สมอพิเภก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
สมอพิเภก งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ
ชื่อสมุนไพร สมอพิเภก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อประจำถิ่น ลัน (เชียงราย) , แหน แหนต้น แหนขาว (ภาคเหนือ) ,ซิปะคู่ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่ ) , สะคู้ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) , สมอแหน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia bellirica (Gaeryn) Roxb
ชื่อสามัญ Beleric Myrobalan , lnkNot , Bahera และ Beleric
ชื่อวงค์ Combertaceae
ถิ่นกำเนิดสมอพิเภก
สมอพิเภกมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถได้โดยทั่วไปในประเทศแถบนี้ ในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร ส่วนทางภาคใต้มักจะพบขึ้นตามป่าดงดิบ
ประโยชน์และสรรพคุณสมอพิเภก
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ต้านไวรัส
- ต้านเชื้อรา
- ต้านยีสต์
- ฆ่าไส้เดือน เป็นพิษต่อปลา
- ต้านมาลาเรีย
- แก้หืด แก้ไอ แก้หวัด
- เร่งการสร้างน้ำดี รักษาดีซ่าน
- ลดความดันโลหิตยับยั้งระดับโคเลสโตรอลในเลือดสูง
- ยับยั้งหลอดเลือดอุดตัน
- ยับยั้งเบาหวาน
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ยับยั้งฟันผุ ลดการอักเสบ
- แก้สิว
- คลายกล้ามเนื้อมดลูก
- ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก
- ยับยั้งการกลายพันธุ์
- ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 revese transcriptase , HIV-1 Protease
ตำรายาไทยสมอพิเภก
ผลอ่อนสมอพิเภก แก้ไข้เพื่อเสมหะ และไข้เจือลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย ผลแก่ แก้เสมหะ จุกคอ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา แก้ธาตุกำเริบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้ท้องร่วงท้องเดิน รักษาโรคท้องมาน เมล็ดใน แก้บิด แก้บิดมูกเลือด สมอพิเภกจัดอยู่ใน “พิกัดตรีผลา” คือการจำกับจำนวนผลไม้ 3 อย่าง มี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน “พิกัดตรีสมอ” คือการจำกัดจำนวนสมอ 3 อย่างมี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกสมอเทศ สรรพคุณแก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้ ผายธาตุ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง
รูปแบบและขนาดวิธีการใช้สมอพิเภก
• ประโยชน์สมอพิเภกช่วยขับปัสสาวะ ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ
• เป็นยาระบาย ยาถ่าย ใช้ผลโตสมอพิเภกแต่ยังไม่แก่ 2 – 3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
• ใช้สมอพิเภกอบแห้งเป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค) ใช้ผลแก่ 2 – 3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี้ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
• รักษาบาดแผล นำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วพอกที่บาดแผล
• แก้มะเร็ง สารสกัดจากสมุนไพรสมอพิเภกรวมกับสมอไทยและมะขามป้อมสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและช่วยฆ่ามะเร็งได้
ลักษณะทั่วไปสมอพิเภก
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 – 35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนมักเป็นพูพอน เปลือกต้นสมอพิเภกจะเป็นสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ ก่อนอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบสมอพิเภกเป็นชนิดเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9 – 15 ยาว 13 – 19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6 -10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสี
น้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4 – 6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10 – 15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกศรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผลกลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ
การขยายพันธุ์สมอพิเภก
สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ โดยการเพาะเมล็ด และการขยายพันธุ์โดยวิธีไม่อาศัยเพศ โดยการปักชำตอนกิ่ง ในการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดควรเก็บประมาณช่วงเดือนมากราคมจนถึงเดือนพฤษภาคมวิธีเพาะสมอพิเภกด้วยการเก็บเมล็ด เมล็ดที่เก็บใหม่ๆ จะมีอัตราการงอกของรากสมอพิเภกประมาณ 85% เมล็ดที่เก็บไว้นานจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกลดลง
