เก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่) ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

เก๋ากี้ (โกจิเบอร์รี่) งานวิจัยและสรรพคุณ 36 ข้อ

ชื่อสมุนไพร เก๋ากี้
ชื่ออื่นๆ โกจิเบอร์รี่, Goji Berry, Wolfberry, ฮ่วยกี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lycium barbarum
วงศ์ SOLANACEAE เก่ากี้


ถิ่นกำเนิดเก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

เก๋ากี้ที่มานำสกัดเป็นตัวยานั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2000 ปี และเป็นพืชโบราณที่มีอายุมากว่าที่จดบันทึกไว้ราว 2,800 ปี ก่อนพุทธกาล เนื่องจากเป็นยาที่มีสรรพคุณนานัปการ ภาษิตจีนบทหนึ่งกล่าวถึงเก๋ากี้ไว้ว่า “เก๋ากี้โลกอยู่ที่เมืองจีน เก๋ากี้จีนต้องที่หนิงเซี่ย” อธิบายความให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยเป็นแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตเก๋ากี้ที่สำคัญของจีนและของโลก โดยเฉพาะตำบลจงหนิงที่เมื่อถึงฤดูเก็บเม็ดเก๋ากี้แล้ว จะเห็นสวนเก๋ากี้ที่เต็มไปด้วยต้นเก๋ากี้สูงท่วมหัวเรียงรายเป็นทิวแถว ขนาดของเก๋ากี้ที่จงหนิงใหญ่และมีความสดมาก ในปี ค.ศ.1995 ทางรัฐบาลประกาศให้ตำบลจงหนิงเป็น “บ้านเกิดเก๋ากี้จีน” ดังนั้นเก๋ากี้ที่ผลิตจากพื้นที่แถบนี้ล้วนเป็นเก๋ากี้ที่ได้รับการการันตีเรื่องคุณภาพ ในบริเวณอื่นๆ ของประเทศก็มีการปลูกเช่นกันอย่างมณฑลเหอเป่ย์ มณฑลซานตง มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง ฯลฯ


ประโยชน์และสรรพคุณเก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

  1. ช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานดีขึ้น
  2. แก้อาการอ่อนเพลีย
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  4. ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
  5. ช่วยสร้างเม็ดเลือดที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น
  6. ช่วยระบบเจริญพันธุ์
  7. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  8. ช่วยลดอาการคลื่นไส้ของหญิงมีครรภ์
  9. ช่วยลดอาการอักเสบของโรคไขข้ออักเสบ
  10. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และกระดูก
  11. ช่วยให้เหงือกแข็งแรง
  12. ช่วยปรับปรุงระบบการย่อย
  13. ช่วยลดความเครียด
  14. ช่วยลดอาการปวดศีรษะ
  15. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  16. ช่วยในการนอนหลับให้นอนได้ยาวนานขึ้น
  17. ช่วยในเรื่องความจำ ทำให้รู้สึกสดชื่น
  18. ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ปรับปรุงคุณภาพของการนอน
  19. ช่วยให้การออกกำลังกายได้นานขึ้น
  20. ช่วยขจัดความเมื่อยล้าและความเฉื่อยชา
  21. ช่วยบำรุงตับ
  22. ช่วยบำรุงไต
  23. ช่วยบำรุงสายตา ของเลนส์ตา และจอภาพเรตินา 
  24. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  25. ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ 
  26. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  27. ช่วยดูแลเรื่องผิวพรรณ
  28. ช่วยชะลอความชรา
  29. ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง 
  30. ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
  31. ช่วยต้านเบาหวาน
  32. ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  33. ช่วยลดความดันโลหิต 
  34. ช่วยส่งเสริมการทำงานของตับให้เป็นปกติ
  35. เสริมความจำและคลายเครียดให้สดชื่นแจ่มใส
  36. ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone) ในเลือด

         ผลโกจิเบอร์รีให้คุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดในโลก โดยมีกรดอะมิโน 19 ชนิด มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการรวม 21 ชนิด ได้แก่ สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม และเจอร์มาเนียม (ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง) มีวิตามินซีสูงกว่าส้ม 500 เท่า มีวิตามินบี 1 บี 2 บี 6 และวิตามินอี ช่วยปรับความดันโลหิตให้เป็นปกติ และช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ที่ถูกทำลายจากสารเคมีหรือรังสีให้กลับสู่ภาวะป­กติได้เร็วขึ้น


