สมอไทย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

สมอไทย งานวิจัยและสรรพคุณ 33ข้อ


ชื่อสมุนไพร สมอไทย
ชื่อประจำถิ่น / ชื่ออื่นๆ สมอไทย สมออัพยา (ภาคกลาง) สมอ (นครราชสีมา) มาแน่ (เชียงใหม่) หมาก                       
ชื่อวงศ์ Combertaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์  Terminalia chebula Retz.
สมอไทย

 

ถิ่นกำเนิดสมอไทย

สมอไทยเป็นพืชท้องถิ่นไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า และลาว เป็นต้น รวมถึงเอเชียใต้ พบได้มากในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ในภาคกลาง อีสาน และภาคเหนือ ชาวธิเบตถือว่าสมอไทยคือ "ราชาแห่งยา"
 

ประโยชน์และสรรพคุณสมอไทย

  1. แก้บิด
  2. แก้ไข้
  3. ขับเสมหะ
  4. แก้โลหิตในอุทร
  5. แก้น้ำดี
  6. เป็นยาระบายชนิดรู้ถ่ายรู้ปิด
  7. แก้ลมป่วง
  8. แก้พิษร้อนภายใน
  9. แก้ลมจุกเสียด
  10. ถ่ายพิษไข้
  11. คุมธาตุ
  12. แก้ไอ เจ็บคอ
  13. ขับน้ำเหลืองเสีย
  14. แก้เสมหะเป็นพิษ
  15. แก้อาเจียน
  16. บำรุงร่างกาย
  17. แก้นอนสะดุ้งผวา ทำให้นอนหลับสบาย
  18. แก้ปวดเมื่อยตามร่ายกายตามข้อ
  19. แก้อ่อนเพลีย
  20. แก้ท้องผูก ชำระล้างเมือกมันในลำไส้
  21. แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ
  22. แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี
  23. แก้โรคท้องมาน
  24. แก้ตับม้านโต 
  25. แก้สะอึก
  26. แก้ท้องร่วงเรื้อรัง
  27. แก้โลหิตในท้อง
  28. บำรุงหัวใจ  
  29. ฟอกโลหิต แก้ประจำเดือนไม่ปกติ  
  30. ช่วยเจริญอาหาร
  31. ขับลมในกระเพาะ ลำไส้ 
  32. ช่วยย่อยอาหาร
  33. โรคภูมิแพ้ หอบหืด


          ในตำรายาไทย สมอไทยจัดอยู่ในยาสมุนไพร พิกัดตรีผลา การจำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่างคือ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อ พิกัดตรีผลา การจำกัดจำนวนสมอ 3 อย่าง คือ สมอพิเภก สมอไทย และสมอเทศ พิกัดตรีฉันทลามมก การจำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุลามกให้ตกไป 3 อย่างคือ โกศน้ำเต้า สมอไทย และรงทอง
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้สมอไทย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร รวม 2 ตำรับ คือ “ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง” สรรพคุณ แก้อาการท้องผูก กรณีที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ได้ผลและ“ยาธาตุบรรจบ”ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อและอาการอุจจาระธาตุพิการท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งสมอไทยนั้นมีรสต่างๆ ถึง 6 รสด้วยกัน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มานาชาตินิยมมากที่สุดในจำนวนสมุนไพรทั้งหมดทั้งมวลก็ว่าได้ ซึ่งจะมีรสชาติดังนี้ รสเปรี้ยว รสฝาด รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม ทั้งหมดนี้คือสรรพคุณของสมอไทย


รูปแบบและขนาดวิธีใช้สมอไทย

รับผลิตอาหารเสริม

• ผลดิบกินเป็นผลไม้สด รสเปรี้ยวขมอมฝาด มีแทนนินเป็นจำนวนมาก หรือนำไปดองเกลือ 
• ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก 
• ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก้เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า
• ผลสุก 5 – 6 ผลต้นกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นระบายอ่อนๆ ใช้น้ำประมาณ 1 ถ้วยแก้ว จะถ่ายหลังจากกินแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง
 