ไม้สมอพิเภกซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองของประเทศไทย การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย สามารถขึ้นได้ในดินแถบทุกชนิด ดังนั้นในเรื่องพื้นที่ปลูกจึงไม่ค่อยมีปัญหาสำหรับไม้ชนิดนี้ การปลูกสมอพิเภกด้วนต้นกล้านั้น สามารถย้ายต้นกล้ามาปลูกได้โดยวิธีไม่มีดินหุ้มราก ขนาดของต้นกล้าที่เหมะสมในการย้ายปลูกควรมีอายุ 6 – 7 เดือน มีความสูงประมาณ 40 ซม. ก่อนย้ายปลูกควรลิดใบและราก การย้ายต้นไม้จากแปลงเพาะไปปลูกควรย้ายในขณะอากาศชุ่มชื้น แต่ไม่ควรย้ายขณะฝนตกหนัก เพาะดินอาจแฉะเกินไป ดินอาจแน่นอากาศถ่ายเทไม่ได้ สำหรบอัตราการเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ไม้สมอพิเภกนั้น ยังไม่การศึกษาและบันทึกข้อมูลไว้ ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกไว้เพื่อเป็นไม่ใช้สอยโดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ผลและเปลือกต้นของสมอพิเภกสามารถนำมาใช้ย้อมสีของผ้าได้โดยผลจะได้สีขี้ม้าส่วนเปลือกต้นจะได้สีเหลือง
องค์ประกอบทางเคมีของสมอพิเภก
Chebulagic acid , ellegic acid , galli acid
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของสมอพิเภก
Chabulagic acid
โครงสร้างทางเคมีของกรดเอลลาจิก (Colapinto, 2010)
โครงสร้างทางเคมีของกรดแกลลิค (Labieniec ang Gabrylak, 2003a)
ที่มา นพมาศ สุนทรเจริญนนท์
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของสมอพิเภก
สารสกัดด้วยเอธานอลของสมอพิเภกช่วยเพิ่มการขับน้ำดีในสุนัข และทำให้ความดันโลหิตลดลงจนถึงตายได้ และขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตามครึ่งหนึ่ง (LD 50) เท่ากับ 4.25 กรัม / กิโลกรัม เมื่อให้ทางปากแต่ผงสมอพิเภกมีผลน้อยต่อการขับน้ำดี และทำให้ความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย และเมื่อให้หนูถีบจักรกินสมอพิเภกขนาด 5 กรัม / กิโลกรัม ไม่ทำให้เกิดอาการพิษ
การศึกษาทางพิษวิทยาของสมอพิเภก
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดสมอพิเภกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูเกินในขนาด 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,515 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ และเมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมพบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD 50) เท่ากับ 6.156 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ถ้ารับประทานสมอพิเภกเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน ผลหากใช้รับประทานมากๆ จะเป็นยาเสพติดและทำให้หลับได้
เอกสารอ้างอิง
1. สรรพคุณสมอพิเภก.แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://thaiherbel.org/1110/1110
2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก www.dnp.go.th/pattani_botang/พันธุ์ไม้/ไม้เอนกประสงค์/สมอพิเภก/สมอพิเภก.htm.
3. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/phants_data/herbs/herbs_12_6.htm
4. สถาบันวิจัยสมุนไพร.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ "งานวิจัยสมอพิเภก" กระทรวจสาธารณสุข.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/Plant/Mpri2013/Q_Terminalia.shtm
5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมอพิเภก(สมอแหน).คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewage&pid=133
6. รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ การวิจัยและพัฒนาตำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาหอม, ยาจันทร์ลีลา, ยาเหลืองปิดสมุทร, ยาไฟประลัยกัลป์, ยาตรีผลา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
7. Chebulagic acid.chemical Book (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.chemicalbook.com/Chemical Product Property_EN_CB11361781.htm
8. Labieniec, M and Gabryelak, T.(2003a). lmage of Chemistry structure gallic acid. (Accessed 5th January 2013). http:///www.themoernembalmer.com/tannin.html
9. Colapinto, M (2010). Lmage of Chemistry structure ellagic acid. (Accessed 5th January 2013). http://www.socialvixen.com/health-beauty/strawberries-can-prevent-cancer/
10. ปราณี ชวลิตธำรง, เอมมนัส อัตตวิชญ์, พัช รักษามั่น, ปราณี จันทรเพ็ชร.2539.พิษกึ่งเฉียบพลันของยาแผนโบราณตรีผลา.วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.ปีที่ 38 .ฉบับที่ 3.กรกฎาคม – กันยายน.หน้า 161-191.