กวาวเครือขาว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
กวาวเครือขาว งานวิจัยและสรรพคุณ 29 ข้อ
ชื่อสมุนไพร กวาวเครือขาว
ชื่ออื่นๆ/ชื่อประจำถิ่น กวาวเครือ, จานเครือ (อีสาน), ตานเครือ, ทองเครือ, จอมทอง, (ใต้), ตานจอมทอง (ชุมพร), โพ้ต้น ( กาญจนบุรี), โพะตะกู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pueraia candollei Graham ex Benth. Var mirifica, Pueraria Mirifica
ชื่อวงศ์ Leguminosae-Papilionoideae
ถิ่นกำเนิดกวาวเครือขาว
กวาวเครือขาวเป็นพืชที่ขึ้นบริเวณป่าเบญจพรรณ พบกระจากทั่วไปตั้งแต่ อินเดีย กลุ่มประเทศอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น และ ไทย สำหรับในประเทศไทย พบกระจากในป่าเบญจพรรณในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จะพบมากในภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีอินทรีย์สารสูงตามชายป่า ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5 ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 300 – 800 เมตร ในสภาพธรรมชาติมีการกระจาดพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยทั้งนี้พบว่าจะมีการออกดองช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมและติดฝักในเดือนเมษายน สามารถพบกวาวเครือขาวพันอยู่กับต้นไม้ใหญ่โดยเฉพาะต้นสักในจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ลำปาง เชียงใหม่ ในบริเวณที่เป็นป่าไผ่ในจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ พบว่ามีกวาวเครือขาวกระจากพันธุ์อยู่ได้ดีเช่นกัน กวาวเครือขาวอาจเป็น”อัญมณีแห่งพงไพร”
ประโยชน์และสรรพคุณกวาวเครือขาว
- บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง
- ช่วยขยายทรวงอกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
- แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย
- ช่วยทำให้ทรวงอกกลับมาเต่งตึง
- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงกำลัง
- เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุ
- แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- แก้อ่อนเพลีย
- แก้ผอมแห้ง
- แก้นอนไม่หลับ
- มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง
- ช่วยบำรุ่งเส้นผมให้ดกดำ
- ช่วยในการเพิ่มเส้นผม
- บำรุงความกำหนัด
- ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์และมดลูกมีเลือดมาคั่งมากขึ้น
- บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ
- แก้โรคตาฟาง
- แก้ตาต้อกระจก
- ทำให้ความจำดี
- ช่วยทำให้มีพลัง เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว
- ช่วยบำรุงโลหิต
- ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล
- ช่วยลดอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน
- ลดอาการร้อนวูบวาบ
- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยให้เรื่องของความจำและการเรียนรู้
- ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้งในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย
รูปแบบและและขนาดวิธีใช้กวาวเครือขาว
สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุขนาดการใช้ดังนี้
การใช้ประโยชน์กวาวเครือขาวเพื่อเป็นส่วนประกอบในตำรับบำรุงย่างกาย ให้รับประทานยาตำรับที่มีส่วนประกอบของผงกวาวเครือขาว ไม่เกิน 1–2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณวันละไม่เกิน 50–100 มิลลิกรัม อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ เจ็บเต้านม มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ตำรายาของหลวงอนุสารสุนทร
ระบุขนาดที่ใช้ของหัวกวาวเครือขาว โดยให้รับประทานกวาวเครือขาวผสมน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย 1 เมล็ดต่อวัน รับประทานมากจะทำให้มึนเมาเป็นพิษคนหนุ่มสาวไม่ควรรับประทาน
ลักษณะทั่วไปของกวาวเครือขาว