ลักษณะทั่วไปสมอไทย

ต้นสมอไทย ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 20 – 30 เมตร เรือนยอดกลมกว้าง เปลือกต้นขรุขระ สีเทาอมดำ เปลือกในสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีแดง กิ่งอ่อนสีเหลืองหรือสีเหลืองแกมน้ำตาล มีขนคล้ายไหม เปลือกแตกเป็นสะเก็ดห่างๆ ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น
ใบสมอไทย เป็นเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปรีกว้าง กว้าง 5 – 10 ซม. ยาว 11 – 18 ซม. ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลมโคนกลมหรือกึ่งตัด หรือบางครั้งเบี้ยว ขอบเรียบแผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นเงามันมีขนเล็กน้อย ผิวด้านล่างมมีขนคล้ายไหมถึงขนสั้นหนานุ่ม เมื่อแก่เกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ข้างละ 5 – 8 เส้น ก้านใบยาว 1.5 – 3 ซม. มีขนคล้ายไหม มีต่อม 1 คู่ ใกล้โคนใบ
ดอกสมอไทย ออกเป็นช่อคล้ายช่อเชิงลดหรือช่อแยกแขนง มี 3 – 5 ช่อ สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มักจะออกพร้อมๆ กับใบอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 5 – 8.5 ซม. ไม่มีก้านข่อดอก หรือก้านช่อดอกสั้น แกนกลางสั้นและเปราะ มีขนสั้นนุ่ม ดอกสมบูรณ์เพศขนาดเล็ก 0.3 – 0.4 ซม. ไม่มีกลีบดอก ส่วนบนเป็นรูปะถ้วยตื้นมีขนคลุมด้านนอก ใบประดับรูปแถบ ยาว 3.5 – 4 มม. ปลายแหลม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก เกลี้ยง รูปคล้ายสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้มี 10 กลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณู ยาว 3 – 3.5 มม. เกลี้ยง จานฐานดอกมีขนเกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2 – 3.5 มม. รังไข่เกลี้ยง หมอนรองดอกมีพูและขนหนาแน่น
ผลสมอไทย แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือเกือบกลม กว้าง 2 – 2.5 ซม. ยาว 2.5 – 3.5 ซม.ผิวเกลี้ยง หรือมีสันตื้นๆ ตามยาว 5 สัน เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลแดง
เมล็ดสมอไทย แข็ง มี 1 เมล็ด รูปยาวรี ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือพบตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1000 เมตร

การขยายพันธุ์สมอไทย

สมอไทยเป็นไม้พื้นเมืองที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจัดเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้องอาศัยระบบรากแก้วในการหาอาหารและค้ำจุนลำต้น

ขั้นตอนการขยายพันธุ์สมอไทย

• เก็บผลสมอไทยที่สุกและแก่เต็มที่จะมีลักษณะผลสีน้ำตาล อมเหลือง การเพาะสมอไทยนำมาหมักไว้ประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อให้เปลือกและเนื้อติดเมล็ดเปื่อยร่อนออกให้เหลือเฉพาะเมล็ดข้างใน
• นำเมล็ดสมอไทยที่ได้นำมาล้างน้ำให้สะอาดและนำมาตากแดดให้แห้งประมาณ 3 – 5 แดด
การปลูกสมอไทยเตรียมกระบะเพาะด้วยไม้ทำคอกไม้สี่เหลี่อม ภายในกระบะเพาะประกอบวัสดุเพาะในส่วนผสมของแกลบสุก ดินร่วนปนทราย ขุมมะพร้าว เศษซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยได้ง่ายนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
• วิธีเพาะสมอไทยนำเมล็ดที่ตากแห้งแล้วนำมาหว่านบนวัสดุเพาะภายในกระบะเพาะ และนำเศษซากใบไม้แห้งสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาคลุกทับเมล็ดสมอบางอีกครั้งหนึ่ง
• รดน้ำทุกครั้งที่สังเกตเห็นว่าวัสดุเพาะแห้งไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวันเพาะจะทำให้เมล็ดหรือรากสมอไทยที่พึ่งงอกเน่า
• สถานที่ในการเตรียมกระบะเพราะชำกล้าไม้จะต้องเป็นที่ร่มรำไร ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 45 – 60 วัน เมล็ดก็จะเริ่มงอก
• เมื่อต้นกล้าสมอไทยมีการเจริญเติบโตมีความสูงของลำต้นประมาณ 5 เซนติเมตรมีใบจริง 2 – 3 ใบ ให้ทำการย้ายต้นกล้าใส่ถุงเพาะชำ รดน้ำบำรุงรักษาจนกว่าต้นกล้าจะเจริญเติบโตแข็งแรงและนำไปเพาะปลูกต่อไป
องค์ประกอบทางเคมี gallic acid , chebuilc acid, chebulinic acid, chebulagic acid, corilagin, terchebin, glucogallin, ellagic acid, sennoside A, chebulin , catechol, tannic acid

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของสมอไทย

สมอไทย
Corilagin

ที่มา : Wikipedia, the free encyclopedia

 

ผลสมอไทย
Gallic acid

ที่มา : Wikipedia, the free encyclopedia

 

ลูกสมอไทยTannic acid
ที่มา : Wikipedia, the free encyclopedia


สมอไทย
Ellagic acid
ที่มา : Wikipedia, the free encyclopedia

 

สมอไทย
Glucogallin
ที่มา : Wikipedia, the free encyclopedia


สมอไทย
Sennosides
ที่มา : Wikipedia, the free encyclopedia

 

