สารสกัดจากเปลือกสน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

สารสกัดจากเปลือกสน งานวิจัยและสรรพคุณ 26 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ต้นสนเมอร์ไทม์
ชื่ออื่นๆ สนโคแอสทอล, สนเมอร์ไทม์ฝรั่งเศส, Pin des Landes 
ชื่อสามัญ Pinus pinuster Solander
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pinus Maritama
ชื่อวงศ์ Pinaceae
 

ถิ่นกำเนิดเปลือกสน

P.pinaster, ต้นกำเนิดมาจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นลุ่มน้ำภาคเหนือ เช่น ตูนิเซีย, แอลจีเรีย และ โมร็อกโก ภายหลังยุคล่าอาณานิคม จึงแพร่กระจายในยุโรป. คาบสมุทรเคป ในช่วงปีปลายศตวรรษที่ 18 และในยุคเริ่มต้น ศตวรรษที่ 19 (1825–1850) P.pinaster ปลูกในเชิงพาณิชย์เป็นทรัพยากรป่าไม้ ในส่วนของยุโรปขายมากใน โปรตุเกส และภาคเหนือของสเปน ไปยังตอนใต้ และตะวันตกของฝรั่งเศส, อิตาลี,โครเอเชีย
           ในปัจจุบันสารสกัดจากเปลือกสน เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการความงาม และสมุนไพร เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีต่อการบำรุงผิวพรรณ และยังเป็นยาพื้นบ้านได้ แต่ในความเป็นจริงต้นสนมีอยู่หลายสายพันธุ์ เพราะฉะนั้นเราจึงควรรู้จักต้นสนสายพันธุ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารสกัดเปลือกสน ที่มีคุณสมบัติที่ดี และปลอดภัย 100 %

ประโยชน์และสรรพคุณสารสกัดเปลือกสน

  1. ช่วยให้สารต้านอนุมูลอิสระ
  2. ช่วยให้วิตามินซี ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. เป็นวิตามินบำรุงผิว
  4. ช่วยลดเลือนริ้วรอยลึกให้ตื้น และเรียนเนียนขึ้น
  5. ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ผิว
  6. ช่วยเพิ่มคอลลาเจน และอิลาสตินในผิว
  7. ปรับสภาพผิวที่หมองคล้ำ ฝ้า กระ สีผิวไม่สม่ำเสมอจากการทำลายของแสง UV 
  8. ลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน ประเภท 2
  9. ช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
  10. ช่วยลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  11. ช้วยลดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
  12. รักษาเส้นเลือดขอด
  13. ช่วยลดความเสี่ยงของหลอดเลือดดำอุดตัน
  14. ป้องการเกิดลิ่มเลือด
  15. ป้องกันโรคหัวใจ
  16. บรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้, หอบหืด, หูอื้อ
  17. ลดอาการปวดในระหว่างมีประจำเดือน
  18. ลดไขมันคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL)
  19. เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
  20. ลดอาการวัยทอง
  21. บำรุงสายตา ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม และลดความเสี่ยงการเกิดโรคต้อกระจก
  22. บรรเทาอาการโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD ( Attention Deficit Hyperactivity Disorder )
  23. บำรุงสมอง เพิ่มความจำ และกิจกรรมการเรียนรู้ ป้องกัน
  24. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer's disease)
  25. ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบในระดับเซลล์
  26. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง


รูปแบบขนาดวิธีใช้สารสกัดเปลือกสน

หากต้องการรับประทานสารสกัดเปลือกสน เพื่อให้ร่างกายได้ประโยชน์จากการเป็น แอนตี้ออกซิเดนท์ เฉยๆ การรับประทานวันละเพียง 20-25 มิลลิกรัม โอพีซีต่อวันก็เพียงพอแล้ว และหากต้องการรับประทานเพื่อฤทธิ์ในการป้องกัน และเป็นแอนติออกซิเดนท์ในตัว ขนาดรับประทานวันละ 50 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นปริมาณที่เหมาะสม สำหรับการรับประทานเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงการรักษาโรคควรเพิ่มขนาดรับประทานเป็นวันละ 150-400 มิลลิกรัม


