนอีกหลายชนิดที่มีผลเพิ่มปริมาณคาร์นิทีนในเนื้อเยื่อ เช่น thyroxin, pituitary hormones, Insulin และ glucagon
คาร์นิทีนทำงานอะไรในร่างกาย
เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต (CHO) และไขมัน ซึ่งมีการใช้คาร์นิทีนในการขนส่งกรดไขมัน (Long-chain fatty acid, LCFA) เข้าสู่ไมโตคอนเดรีย (คัดลอกรูปจาก J Physiol 589.7(2011)pp.1510.)
หน้าที่หลักของคาร์นิทีน คือ ขนส่งกรดไขมัน ผ่าน mitochondrial membrane จากการทำงานของเอนไซม์ คือ carnithine palmitoyltransferase I (CPT-I) และ CPT-II เมื่อกรดไขมันเข้าสู่ภายใน ไมโตคอนเดรียแล้วจะเกิดการเผาผลาญไขมัน ได้พลังงานจากการที่ได้ acetyl CoA จาก TCA cycle
ในขณะที่ร่างกายออกกำลังกายมากๆ ร่างกายจะมีการผลิต acetyl CoA ในปริมาณสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน acetyl CoA จะยับยั้งการทำงานของ pyruvate dehydrogenase complex (PDC) ลดการผ่านของ PDC เข้าไมโตคอนเดรีย ทำให้การสลาย pyruvate เป็น lactate เพิ่มขึ้น ซึ่ง lactate เป็นสารที่ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการเมื่อยล้า อีกด้านหนึ่งเมื่อ acetyl CoA มีปริมาณสูงขึ้น แอลคานิทีน จะจับกับ acetyl CoA ทำให้เกิดสมดุลของ Acetyl-CoA (CoASH)/Coenzyme A (CoA) ratio ในไมโตคอนเดรีย ไม่ให้เกิดการยับยั้ง PDC มากเกินไป จะช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลง pyruvate เป็น lactate เกิดขึ้นได้น้อยลง
ประโยชน์และสรรพคุณแอลคาร์นิทีน
แอล-คาร์นาทีนเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเปลี่ยนไขมันที่สะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกายให้กลายเป็นพลังงาน แอล-คาร์นิทีนจึงมีฤทธิ์เป็นตัวเผาผลาญไขมัน (Fat Burner) โดยจะไปลดระดับของโคเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นไขมันอันตราย ที่จะไปอุดตันทางเดินของเลือดในเส้นเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นเลือดในสมอง และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตันดังนั้นแอล-คาร์นิทีน จึงสามารถ เพิ่มประสิทธิ ภาพในการทำงานของหัวใจ (Cardiac Performance) ได้เป็นอย่างดี และสามารถเพิ่มผลสําเร็จของการแข็งขันกีฬา (Athletic Performance) ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
การขาดแอลคาร์นิทีนอาจทําให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคโลหิตเป็นพิษ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคขาดสารอาหารโรคตับแข็ง และโรคระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ การเสริมอาหารทางโภชนา ด้วยแอล-คาร์นิทีน จะช่วยบรรเทาอาการในผู้ป่วย และสามารถนํามาบรรเทาอาการปวดของระบบประสาท นอกจากนี้ ยังเป็นภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขาดแอล์-คาร์นิทีน ส่วนทางด้านคลินิกได้นำ แอล-คาร์นิทีนมาใช้ ในผู้ป่วยที่มี ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคความจําเสื่อม โรคสมองจากตับ (ภาวะที่ผู้ป่วยเกิดมีอาการทางสมอง ได้แก่ สับสนซึม และโคมาซึ่งเป็นผลจากภาวะตับวาย) และ แอล-คาร์นิทีนได้รับการยอมรับ ว่าเป็นอาหารเสริมในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และมีหลักฐานเพิ่มว่าการเสริมด้วย แอล-คาร์นิทีนอาจเป็นประโยชน์
ในการรักษาโรคอ้วนอีกด้วย อีกทั้ง Joaquin A, Juan C, Rubio MA, Martin, Yolanda Campos.6 ได้ทําการศึกษากับผู้สูงอายุพบว่าแอล-คาร์นิทีนมี ความสามารถป้องกันอันตราย ที่เกิดจากอนุมูลอิสระภายในเซลล์ทั้งนี้ เนื่องจากแอล-คาร์นิทีนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกาย และไมโทคอนเดรียจาก อนุมูลอิสระนอกจากนี้ยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้สูงอายุมากขึ้นความสามารถในการสร้างแอล-คาร์นิทีนของร่างกายจะลดลง ประกอบกับผู้สูงอายุมักจะรับประทานเนื้อสัตว์น้อย ทําให้ได้รับแอล-คาร์นิทีนไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังมีอัตราการเผาผลาญไขมันในร่างกายช้า และสูญเสียโปรตีนในกล้ามเนื้อเป็น จำนวนมากทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลงในขณะที่ปริมาณไขมันสะสมมีมากขึ้น แอล-คาร์นิทีนจะ ทําหน้าที่ช่วยเผาผลาญไขมันดังกล่าว ให้กลายเป็นพลังงานแอล-คาร์นิทีน จึงเป็นสารอาหารที่สําคัญ สําหรับสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับ Bai YY, Sun L, Liu JH, Sun RT7 ที่ระบุประโยชน์ ของแอล-คาร์นิทีนกับโรคที่เกิดจากหัวใจ เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสําคัญของร่างกาย พลังงานที่หัวใจได้รับนั้น ได้มาจากกรดไขมันร้อยละ 70 หัวใจจึงเป็นอวัยวะที่มีปริมาณแอล-คาร์นิทีนสูงที่สุด เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสร้าง แอล-คาร์นิทีนได้ เองต้องรับจากกระแสเลือด แอล-คาร์นิทีนจึงเป็นสารอาหารสําคัญ ที่ช่วยสร้างพลังงานให้กับหัวใจ นอกจากนี้แอล-คาร์นิทีนไม่ได้จํากัดเฉพาะการช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดีทํางานเป็นปกติ และจะช่วยรักษาระดับไขมันโคเลสเตอรอลในรางกายให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี นั่นหมายความว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตันลดลงอีกทั้งสามารถให้ผลเช่นเดียวกันสําหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตันลดลงอีกทั้งสามารถให้ผลเช่นเดียวกันสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ไขมันในหัวใจ และหัวใจเต้นผิดปกติแต่อย่างไรก็ตามการรับประทานแอล-คาร์นิทีนเสริมนั้นไม่สามารถทดแทนการรับประทานยาได้
จาการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาพบว่า แอลคาร์นิทีนในร่างกายของมนุษย์ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจาการบริโภคอาหาร ซึ่งในการแข่งขันของนักกีฬาต้องใช้ความอดทนในการเล่นที่รุนแรง ถ้าร่างกายขาดแอล-คาร์นิทีนกล้ามเนื้อของนักกีฬา จะได้รับการบาดเจ็บจึงจำเป็นต้องมีการเสริมเพื่อเพิ่มแอล-คาร์นิทีนให้กับร่างกาย สอดคล้องกับ Natali A พบว่าแอล-คาร์นิทีนมีคุณสมบัติในการบำรุงร่างกายนอกจากนี้ Orer GE ได้ทำการศึกษาผลของแอล-คาร์นิทีนในนักกีฬาฟุตบอลมืออาชีพ พบว่านักกีฬาที่เสริมด้วยแอล-คาร์นิทีนในปริมาณ 3 กรัม และ 4 กรัม มีความเร็วในการวิ่งดีกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้ยาหลอก และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงอีกทั้ง Trappe SW, Costill DL, Goopaster B, Vukovich MD, Fink WJ; Huang A, Owen K.ทำการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแอล-คาร์นิทีน พบว่า ช่วยเสริมสร้างความสามารถของนักกีฬา
ผลการต้านอนุมูลอิสระ คาร์นิทีนก่อให้เกิดสารต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่สำคัญ โดยป้องกันต่อต้าน lipid peroxidation ของเยื่อหุ้มเซลล์ phospholipid และต่อต้านภาวะเครียดออกซิเดชันที่จะเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อหัวใจ และระดับเซลล์เยื่อบุ คาร์นิทีนจะใช้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ การทดลองทางการแพทย์หลายตัวแสดงให้เห็นว่า L-carnitine และ propionyl-L-carnitine สามารถใช้รักษาทั่วไปในอาการปวดหัวใจ เพื่อลดความต้องการยา และบำบัดให้ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบออกกำลังกายแล้วไม่มีอาการเจ็บหน้าอก
ผลกระทบของภาวะไม่เจริญพันธุ์ของเพศชาย การใช้คาร์นิทีนจะแสดงบางอาการในการทดลองควบคุมในกรณีศึกษาภาวะไม่เจริญพันธุ์ในเพศชาย โดยการปรับปรุงคุณภาพของอสุจิ การเสริม L-Carnitine แสดงให้เห็นถึงผลที่มีประโยชน์ในการรักษาโรค varicocele (หลอดเลือดอัณฑะขอด)
เพื่อบรรเทาความเมื่อยล้าจากการทำเคมีบำบัดโรคมะเร็งโดยใช้ ifosfamide การใช้ยา ifosfamide ที่สูงในการทำเคมีบำบัด จะเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียคาร์นิทีนทางปัสสาวะ งานศึกษาชิ้นหนึ่งกล่าวว่า มันมีความจำเป็นในการสร้างพลังงานโดยไมโทคอนเดรีย L-carnitine มีบทบาทในการลดความเมื่อยล้าจากการใช้ยา ifosfamide ด้วย
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชและเภสัชวิทยาของแอลคาร์นิทีน