รูปแบบขนาดวิธีใช้เก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

สำหรับโรคที่พบเห็นบ่อยอย่างความดันโลหิตสูง สามารถต้มเก๋ากี้ 15 กรัมกับน้ำ ดื่มแทนน้ำชา หรือผู้ที่เป็นโรคสายตาฝ้าฟางในตอนกลางคืน ความสามารถในการมองเสื่อม สามารถนำเก๋ากี้ 6 กรัม ไปต้มกับดอกเก๊กฮวยขาวในปริมาณเท่ากัน ดื่มแทนน้ำชา จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี หรือสามารถกินเก๋ากี้สด 20 - 30 เม็ดจะช่วยบรรเทาอาการสายตาฝ้าฟางและชะลอความแก่ ทั้งนี้จะต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาระยะหนึ่ง จึงเกิดประสิทธิภาพ 
           เป็นที่ทราบกันดีว่า อาหารเสริมนานาชนิดไม่เหมาะที่จะรับประทานในปริมาณมากเกินความจำเป็น ในฐานะที่เป็นสมุนไพรบำรุงร่างกายชนิดหนึ่ง จึงมีประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ โดยผู้ใหญ่สามารถรับประทานวันละ 20 กรัม แต่หากต้องการนำไปใช้เป็นตัวยารักษาโรค สามารถเพิ่มปริมาณเป็น 30 กรัมต่อวัน
           การใช้ เป็นเครื่องปรุงอาหารได้ เช่น ตุ๋นกับเนื้อสัตว์เป็นอาหารบำรุง โดยทั่วไปใช้เก๋ากี้ประมาณครั้งละ 6-12 กรัม ต้มรับประทานน้ำ ดื่มแทนน้ำชา ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน ดองเหล้า หรือต้มจนเปื่อยกรองเอากากออก ทำเป็นขนมรับประทานเป็นของว่าง เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งในยุคนี้ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม ใหม่ๆ สามารถเปลี่ยนเก๋ากี้ ให้กลายมาเป็นน้ำผลไม้สกัดเข้มข้น รสชาติอร่อย กลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อยู่ในรูปน้ำผลไม้เสริมสร้างและบำรุงสุขภาพ ส่วนน้ำโกจิเบอร์รี่ก็ไม่ควรดื่มเกินวันละ 4 ออนซ์ (ประมาณ 118 มิลลิลิตร)
เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย เช่น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. มีหนามคมตามง่ามใบ
           • ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ออกเดี่ยวๆ หรือ เป็นกระจุก กระจุกละ 3 ใบ ถ้าออกเป็นกระจุกใบกลางใหญ่กว่า 2 ใบข้างซึ่งมีขนาดไล่เลี่ยกัน ใบรูปรี รูปช้อน รูปไข่ หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดมุมมน กว้าง 0.3-2 ซม. ยาว 0.8-6 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 2-4 เส้น ก้านใบสั้นและแผ่ออกเล็กน้อย
           • ดอก เดี่ยว ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 0.5-1.8 ซม. กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูประฆัง ยาว 2-8 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ยาว 1-1.5 ซม. ปลายหลอดแยกเป็น 5 กลีบ สีม่วง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ยาวประมาณ 8 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่ที่ครึ่งบนของหลอดกลีบดอก ส่วนล่างของก้านชูอับเรณูมีขนยาวอ่อนนุ่ม ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.2 ซม. รังไข่รูปไข่
           • ผล สุกสีแดงสดเนื้อนุ่ม รูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-2 ซม. สุกสีแดง
           • เมล็ด เล็ก มีจำนวนมาก สีขาว รูปไต เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.

การขยายพันธุ์เก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

โดยในปัจจุบันมีสายพันธุ์ต่างๆ มากถึง 41 สายพันธุ์สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในแปลงได้ โดยอกาสติดเป็นต้นมีโอกาสสูงเพราะเก๋ากี้สามารถอยู่ได้ในสภาพอากาศที่เลวร้ายได้
           องค์ประกอบทางเคมี โกจิเบอร์รี่เป็นพืชที่มีใยอาหารสูงถึงร้อยละ 20 ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซิลีเนียม เป็นต้น นอกจากนี้โกจิเบอร์รี่ยังมีสารสำคัญจำพวกซีแซนทีน (zeaxanthin) และลูทีน (lutein) สูงมากกว่าผักและผลไม้ทั่วไป ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารทั้งสองนี้ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร
        จากการค้นคว้าและวิจัยของ Dr. Earl Mindell พบว่าผลเก๋ากี้ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีค่า ORAC (ประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูลอิสระ) ในปริมาณมากถึง 25,300 (ในขณะที่ลูกพรุนซึ่งมีค่า ORAC เป็นลำดับที่ 2 มีค่า ORAC เพียง 5,700 เท่านั้น)