ลักษณะทั่วไปต้นเปลือก

Pinus pinaster เป็นขนาดกลาง ต้นไม้ ถึง 20-35 เมตรสูง และมีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นสูงถึง 1.2 เมตร ล้ำ 1.8 เมตร เปลือกเป็นสีส้มแดงหนา และมีรอยแตกลึก ที่ฐานของลำต้นค่อนข้างหนา ไปจนถึงยอดของลำต้น ใบ ('เข็ม') อยู่เป็นคู่อ้วนมาก (2 มิลลิเมตรกว้าง) ยาวถึง 25 ซม., ที่จะเห็นได้ชัดสีเขียวเหลือง สนมาริไทม์มีไปที่ยาวที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดของทุกสายพันธุ์สนยุโรป ดอกเป็นรูปทรงกรวยยาว 10-20 เซนติเมตร และกว้างที่ฐาน 4–6 ซม. สีเขียวในตอนแรกหากสุกจะมันวาวสีน้ำตาลแดงประมาณ 24 เดือน หลังจากที่ถูกความร้อนด้วย ไฟป่า จะแตก และเมจะตกเมล็ดมีความยาว 8-10 มิลลิเมตร สนมาริไทม์จะต้องมี

สารสกัดจากเปลือกสน

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาคงที่ตลอดทั้งช่วงชีวิต

การขยายพันธุ์ โดยปกติ ต้นสนเมอริไทม์ จะขึ้นในป่า ใรระดับความสูงมากกว่าระดับน้ำทะเล 600–2000 เมตร โดยธรรมชาติ ในป่านั้น จะขยายพันธุ์ เมื่อโดน (ดอกหุ้มเมล็ด) แต่จัด หรือ โดนความร้อนเมล็ดจะร่วงลงพื้น และงอกเป็นต้นขึ้นมาเมื่ออุณหภูมิเหมาะสม โดยอีกส่วนหนึ่งจะถูกลมพัดไปยังพื้นที่ต่างๆ ทำให้สามารถพบได้ทั่วไปในป่าแถบที่ต้นพ่อพันธุ์อาศัยอยู่
           องค์ประกอบทางเคมี สารสำคัญที่สารสกัดเปลือกสน มาริไทม์ ประกอบด้วยกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (bioflavonoids) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เข้มข้น พบว่ามีสารสำคัญโปรแอนโธไซยานิดิน (proanthocyanidins) คล้ายกับที่พบใน สารสกัดเมล็ดองุ่น (grape seed extract) ซึ่งออกฤทธิ์ในการทำลายอนุมูลออกซิเจนที่ไวต่อปฏิกิริยา (Reactive Oxygen Species) ซึ่ง OPC ในเปลือกของสนมาริไทม์ฝรั่งเศส หรือ พิกโนจีนอล (Pycnogenol) ยังให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ อีกมากมาย

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกสน

โครงสร้างเปลือกสน

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากเปลือกสน

“โปรแอนโธไซยานิดิน” (Oligomeric Proanthocyanidin Complexes - OPCs) ซึ่งมีคุณสมบัติ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง (Super Antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามิน C ถึง 20 เท่า และสูงกว่าวิตามิน E ถึง50 เท่า นอกจากนี้ยังช่วยเสริมฤทธิ์ของวิตามิน C และ E ซึ่งมีหน้าที่ช่วยป้องกัน และลดการทำลายเซลล์จากสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายตลอดเวลา ข้อดีของสาร OPCs ก็ คือ ทนความร้อน และละลายน้ำได้ดีมาก มีฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้นาน และยังไม่ก่อให้เกิด สารสกัดจากเปลือกสน เป็นที่ยอมรับด้านประสิทธิภาพอย่างสูงทั่วโลก เพราะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ และผ่านการทดลองทางคลินิกมากมาย ประกอบกับได้รับการยืนยันความปลอดภัยในการบริโภค ด้วยการทดลองที่เกี่ยวกับผลของการออกฤทธิ์ และข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งผ่านการรับรองคุณภาพ จากคณะกรรมการอาหาร และยาประเทศสหรัฐอเมริกา ว่ามีความปลอดภัยในการใช้อย่างต่อเนื่อง แม้จะใช้เป็นระยะเวลานานโดยไม่มีผลข้างเคียง 

           งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2545 รายงานว่าการรับประทานพิคโนจีนอล 75 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน ทำให้พื้นที่ และความเข้มข้นของฝ้าลดลง โดยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายแต่อย่างใด งานวิจัยเจาะลึกพบว่า พิคโนจีนอล ช่วยลดปัญหาสีผิวได้โดยเป็นสารต้านอนุมูลิอิสระประสิทธิภาพสูง จึงจับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเอนไซน์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้เองเพิ่มอีกถึงสองเท่า และช่วยให้เซลล์สามารถนำวิตามินซี และวิตามินอีกลับมาใช้ได้อีก 

           การวิจัยในปี พ.ศ.2547 รายงานว่า พิคโนจีนอล ช่วยปกป้องไม่ให้คอลลาเจน และอิลาตินในชั้นผิวถูกทำลาย ยังช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจนใหม่ในผิวอีกด้วย การทดลองในผู้หญิง 62 คน พบว่า ความยึดหยุ่นในชั้นผิวเพิ่มขึ้นถึง 9% ในเวลาเพียง 6 สัปดาห์ Translate
           งานวิจัยที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นการศึกษาที่ทำในประเทศจีน โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Zhigang Ni และคณะวิจัย พวกเขาค้นพบว่า คุณสมบัติในการเป็นแอนติอกกซิเดนท์ในเปลือกสนสกัดนี้ จะช่วยลดปฎิกริยา และการเพิ่มเม็ดสีที่ผิวหนังเมื่อถูกแสงแดดทำให้ผิวขาวขึ้น สารโอพีซีในเปลือกสนสกัดสามารถลดขนาด และความเข้มของฝ้าโดยไม่มีผลข้างเคียงกับผิวบริเวณอื่นเลย


การศึกษาทางพิษวิทยา

ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานความเป็นพิษของสารสกัดเปลือกสน เมอริไทม์

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ปฎิกริยากับสารอื่น : เช่นเดียวกันกับสารโอพีซีจากแหล่งอื่นๆ สารสกัดจากเปลือกสน ไม่มีปฎิกริยาข้างเคียงกับยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตัวอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง สารสกัดจากเปลือกสน

1. สารสกัดจากเปลือกสน และเปลือกสนสกัด. คอลัมน์ปัญหาสุขภาพ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.alterneinfo.com/Aiternateth/deth.htm
2. Moran, V.C. (2000). Biological Control of Alien, Invasive Pine Trees (Pinus species) in South Africa [X International Symposium on Biological Control of Weeds]. pp. 941–953.
3. Rushforth, Keith (1986) [1980]. Bäume [Pocket Guide to Trees] (in German) (2nd ed.). Bern: Hallwag AG. p. 63. ISBN 3-444-70130-6..
4. "Pinus pinaster Aiton". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Retrieved 4 November 2013.
5. Schoonees, A; Visser, J; Musekiwa, A; Volmink, J (2012). "Pycnogenol (extract of French maritime pine bark) for the treatment of chronic disorders". Cochrane Database of Systematic Reviews (7). doi:10.1002/14651858.CD008294.pub4. PMID 22513958.
6. ปินัส pinaster. วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Pinus_Pinaster
7. ภก.พงศกรพัฒน์ อรุโณทยานันท์. ประสิทธิภาพการลดปัญหาสีผิว. ประสิทธิภาพการคงความอ่อนเยาว์ให้ผิว. BIZ MEET AVIANCE EXPERRT.
8. นพ.ปรวิตร พิศาลบุตร.เรียนรู้เรื่องฝ้า ตอนที่ 3 ยา และเครื่องสำอางรักษาฝ้าชนิดใหม่ๆ. คอลัมน์ผิวสวยหน้าใส .นิตยสารหมอชาวบ้าน. เล่มที่ 366. ตุลาคม 2552
9. ประโยชน์ของสารสกัดจากเปลือกสน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://ctpcollagen2you.worfpress.com/2013/03/02/