กวาวเครือขาวเดิมถูกให้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Butea superba Roxb. เป็นพืชตระกูลถั่ว ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ผลัดใบ เลื้อยพาดพันบนต้นไม้ชื้น
ลำต้นเกลี้ยง อาจยาวถึง 5 เมตร ใบเป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ (Pinnately trifoliate) เรียงสลับกันปลายใบมีลักษณ์รูปไข่ปลายแหลม เนื้อใบด้านบนเกลี้ยงด้านล่างมีขนสั้นๆ ประปรายเส้นแขนงใบข้างละ 5–7 เส้น ใบย่อยด้านข้างโคนมีลักษณะเบี้ยว หูใบรูปไข่ มีเยื่อก้านใบเห็นเด่นชัด ใบประดับมีลักษณะเป็นเกล็ดมีขนาดเล็กมาก
ดอกออกในระยะผลัดใบ เป็นช่อยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกจะออกตามาซอกกิ่ง ข่อดอกเป็นข่อเดี่ยวและช่อแยกแขนงออกปลายกิ่ง ดอกมีกลีบประดับรองรับ ดอกย่อยเป็นรูปถั่วเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเพศผู้และเพศ
เมียในดอกเดียวกัน รูปทรงดอกเป็นแบบ Zygomorphic แบบที่เรียกว่า Papilionacaceous form ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ ที่มีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกัน กลีบที่อยู่นอกสุดมีขนาดใหญ่สุด เรียกว่ากลีบ Standard กลีบที่ประกบอยู่ทางด้านข้างทั้งสอง มีลักษณะคล้ายกัน คืองอนโค้งคล้ายปีกนกเรียกว่า กลีบ wing กลีบที่อยู่ด้านในสุด 2 กลีบ จะเชื่อมรวมกันเป็นกระพุ้งคล้ายท้องเรือ เรียกว่า กลีบ (keel) เป็นกลีบที่ห่อเกสรไว้ มีก้านชูอับ
เรณูติดกัน ดอกมีสีฟ้าอมม่วงถึงสีน้ำเงิน 2–3 ดอกต่อช่อ มีเกสรตัวผู้ 10 อัน รังไข่ยาวเป็นแบบ superior ภายในมี 1 ห้องมีเม็ดไข่อยู่ภายใน
ฝักมีลักษณะแบน เมื่อแก่มีสีออกน้ำตาล ผิวมีขนสั้นๆ ประปรายถึงเกลี้ยง ฝักมีความกว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร มีเมล็ด 3–5 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีลักษณะกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
หัวเป็นหัวใต้ดินคล้ายหัวมันแกว (Tiberous root) จะมีฤทธิ์ทางยามากในขณะที่ผลัดใบ มีหลายขนาด หัวที่มีอายุมากมีขนาดใหญ่ อาจมีน้ำหนักมากถึง 20 กิโลกรัม ที่เปลือก เมื่อเอามีดปาดจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อจะเปราะ มีเส้นมาก รสเย็นเบื่อเมา หัวที่ยังเล็ก เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก
การขยายพันธุ์กวาวเครือขาว
ขยายพันธุ์โดยการปลูกกวาวเครือขาวแบบเพาะเมล็ด โดยอาจจะเริ่มต้นโดยการผลิตต้นพันธุ์จากเมล็ดหรือโดยวิธีอื่น การผลิตต้นพันธุ์จากเมล็ดจะต้องรอเก็บเมล็ดในช่วงต้นถึงกลางฤดูร้อน เนื่องจากกวาวเครือขาวออกดอกติดฝักในช่วงกลางฤดูหนาวจนถึงกลางฤดูร้อน แหล่งกำเนิดของเมล็ดคือต้นกวาวเครือขาวที่อยู่ในป่า แกะเมล็ดออกจากฝัก เก็บไว้ในที่แห้งหรือในภาชนะที่มีการระบายอากาศได้ ทำการเพาะเมล็ดในกระบะบรรจุดินผสมปุ๋ยอินทรีย์โดยให้เมล็ดถูกฝังกลบไว้ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน แนะนำให้ทำการเพาะเมล็ดในช่วงที่อากาศร้อนจัดที่สุด ความร้อนจะช่วยให้เมล็ดงอกได้ง่ายขึ้น โดยปกติเมล็ดที่เก็บจากฝักที่แห้งคาต้นแล้วนำมาเพาะในปีนั้นจะมีอัตราการงอกเกือบ 100% เมล็ดที่ถูกเก็บไว้ข้ามปีจะมีอัตรางอกลดลง จึงมีการนำมาศึกษาวิจัยจนพัฒนามาเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่ามากมายมหาศาลในปัจจุบัน
องค์ประกอบทางเคมี
หัวกวาวเครือขาวมีสารที่มีประโยชน์อยู่อีกหลายชนิดรวมทั้งสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน เอสโตรเจน นอกจากนี้ยังพบข้อมูลทางด้านโภชนาการดังนี้
องค์ประกอบ ปริมาณ (เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง)
พลังงานจากไขมัน | 5.85 แคลอรีต่อ 100 กรัม |
คาร์โบไฮเดรตรวม | 67.66 |
ไฟเบอร์รวม (dietary Fiber) | 20.39 |
น้ำตาลรวม (Total Sugar) | 19.35 |
คาร์โบไฮเดรต อื่นๆ | 27.92 |
โปรตีน | 7.88 |
ไขมัน | 0.66 |
แคลเซี่ยม | 7.56 |
เหล็ก | 0.029 |
พลังงานรวม | 308.01 แคลอรีต่อ 100 กรัม |
ส่วนสาระสำคัญกลุ่มต่างๆ ที่พบในกวาวเครือขาวสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
