ขมิ้นชัน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ขมิ้นชัน งานวิจัยและสรรพคุณ 44 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ขมิ้นชัน
ชื่ออื่นๆ ขมิ้น, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแกง (เชียงใหม่), ขี้มิ้น (ภาคใต้), ตายอด (กะเหรี่ยงกำแพงเพชร), สะยอ (แม่ฮ่องสอน), หมิ้น (ตรัง)
ชื่อสามัญ Turmeric
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ถิ่นกำเนิดขมิ้นชัน
ขมิ้นชันมีถิ่นกําเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติในสภาพพืชป่า มีข้อสันนิษฐานว่า ขมิ้นชันเป็นพืชปลูกที่เกิดกระบวนการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติและมีโครโมโซม 3 ชุด ซึ่งเป็นหมัน มีการสืบทอดพันธุ์กันต่อมา โดยวิธีการคัดเลือกพันธุ์และปลูกขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ปัจจุบันมีเขตการกระจายพันธุ์ปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน หรือร้อนชื้นทั่วโลก ได้แก่ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาดากาสกา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย รวมถึงบางประเทศในเขตร้อนชื้นของทวีปแอฟริกา แหล่งที่ปลูกขมิ้นชันเป็นการค้าขนาดใหญ่ของโลกคืออินเดีย มีแหล่ง อื่นบ้างแถบเอเซียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้แก่ ประเทศจีน อินเดียอินโดนีเซีย และไทย
ประโยชน์และสรรพคุณขมิ้นชัน
- ช่วยเจริญอาหาร
- ยาบำรุงธาตุ
- ช่วยฟอกเลือด
- แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด
- ช่วยลดน้ำหนัก
- แก้ปวดประจำเดือน
- แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- อาการดีซ่าน
- แก้อาการวิงเวียน
- แก้หวัด
- แก้อาการชัก
- ช่วยลดไข้
- ขับปัสสาวะ
- รักษาอาการท้องมาน
- แก้ไข้ผอมแห้ง
- แก้เสมหะ
- แก้โลหิตเป็นพิษ
- แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา
- แก้ตกเลือด
- แก้อาการตาบวม
- แก้ปวดฟันเหงือกบวม
- มีฤทธิ์ระงับเชื้อ
- ช่วยต้านวัณโรค
- ป้องกันโรคหนองใน
- แก้ท้องเสีย
- แก้บิด
- แก้หิว
- รักษามะเร็งลาม
- ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม ปวดไหล่และแขน บวมช้ำและปวดบวม
- แก้ปวดข้อ
- ใช้สมานแผลสดและแผลถลอก
- ใช้ผสมยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอก
- แก้น้ำกัดเท้า
- แก้ชันนะตุ
- แก้กลากเกลื้อน
- แก้โรคผิวหนังผื่นคัน
- ใช้สมานแผล
- รักษาฝี แผลพุพอง
- ลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- ใช้ห้ามเลือด
- รักษาผิว
- ช่วยบำรุงผิว
- ช่วยลดหน้าท้องลายหลังคลอดบุตร
- ช่วยลดกลิ่นปาก
ประเทศ |
สรรพคุณทางยาขมิ้นชัน |
อินเดีย
|
- ให้กลิ่นหอม เป็นยากระตุ้น และช่วยขับลม - ผงขมิ้นผสมกับน้ำมะนาวใช้พอกเพื่อรักษาอาการ บาดเจ็บ เคล็ด ขัด ยอก บวม - รักษาความผิดปกติของระบบน้ำดี - รักษาอาการเบื่ออาหาร - โรคหวัด - แก้ไอ - แผลจากโรคเบาหวาน - ความผิดปกติของตับ - โรคข้อรูมาติซึม (rheumatism) - ไซนัสอักเสบ (sinusitis) |
จีน
|
- ปวดท้อง (abdominal pain) - ท้องมาน (ascites) - ดีซ่าน (icterus) |
ไทย
|
- แก้ไข้เรื้อรัง - รักษาอาการผอมเหลือง - แก้โรคผิวหนัง - แก้ท้องร่วง - สมานแผล - ขับลม - รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย - รักษาแผลในกระเพาะอาหาร |
รูปแบบและขนาดวิธีการใช้ขมิ้นชัน
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการแสบคัน แก้หิว และแก้กระหาย ทำโดยล้างขมิ้นชันให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้
ใช้ภายใน(ยารับประทาน):
• ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน อาจปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง
• เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว ขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาดตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