อาหารที่มีคุณสมบัติแอนตี้ออกซิแดนท์มากที่สุด

 
ผลไม้ ค่า ORAC
ลูกเก๋ากี้
ลูกพรุน
บลูเบอร์รี่
ผักกาดใบหยิก
แครนเบอร์รี่
สตรอว์เบอร์รี่
ผักปวยเล้ง
ทับทิม
ราสป์เบอร์รี่
บีท
ส้ม
25,300ก
5,770ก
2,400ก
1,770ก
1,750ก
1,540ก
1,260ก
1,245ก
1,220ก
840ก
750ก

*ค่า ORAC คือ Oxygen Radical Absorbance Capacity (แสดงความสามารถในการเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์) ที่ 3.5 ออนซ์
เก๋ากี้ มีเบต้าแคโรทีนสูง มีวิตามินอีมาก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีกรดกำมะถัน เอมีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินบี 2
           ตัวอย่างสารสำคัญที่พบในลูกเก๋ากี้แห้งน้ำหนัก 100 กรัม
• แคลเซียม 112 มก. หรือ 8-10% ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน (DRI)
• โปตัสเซียม 1,132 มก. หรือ 24% DRI
• เหล็ก 9 กรัม หรือ 100% DRI
• สังกะสี 2 มก. หรือ 18% DRI
• เซเรเนียม 50 ไมโครกรัม หรือ 91% DRI
• ไรโบฟลาวิน(วิตามินบี2) 1.3 มก. หรือ 100% DRI
• วิตามินซี มีปริมาณที่แตกต่างกันตามแหล่งที่มาของเก๋ากี้ ตั้งแต่ 29 มก. จนถึง 148 มก หรือ 32% DRI ถึง 148% DRI
           นอกจากนี้ยังพบพฤกษาเคมีที่มิได้มีการแนะนำปริมาณที่ควรรับประทาน DRI อีกจำนวนมาก เช่น
• เบต้าแคโรทีน 7 มก.
• ซีแซนทีน Zeaxanthin พบในปริมาณที่ต่างกันตามแหล่งที่มา ตั้งแต่ 2.4 มก ไปจนถึง 82.4 มก ซึ่งเป็นปริมาณ 77% ของแคโรทีนอยด์ที่พบในลูกเก๋ากี้
• Polysaccharides เป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกเก๋ากี้ พบในปริมาณที่มากถึง 31% of pulp weight

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของเก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

โครงสร้างเก๋ากี้
โครงสร้าง : สารซีแซนทิน ลูทีน

โกจิเบอร์รี่

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

           • เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้มีความสุข จากผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Alternative and Complementary Medicine เมื่อปี 2008 พบว่า อาสาสมัครที่ดื่มน้ำโกจิเบอร์รี่เป็นประจำ นาน 15 วัน มีแนวโน้มสุขภาพแข็งแรงขึ้น อธิบายให้ชัดคือรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีพลังงานมากกว่าที่เคยเป็น นอนหลับได้ดีขึ้น และมีความสุขมากขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อทดลองดื่มน้ำโกจิเบอร์รีต่อไปเรื่อย ๆ ก็ค้นพบว่า กลุ่มอาสาสมัครมีความเครียดน้อยลง ความอ่อนเพลียเหนื่อยล้าลดลง ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และมีแนวโน้มความสุขสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ได้ดื่มน้ำโกจิเบอร์รี่เป็นประจำ
           • ปกป้องผิวจากรังสียูวี ผลการทดลองกับหนูที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Photochemical and Photobiological Sciences ปี 2010 พบว่า หนูที่กินน้ำโกจิเบอร์รี่จะมีแนวโน้มต้านรังสียูวีและการอักเสบที่เกิดจากรังสียูวีแผดเผาได้มากกว่าหนูที่ไม่ได้กินน้ำโกจิเบอร์รี่ ทั้งนี้นักวิจัยได้อ้างผลการศึกษาไว้ว่า อาจเป็นเพราะสารต้านอนุมูลอิสระในผลโกจิเบอร์รี ที่มีส่วนช่วยปกป้องและรักษาผิวจากรังสียูวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           • บำรุงสายตา โกจิเบอร์รี่มีสารทัวรีน (Taurine) ซึ่งผลการศึกษาจาก Optometry and Vision Science เมื่อปี 2011 พบว่า สารทัวรีนมีคุณสมบัติบำรุงสายตาให้แจ่มใส โดยเฉพาะสายตาของผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสายตาอันสืบเนื่องมาจากโรคเบาหวาน
           • มีประโยชน์ต่อตับ และป้องกันอัลไซเมอร์ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ethnopharmacology พบว่า ผลโกจิเบอร์รี่ช่วยลดความเสียหายของตับในหนูทดลองที่ได้รับสารเคมีที่เป็นพิษลงได้ โดยนักวิจัยคาดว่าคุณสมบัติในการป้องกันนี้อาจเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระในโกจิเบอร์รี่นั่นเอง