7.1 สารกลุ่มคูมารินส์ (Coumarins)
ได้แก่ Coumestrol, Mirificoumestan, Mirificoumestan Glycol และ Mirificoumestan hydrate
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของกวาวเครือขาว
สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Coumestrol
ที่มา : สุนิสา (2552)
สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Mirificoumestam
ที่มา : สุนิสา (2552)
7.2 สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)
โดยในหัวกวาวเครือขาวมีสารจำพวก lsoflavonoid หลายชนิด เช่น Genistain, Daidzein, Daidzin, Puerarin, Puerein-6-monoacetate, Mirificin, Kwakhurin และ Kwakhurin hydrate
Genistein : R1 = H , R2 = OH
Daidzein : R1 = H , R2 = H
Puerarin : R1 –Glucose, R2 = H
Mirificin : Glucose – Apiose , R2 = E
สูตรโครงสร้างทางเคมีของสารกลุ่ม Flavonoids
ที่มา : สุนิสา (2552)
7.3 สารกลุ่มโครมีน (Chromene)
สาระสำคัญอันดับหนึ่งในกวาวเครือ ได้แก่ Miroestrol ซึ่งเป็นสารที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน พบปริมาณ 0.002 – 0.003 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหัวแห้ง หรือประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของกวาวเครือแห้ง มีรูปผลึก 2 แบบ คือ แบบที่มีน้ำหนักอยู่ในผลึก (hydrate form) ลักษณะเป็นรูปเข้มอ้วน และแบบผลึกที่ไม่มีน้ำอยู่ในผลึก (anhydrate form) มีลักษณะเป็นแผ่น ไม่มีสี มีจุดหลอมเหลว 268 – 270 องศาเซลเซียส
สูตรโครงสร้างทางเคมีของ Miroestrol
ที่มา : สุนิสา (2552)
7.4 สารกลุ่มสเตียรอยด์ (steroids)
สเตียรอยด์ที่พบในหัวกวาวเครือ ได้แก่ B-sitosterol, Stigmasterol, Pueraria และ Mirificasterol
7.5 สารประกอบอื่นๆ
นอกจากสารกลุ่มที่กล่าวแล้วข้างต้น ในหัวกวาวเครือขาวยังมีสารจำพวกแอลเคน แอลกอฮอร์และสารจำพวกไขมัน คือ Puereria, Mififica glyceride lithium, Potassium, Sodium, Phosphate, แคลเซียม, โปรตีน, ไขมัน, และไฟเบอร์ นอกจากนี้ยังมีสารประเภท Saponim อยู่อีกหลายชนิด
ซึ่งสารต่างๆ เหล่านี้หลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) ซึ่งหมายความว่าเป็นเอสโตรเจนที่ได้จากพึชและออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจนทุกประการ หรืออาจหมายถึงสารที่ออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (Receptor) เดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งปัจจุบันทราบแล้วว่า receptor นี้มี 2 Subtype คือ estrogen receptor alpha และ beta subtype ปัจจุบันไฟโตเอสโตรเจนที่มีอยู่ในกวาวเครือขาวสามารถแบ่งได้เป็นสารที่มีความแรงสูงและความแรงต่ำ โดยกลุ่มที่มีความรุนแรงต่ำ ได้แก่ Coumestrol, Daidzein, Daidzin, Genistin, Genistein, Mirificn และ Puerarin
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกวาวเครือขาว
การทดลองในหนูเพศเมียที่กินกวาวเครือขาวพบว่า มีผลยับยั้งการให้นมของหนูที่กำลังให้นม โดยไปยังยั้งการเจริญของต่อมน้ำนม และการสร้างน้ำนม มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อให้หนูกินในช่วงตั้งท้องวันที่ 1–10 ติดต่อกัน หรือให้กินในช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายของตัวอ่อน โดยทำให้เกินการแท้ง และเมื่อให้ในหนูที่ตัดรังไข่ออก กินกวาวเครือขาวพบว่าน้ำหนักของมดลูกและปริมาณของเหลวในมดลูกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่พบในหนูที่ได้รับ ethinyl estradiol และมีรายงานว่ากวาวเครือขาวมีฤทธิ์คุมกำเนิดที่ดีในหนูขาวเมื่อให้ในขนาด 1 กรัม/ตัว/สัปดาห์ ส่วนผลของกวาวเครือขาวต่อหนูเพศผู้พบว่าสัตว์มีพฤติกรรมการสืบพันธุ์ลดลง และมีขนาด และน้ำหนักอัณฑะ epididymis ต่อมลูกหมาก และ seminal vesicles ลดลง รวมทั้งมีจำนวนตัวอสุจิ และเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิลดลง
การศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 2 ในอาสาสมัครกลุ่มก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือน ที่มีอาการพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวน 37 ราย ใช้เวลา 6 เดือน พบคะแนนของงอาการวัยหมดระดูลดลงจาก 35.6 เป็น 15.1 และ 32.6 เป็น 13.69 ในกลุ่มที่ได้รับ 50 มก.ต่อวัน และ 100 มก.ต่อวัน ตามลำดับ แต่พบอาการข้างเคียง คือ อาการคัดตึงเต้านมประมาณร้อยละ 35 และอาการเลือดออกกระปริดกระปรอยประมาณร้อยละ 16.2
การศึกษาทางพิษวิทยาของกวาวเครือขาว
การศึกษาพิษเฉียบพลันของผงหัวกวาวเครือขาวในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ พบว่าไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 16 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์โดยการป้อนผงหัวกวาวเครือขาวในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ ขนาด 10 และ 100 มก./กก./วัน ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อค่าโลหิตวิทยา และค่าทางชีวเคมี หรือพยาธิสภาพใดๆ แต่การให้ในขนาด 1000 มก./กก./วัน ทำให้หนูเกิดภาวะโลหิตจาง จำนวนเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ระดับโคเลสเตอรอล น้ำหนักอัณฑะ ของหนูเพศผู้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีอัตราการเกิด hyperemia ของอัณฑะ ในหนูเพศเมียที่ได้รับในขนาด 100 และ 1000 มก./กก./วัน พบว่าระดับโคเลสเตอรอลลดลง มดลูกบวมเต่ง มีอัตราการเกิด cast ที่ไตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
เอกสารอ้างอิง กวาวเครือขาว
1. กวาวเครือขาว .ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicruderug.com/main.php?action=viewpage&pid=15
2. Niyomdham,C.1952.Notes on Thai and Indo–Chinese Phaseo leae (Leguminosae-Papilionoidea). Nordic Journal of Botany 12:339-346
3. ยุทธนา สว่างอารมณ์ และคณะ.2555 รายงานผลการวิจัยเรื่อง การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการ เสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภค The Enhancing Potential in Anabas testudineus Culture by Adding Pueraria mirifica in the Fish Feed for Produeing Safety Food for A Consumption.มหาวิทยาลัยแม่โจ้
4. วิชัย เชิดชีวศาสตร์.2552.นวัตกรรมสมุนไพรกวาวเครือขาว หน้า 11
5. แนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม สำหรับกวาวเครือขาว.2551. กลุ่มงานคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
6. วิชัย เชิดชีวศาสตร์.2552.นวัตกรรมสมุนไพรกวาวเครือขาว. หน้า 232 - 234
7. ชาลี ทองเรืองและวันชัย ดีเอกนามกูล.2544.รายงานการศึกษาเรื่อง สถานภาพการวิจัยและพัฒนากวาวเครือขาวในประเทศไทย และสิ่งที่ควรดำเนินการวิจัย .1-36 หน้า
8. สุนิสา ทองสกุล .2552. การศึกษาผลของกวาวเครือขาวต่อการเจริญเติบโตของกบ. ปัญหาพิเศษ มหาวิทยาลัยแม่โจ้–ชุมพร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เชียงใหม่
9. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
http://www.phamacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/314/กวาวเครือขาว
10. หลวงอนุสารสุนทร , ตำรายาหัวกวาวเครือ . กรมการพิเศษเชียงใหม่ โรงพิมพ์ อุปะติพงษ์ พฤษภาคม 2474
11. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.2546.ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2 / โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร
12. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล.2554.องค์ความรู้จากงานวิจัยสมุนไพรไทย 10 ชนิด กระชายดำ กวาวเครือขาว ขมิ้นชัน ขิง บัวบก พริกไทย ไพล ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม มะระขี้นก.บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด:กรุงเทพมหานคร
13. ทรงพล ธีรพัฒน์ , ปราณี ชวลิตธำรง , สดุดี รัตนจรัสโรจน์ , อัญชลี จูฑะพุทธิ และ สมเกียรติ ปัญญามัง . 2542,พิษวิทยาของสารสกัดกวาวเครือขาว วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 42:202 – 223