ใช้ภายนอก:
• ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรือ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
• เหง้าแก่แห้ง บดเป็นผงละเอียด ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน
• เหง้าแห้งบดเป็นผง นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
• เหง้าแก่ 1 หัวแม่มือ ล้างสะอาดบดละเอียด เติมสารส้มเล็กน้อย และน้ำมันมะพร้าวพอแฉะๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง ที่หนังศีรษะ
ขนาดที่ใช้ในการรักษาอาการ dyspepsia
รับประทานผงขมิ้นชันในขนาด 1.5 - 4 กรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 - 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน หรือรับประทานขมิ้นชันในรูปแบบแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันอบแห้ง 250 มก. รับประทานครั้งละ 2 – 4แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ลักษณะทั่วไปขมิ้นชัน
ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 30-95 ซม. ลําต้นใต้ดินเป็นเหง้า มีทั้งเหง้าหลักที่เจริญชูตั้ง รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรี บางครั้งเรียกเหง้าหลักว่า “หัว” ด้านข้างของเหง้าหลักแตกแขนงในแนวระนาบ แต่ละแขนงมักแตกย่อยต่อไปได้อีก 1-2 ครั้ง เหง้าแขนงรูปคล้ายทรงกระบอก หรือ คล้ายนิ้วมือ ตรง หรือ โค้งเล็กน้อย บางครั้งเรียกเหง้าแขนงว่า “แง่ง” เนื้อเหง้าสีส้ม และมีกลิ่นเฉพาะ ลําต้นเหนือดิน เป็นลําต้นเทียมที่มีกาบใบเรียงซ้อนอัดแน่นสูงได้ถึง 1 เมตร หรือมากกว่า มีใบ 6–10 ใบต่อต้น ใบเดี่ยว ออกสลับถี่ กาบใบยาว 40–60 เซนติเมตร แผ่นใบรูปรีหรือรีแกมขอบขนาน กว้าง 10–20 เซนติเมตร ยาว 30–70 เซนติเมตร โคนใบสอบแคบ หรือ มน ปลายใบแหลมมาก ช่อดอกรูปทรงกระบอก กว้าง 5–9 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร มีใบประดับจํานวนมาก รูปรีแกมขอบขนานเรียงเวียนถี่รอบแกนช่อดอก ใบประดับที่อยู่บริเวณโคนช่อดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาวแกมเขียวยาว 5–6 เซนติเมตร กว้าง 2 – 3 เซนติเมตร ขอบโคนใบประดับประกบติดกับใบประดับที่อยู่ใกล้เคียงและติดกับแกนช่อดอกเกิดเป็นซอกคล้ายกระเปาะ ใบประดับที่อยู่บริเวณปลายช่อดอกมีสีขาวแกมเขียวอ่อน ปลายใบประดับมีแถบสีเขียวอ่อนหรือแถบสีชมพูอ่อน โคนใบประดับไม้ประกบติดกันเป็นกระเปาะ ดอกออกในซอกกระเปาะใบประดับ 3 – 5 ดอกต่อซอก และทยอยบาน ดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีขาวใส ติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายหยักไม้เท่ากัน กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดยาว ปลายผาย และแยกเป็น 3 กลีบเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันแผ่เป็นกลีบขนาดใหญ่ 3 กลีบ กลีบกลางรูปไข่กลับ สีเหลืองอ่อนและมีแถบสีเหลืองเข็ม บริเวณกลางกลีบ สองกลีบข้างรูปรีแกมขอบขนานสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มีก้านสั้น อับเรณูเล็กเรียวและมีจะงอย โอบรอบก้านชูยอดเกสรตัวเมีย รังไข่ 3 ห้อง ผลกลมหรือรี แต่มักไม่ติดผล ขมิ้นชัน นั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ , วิตามินบี 1 , วิตามินบี 2, วิตามินบี 3, วิตามินซี, วิตามินอี, ธาตุแคลเซียม, ธาตุฟอสฟอรัส, ธาตุเหล็ก, เกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงเส้นใย, คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ในขณะเดียวกัน ขมิ้นชัน ก็มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยรักษาอาการและบรรเทาโรคต่างๆ ได้หลากหลายชนิดจากการที่ได้ค้นพบประวัติในการนำมาใช้รักษามากกว่า 5,000 ปี