แอล์-คาร์นิทีน มีผลต่อการลดน้ำหนักโดยจาการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 13–17 ปี ซึ่งได้รับ แอล-คาร์นิทีน จากอาหาร และออกกำลังกายเหมือนกัน แต่กลุ่มทดลองจะได้รับแอล-คาร์นิทีน 2 กรัม ต่อวัน เป็นประจำทุกวัน ซึ่งพบว่ากลุ่มทดลองมีน้ำหนักลดลง 5 กิโลกรัม และกลุ่มควบคุมลดลง 0.88 กิโลกรัม ทั้งนี้เนื่องมาจากประโยชน์ของแอล-คาร์นิทีน ที่มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญไขมัน และมีสารที่สำคัญในการลดน้ำหนักเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องกับ Arsenian MA. ทำการศึกษาผู้ที่มีภาวะไขมันผิดปกติในร่างกาย และโรคเบาหวานหลังจาก 4 เดือน พบว่าระดับคอเลสเตอรอล และไตกรีเซอร์ไรด์ลดลงตามลำดับ 20 เปอร์เซ็นต์ และ 28 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) เพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์
การศึกษาถึงผลการรับประทานแอลคาร์นิทีน
ต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และเพื่อศึกษาผลการรับประทานแอล-คาร์นิทีนเทียบกับการรับประทานแอล-คาร์นิทีนร่วมกับไนอาซิน ต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติโดยศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 43 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานยาหลอก กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานแอล-คาร์นิทีน 3 กรัม/วัน กลุ่มที่ 3 ให้รับประทานแอล-คาร์นิทีน 3 กรัม ร่วมกับ ไนอาซิน 250 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทำการประเมินระดับ ไขมันในเลือดก่อน และหลังการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลการศึกษาพบว่า การรับประทานแอลคานิทีนเพียงอย่างเดียว พบว่า ระดับของคลอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ และคลอเลสเตอรอลดีไม่เปลี่ยนแปลง แต่ระดับของคลอเลสเตอรอลไม่ดีสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า 110.40±14.56 และ 128±16.50 (p =0.001) เนื่องมาจากงานวิจัยนี้ไม่ได้ให้ผู้ร่วมวิจัยควบคุมอาหาร ส่วนการรับประทานแอล-คาร์นิทีน ร่วมกับไนอาซิน พบว่าระดับคลอเลสเตอรอลรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า 225.80±25.46 และ 200.33±42.80 (p=0.015) สรุปได้ว่า การรับประทานแอล-คาร์นิทีนไม่ช่วยลดระดับไขมันในเลือด แต่ยังเพิ่มระดับคลอเลสเตอรอลไม่ดีในเลือด แต่การรับประทานแอล-คาร์นิทีนร่วมกับไนอาซิน สามารถลดระดับ คลอเลสเตอรอลรวมในเลือดได
ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้แอลคาร์นิทีน
หากรับประทานเกินที่กำหนด อาจเกิดอาการบวม เป็นตะคริว หรือ ท้องเสียได้ เนื่องจากในอาหารที่เรารับประทานนั้น มีส่วนผสมของแอล-คาร์นิทีน ผสมปะปนอยู่โดยธรรมชาติ ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัว และเกิดอาการผื่นแดง สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือ ข้าวสาลี ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริมแอล-คาร์นิทีน เป็นอันขาด รวมถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ และไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ก็ควรหลีกเลี่ยง คนที่รับประทานยากันชัก จะสูญเสียคาร์นิทีนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับประทานคาร์นิทีน ในรูปของ แอลคาร์นิทีนเสริม ไต ผลิตกรดอะมิโนคาร์นิทีน แต่หากไตเสื่อมจะขาดคาร์นิทีน จึงควรได้รับ คาร์นิทีนเสริม
เอกสารอ้างอิง แอลล์คาร์นีทีน
1. นศภ.ธนภรณ์ รักความสุข. บทความแอลคาร์นิทีน (L-carnitine) กับการออกกำลังกาย.ภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.pharm.su.th2biop/htdocs/healtips/111--l-carnitine
2. คาร์นิทีน.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org.wik:/
3. ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์.คู่มืออาหารเสริมฉบับสมบูรณ์.สำรักพิมพ์เอ็มไอเอส. 2556 หน้า 228-237
4. Steiber A, Kerner J, Hoppel C (2004). "Carnitine: a nutritional, biosynthetic, and functional perspective". Mol. Aspects Med. 25 (5–6): 455–73. doi:10.1016/j.mam.2004.06.006. PMID 15363636.