ประโยขน์สมอไทย

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

รับประทานสมอไทย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Samonella และ Shigella
มีการรายงานทางการวิจัยพบว่า สาร 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-giucose ที่สกัดแยกได้จากผลของสมอไทยมีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ acetylcholinesterase และ butyrylcholinesterase โดยให้ค่า IC₅₀ เท่ากับ 29.9±0.3 µM และ 27.6±0.2 µM ตามลำดับ และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก โดยให้ค่า IC₅₀ เท่ากับ 4.6±0.2 µM สารสกัดเมทานอลจากผลสามารถจับกับ NMDA และ GABA receptors จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสมอไทยเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสามารถที่จะพัฒนาต่อไป แต่ยังขาดการศึกษาในขั้นตอนสัตว์ทดลอง และ ขั้นคลินิก ซึ่งจะช่วยยืนยันถึงประสิทธิภาพของสมอไทยในการนำไปใช้ป้องกันและรักษาภาวะสมองเสื่อม

ตารางแสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมอไทย

 สมอไทย


การศึกษาทางพิษวิทยาของสมอไทย

งานวิจัยสมอไทยกับความเป็นพิษของสมอไทยในหนูถีบจักร โดยการใช้ผงสมอไทยและสารสกัดด้วยน้ำจากผลแห้งของสมอไทย จากผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่าหนูถีบจักรที่กินสมอไทย ทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ได้รับสารในรูปของผงจากผลแห้งของสมอไทยขนาด 0.5 , 2.5 และ 5.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในระยะกึ่งเรื้อรัง (5 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 13 สัปดาห์) ไม่มีความเป็นพิษเกิดขึ้นอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวและค่าต่างๆ เมื่อทำการตรวจเลือดทางชีวเคมี การตรวจทางโลหิตวิทยา น้ำหนักของอวัยวะและพยาธิสภาพของ ตับ ไต ม้าม และธัยมัส การตรวจสอบความเป็นพิษของสารสกัดด้วยน้ำจากผลแห้งของสมอไทยในหนูถีบจักรเพศผู้และเพศเมีย ที่ได้รับสารสกัดขนาด 0.2,1.0 และ 5.0 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 7 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 13 สัปดาห์ ความเป็นพิษของสมอไทยศึกษา จากการชั่งน้ำหนักตัว การตรวจเลือดทาง ชีวเคมี การตรวจทางโลหิตวิทยา น้ำหนักของอวัยวะ สังเกตดูพยาธิสภาพของตับ ไต ม้ามและธัยมัส ซึ่งค่าทั้งหมด ถูกใช้ในการแสดงถึงความเป็นพิษของสมอไทย พบว่าสารสกัดจากน้ำของสมอไทยไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นพิษอย่างชัดเจนต่อน้ำหนักตัว
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1000 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

เอกสารอ้างอิง

1. สมอไทย.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศสาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrag./main.php?action=action&pid=132และ

2. สมอไทย หลากหลายประโยชน์ใช้สอย.มูลนิธิสุขภาพไทย
3. วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี,เข้าถึงได้จาก http://en.wikpedia.org.com
4. มีคณา.สมอไทย ราชาแห่งยา รักษาได้สารพัดโรค คอลัมน์สมุนไพรไม้เป็นยา.นิตยสารธรรมสีลา.ฉบับที่ 164.สิงหาคม2557
5. วุฒิ วุฒิธรรมเวช,หลักเภสัชกรรมไทย.กรุงเทพมหานคร:เอ็น.พี.สกรีนพริ้นติ้ง,2542”
6. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ.2551.พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรียงที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวงอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์(วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.หน้า271
7. ศ.ดร.พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ.การใช้สมุนไพร.คอลัมน์การรักษาพื้นบ้าน.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 27.กรกฎาคม.2524
8. Sancheti S, Um BH, Seo SY.1,2,3,4,6-penta-O-galloyl.B-d-glucose:A cholinesterase inhibitor From Terminalia chebula, South African Journal of Botany 2010;76(2):285-8
9. Naik GH, Priyadarsini KI, Naik DB,et al. Studies on the aqueous extract of Terminlia chebula as a potent antioxidant and a probable radioprotector Phytomedicire 2004;11(6),530-8
10. Der S, Ethno therapeutics ang modern drug development : the potential of Ayurveda Current Science 1997;73(11):909-28.
11. รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์.การวิจัยและพัฒนาตำรับยาในบัญชีหลักแห่งชาติ ยาหอม,ยาจันท์ลีลา,ยาเหลืองปิดสมุทร,ยาไฟประลัยกัลป์.ยาตรีผลา.คณะเภสัชศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหิดล
12. ลักษมี วรสุทธยางกูล.2543.การศึกษาความเป็นพิษของสมอไทยในหนูถีบจักร.วิทยานิพนธ์[วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.(พิษวิทยา)]มหาวิทยาลัยมหิดล
13. เภสัชผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาญชัย สาดแสงจันทร์.ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยกับภาวะสมองเสื่อม.วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ปีที่7 เดือนมกราคม – ธันวาคม 2555 หน้า 11