การขยายพันธุ์ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ10-12เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ8-12ซม.หรือมีตา6-7ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ5-10ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ30-70วันหลังปลูก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
• ฤดูกาลปลูก : ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
• ฤดูการเก็บเกี่ยว : จะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท
องค์ประกอบทางเคมีของขมิ้นชัน
สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คูมิน (curcumin), monodesmethoxycurcumin, bisdesmethoxycurcumin
น้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) มีสีเหลืองอ่อน สารหลักคือเทอร์เมอโรน (turmerone) 60%, ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25%, borneol, camphene, 1, 8 ciniole , sabinene, phellandrene
องค์ประกอบทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการรักษาอาการ dyspepsia
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า เหง้าขมิ้นชัน ประกอบด้วยสารสําคัญ 2 กลุ่มคือ curcuminoids ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่ให้สีเหลืองส้ม มีประมาณ 1.8–5.4% ประกอบด้วย curcumin และสารอนุพันธ์ของ curcumin ได้แก่ demethoxy curcumin และ bisdesmethoxycurcumin และสารสําคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือน้ำมันหอมระเหย (volatile oils) สีเหลืองอ่อน ที่มีอยู่ประมาณ 2 – 6% ประกอบด้วยสารประกอบmonoterpenes และ sesquiterpenes เช่น turmerone, zingeberene, curcumene, borneol เป็นต้น
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของขมิ้นชัน
Bisdemethoxycur cumin
curumene
Curcumin Enolform
Curcumin Ketoform
Demethoxycurcu min
turmerone
Zingiberene
ฤทธิ์ทางเภสัชของขมิ้นชัน
• มีการวิจัยฤทธิ์ของขมิ้นชันต่อการต้านไวรัส พบสารเคอร์คูมิน และเคอร์คูมินโบรอนคอมเพล็กซ์คลอไรด์ สามารถยับยั้งเอนไซม์เอช ไอ วี โปรทีเอส 1 และ 2 (HIV-1 protease,HIV-2 protease) และพบสารเคอร์คูมินอยด์สามารถยับยั้งเอนไซม์เอช ไอ วี อินทิเกรส 1 (HIV-1 integrase) เอนไซน์โทโพไอโซเมอเรส 1 และ 2 (topoisomerase I,II)
• มีการวิจัยฤทธิ์ของขมิ้นชันกับหนูที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการให้หนูกินน้ำมันขมิ้นชัน 25% และ 5% พบว่า ขมิ้นชันสามารถยังยั้งการเกิดของเซลล์มะเร็งได้ ด้วยการลดจำนวนเซลล์ และขนาดของเซลล์มะเร็ง
• ฤทธิ์ลดการเกิดแก๊สในทางเดินอาหาร Bhavanishankar และคณะ21 ทําการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) ถึงฤทธิ์ของ curcumin และสารสกัดแอลกอฮอล์จากเหง้าขมิ้นชัน พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแก่สโดยไม่มีผลยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียEscherichia coli อย่างมีนัยสําคัญ ในขณะที่ผงขมิ้นชันและส่วนที่เป็นน้ำมันของขมิ้นชันไม่มีผลยับยั้งการเกิดแก๊ส โดย curcumin และสารสกัด แอลกอฮอล์เข้าจับกับ iron ทําให้เกิดการยับยั้งการสร้างเอนไซม์ formichydrogenlyase เป็นผลให้ลดการสร้างแก๊ส ลดการนํากลูโคสไปใช้ของ E. coli และทําให้เกิดความเป็นกรดมากขึ้น
รายงานการศึกษาวิจัยของ Bhavani และคณะ 9 เกี่ยวกับผลของ curcumin ต่อการเกิดแก๊สในทางเดินอาหาร ทําการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ ในหลอดทดลอง (in vitro) และในหนูขาว (rat) โดยในหลอดทดลอง เมื่อใส่ curcumin ปริมาณ 0.005% ถึง 0.035% ลงในอาหารที่มีเชื้อ Clostridium perfringens พบว่ามีการสร้างแก๊สลดลง และเมื่อใส่ curcumin ในปริมาณ 0.05% พบว่าไม่มีการ สร้างแก๊สขึ้นเลย โดยผลที่เกิดขึ้นนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับฤทธิ์การเป็น antibacterial ของ curcumin เนื่องจากพบว่า curcumin ในปริมาณ 0.035% ไม่มีผลลดการนํากลูโคสไปใช้ของเชื้อ Clostridium perfringens