5. A. J. Liedtke, S. H. Nellis, L. F. Whitesell and C. Q. Mahar (1 November 1982). "Metabolic and mechanical effects using L- and D-carnitine in working swine hearts". Heart and Circulatory Physiology 243 (5): H691–H697. PMID 7137362
6. ดร.เอิร์ล มินเดล.วิตามินไบเบิล เหลียวมองไลซีน.แปลโดย พญ.ธิดากานต์ ชุจิพัฒนกุล.สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ. 2010. หน้า 144
7. ดร.เอิร์ล มินเดล.วิตามินไบเบิล กรดอมิโนมหัศจรรย์ตัวอื่นๆ. แปลโดย พญ.ธิดากานต์ ชุจิพัฒนกุล.สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ. 2010. หน้า 150-153
8. Linus Pauling Institute at Oregon State University
9. Joaquin A, Juan C, Rubio MA, Martin, YolandaCampos. Biological roles of L-carnitine in perinatalmetabolism. Early Human Development 53(Supplemental)1998, 43-50
10. Horleys. L-Carnitine.A division of NaturalacNutrition.Level 2. Available from: http:// horleys. Com, 2003.
11. Natali A. Effects of acute hypercarnetinemia duringincreased fatty substrate oxidation in man. Metabolism1993, 42(5): 594-600.
12. Orer GE. The effects of acute L-carnitine supplementationon endurance performance of athletes. JournalOf Strength And Conditioning Research 2014, 28(2):514-519.
13. Trappe SW, Costill DL, Goopaster B, Vukovich MD,Fink WJ. The effects of L-carnitine supplementationon performance during interval swimming.Interna-tional Journal of sport Medicine 1994,15(4): 181-5
14. สุพัฒน์.ภานุวาทกุล,ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์.บทความวิชาการ.แอล-คาร์นิทีน กับการออกกำลังกาย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. หน้า 105-111
15. Claudio Cavazza, Composition for the Prevention and Treatment of Osteoporosis due to Menopause Syndrome (2002), US Patent 6,335,038, column 3.
16. Matsomoto YI, Amano S. Effects of L-carnitinesupplemenation of renal anemia in poor responders to erythropoietin. blood purifi cation 2001, 19(1): 24-32.
17. Joaquin A, Juan C, Rubio MA, Martin, Yolanda Campos. 1998. Biological roles of L-carnitine in perinatal metabolism. Early Human Development 53 (Supplemental) 1992, 43-50.
18. Arsenian MA. Carnitine and its derivatives in cardiovascular disease.Progress in Cardiovascular Diseases 1997, 40(3): 265-86.
19. พญ.สาวิตรี สอนเย็น, ศ.ดร.วิจิตร บุตรยะโหตระ. บทคัดย่อ. ผลการรับประทานแอลคาร์นิทีน เทียบกับการรับประทานแอลคาร์นิทีนร่วมกับไนอาซีนต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะในเลือดผิดปกติ. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
20. Eizadi M, Bakhshi S, Abrifam P, Khorshidi D. Carnitine, metabolism, supplementation and exercise. Indian J Fundamental Applied Life Sciences. [Review article]. 2011;1:376-85.