การศึกษาทางพิษวิทยาของเก๋ากี้(โกจิเบอร์รี่)

ผลการวิจัยทางการแพทย์ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า เก๋ากี้เป็นสมุนไพรที่ปลอดสารพิษ สามารถใช้ประกอบอาหารหรือสกัดเป็นตัวยาและใช้เป็นเวลานานโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ ยิ่งไปกว่านั้นเก๋ากี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนในหนังสือแพทย์แผนจีนร่วมสมัย The Pharmacopoeia of the People’s Republic of China ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขจีนและเป็นยอมรับว่าเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายในวงกว้าง


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

โกจิเบอร์รี่ลดการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหลช้า ดังนั้น จึงควรหยุดรับประทานโกจิเบอร์รี่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 1 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด หรือทำฟัน
ทั้งนี้ก่อนรับประทานโกจิเบอร์รี่อาจต้องลองปรึกษาแพทย์ก่อนด้วย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต หรือผู้ที่กินยาบางอย่างเป็นประจำ เพราะโกจิเบอร์รี่อาจส่งผลกระทบโดยตรงกับตัวยาบางชนิดได้ เช่น ยาลดความดันโลหิตและยาขยายหลอดเลือด เป็นต้น
           แต่ใช่ว่าเก๋ากี้จะเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เพราะตัวสมุนไพรมีฤทธิ์ร้อน ดังนั้นผู้ที่ป่วยเป็นไข้ตัวร้อน ปรากฏมีอาการอักเสบ หรือท้องเดินจึงไม่เหมาะที่จะรับประทาน เพราะอาจทวีความรุนแรงให้กับโรคได้ เนื่องจากเป็นตัวยาที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวของเส้นประสาทจึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการทางเพศสูงเช่นกัน ในทางกลับกัน เก๋ากี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่ำ 

           ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเก๋ากี้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน
  • มีความดันเลือดสูง หรือต่ำ
  • อยู่ระหว่างให้นมบุตร หรือตั้งครรถ์
  • มีภูมิแพ้ต่อผลไม้
     
เอกสารอ้างอิง โกจิเบอร์รี่

1. เก๋ากี้.วิกิพีเดีย.สารานุกรมเสรี.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki
2. เกากีฉ่าย.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
3. ราชบัณฑิตยสถาน.2538.อนุกรมวิธานพืช อักษร ก.กรุงเทพมหานคร;เพื่อนพิมพ์
4. ผศ.ดร.ภญ.วีณา นุกูลการ, นส.ธันย์ชนก ปักษสุข,โกจิเบร์รี่ ผลไม้บำรุงสายตาและชะลอจอประสาทตาเสื่อม ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
5. Amagase H, Farnsworth NR. A review of botanical characteristics, phytochemistry, clinical relevance in efficacy and safety of Lycium barbarum fruit (Goji). Food Res Int 2011; 44: 1702- 17.
6. คู่มืออาหารเสริม ฉบับสมบูรณ์, ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์
7. Amagase H, et al. A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled, Clinical Study of the General Effects of a Standardized Lycium barbarum (Goji) Juice, GoChi. J Altern Complement Med, 2008 Apr. 30.
8. เก๋ากี้ สมุนไพรจีน รักษาได้ทุกโรคจริงหรือ.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.recovery.ac.th/article/goji.htm
9. เก๋ากี้ สมุนไพรจีน อานุภาพทรงพลัง.คอลัมน์เกร็ดความรู้สุขภาพ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
10. วารสาร Nutrition Update.ปีที่ 10 ฉบับที่ 57 กรกฎาคม – สิงหาคม 2551
11. เก๋ากี้เม็ดเล็กๆ แต่มากประโยชน์.คอลัมน์ก้าวทันโลก.ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
12. Amagase H, et al. A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled, Clinical Study of the General Effects of a Standardized Lycium barbarum (Goji) Juice, GoChi. J Altern Complement Med, 2008 Apr. 30.
13. Cheng CY, et al. Fasting plasma zeaxanthin response to Fructus barbarum L. (wolfberry; Kei Tze) in a food-based human supplementation trial. Br J Nutr 93(1):123-30, Jan 2005
14. Matthews. V. The New Plantsman. Volume 1, 1994. Royal Horticultural Society 1994 ISBN 1352-4186