ส่วนการศึกษาในหนูขาว (rat) เมื่อให้อาหารที่ทําให้เกิดแก๊ส (chickpea flour diet) เกิดการสร้างแก๊สขึ้น 3.45 มล. เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ให้อาหารปกติ เกิดการสร้างแก๊สขึ้น 1.36 มล. เมื่อให้ curcumin ร่วมกับchickpea flour diet พบว่าการสร้างแก๊สลดลงจนถึงระดับปกติเมื่อให้ curcumin ในปริมาณ 0.1%
• รักษาอาการข้อเข่าอักเสบ เมื่อใช้สารสกัดวันละ 2 กรัม นาน 6 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ สามารถลดความเจ็บปวดเมื่อเดินบนพื้นราบ และเมื่อขึ้นลงบันได โดยมีประสิทธิผล และความปลอดภัยเท่ากับยาไอบิวโพรเฟน
• ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Arora และคณะ26 ได้ทําการศึกษาสารจากเหง้าขมิ้นชันที่สกัดด้วย petroleum ether และแยกได้สารออกมา 2 ส่วน โดยสารส่วนแรกมีลักษณะเป็นน้ำมันสีแดงเข็มที่มีความหนืดสูง และสารอีกส่วนหนึ่งเป็นผลึกของแข็งสีขาว นําสารดังกล่าวไปทดสอบฤทธิ์การต้านการอักเสบในหนูขาว (rat) ที่ทําให้หนูขาวได้เท่ากับ 12.2 กรัม/กิโลกรัม การศึกษาพิษวิทยากึ่งเฉียบพลัน (subacute toxicity) โดยใช้สารสกัดในขนาด 1 และ 2 กรัม/กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ไม่พบการเกิดพิษอย่างมีนัยสําคัญ
Ghatak และคณะ27 ศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านการอักเสบระหว่าง curcumin กับสารอนุพันธ์ของcurcumin ที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ sodium curcuminate และ potassium curcuminate โดยใช้ hydrocortisoneacetate เป็นสารมาตรฐานในการเปรียบเทียบ ทําการทดลองในหนูขาว (rat) ด้วยวิธี carrageenin-induced ratpaw edema และวิธี formalin-induced arthritis ผลการศึกษาพบว่า sodium curcuminate มีฤทธิ์ต้านการอักเสบดีกว่า curcumin และ hydrocortisone acetate โดยวิธี carrageenin-induced rat paw edema ค่าED50 ของ curcumin และ sodium curcuminate มีค่าเท่ากับ 2.10 มก./กก. และ 360 มคก./กก. ตามลําดับและวิธี formalin-induced arthritis ค่า ED50 ของ sodium curcuminate มีค่าเท่ากับ 144 มคก./กก.
• ฤทธิ์ขับน้ำดี Ramprasad และคณะ37 ทําการศึกษาฤทธิ์ของ curcumin และน้ำมันหอมระเหย ของขมิ้นชันต่อการขับน้ำดี โดยทําการทดลองในสุนัขที่ถูกทําให้สลบ พบว่าการให้ sodium curcuminate ทางหลอดเลือดดําในขนาด 25 มก./กก. มีฤทธิ์กระตุ้นการขับน้ำดีเพิ่มขึ้นเกือบ 100% โดยไม่มีผลกระทบต่อความดันโลหิตและการหายใจของสัตว์ทดลอง ส่วนน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์กระตุ้นการขับน้ำดีน้อยกว่า
Ramprasad และคณะ38 ทําการศึกษาฤทธิ์ของ sodium curcuminate ต่อการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของน้ำดี โดยทําการทดลองในสุนัขที่ถูกทําให้สลบ พบว่าเมื่อฉีด sodium curcuminate เข้าหลอดเลือดดําในขนาด 5, 10, 25 มก./กก. พบว่ามีผลเพิ่มปริมาณน้ำดี แต่ลดปริมาณส่วนประกอบที่เป็นของแข็ง และยังพบว่ามีการขับ bile salt, bilirubin และ cholesterol เพิ่มขึ้น แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมัน
Deters และคณะ39 ทําการศึกษาฤทธิ์ของ curcumin ในการป้องกัน cyclosporin ที่มีผลลดการหลั่งbilirubin และ biliary cholesterol และอิทธิพลของ cyclosporin และสาร metabolites ต่อการขับน้ำดี ทําการทดลองในหนูขาว (rat) โดยให้ curcumin ทางหลอดเลือดดําในขนาด 25 และ 50 มก./กก. หลังจากเพิ่มขนาดcurcumin ในอัตราเร็ว 30 มคล./กก./นาที เป็นเวลา 30 นาที พบว่ามีการขับน้ำดี bilirubin และ biliarycholesterol เพิ่มขึ้น 200, 150 และ 113% ตามลําดับ
การให้ cyclosporin ทางหลอดเลือดดํา 30 มก./กก. เป็นเวลา 30 นาที มีผลลดการขับน้ำดี bilirubinและ biliary cholesterol ลงจากระดับปกติ 66, 33 และ 33% ตามลําดับ หลังจากนั้น 30 นาที ให้ curcuminทางหลอดเลือดดําในขนาด 25 และ 50 มก./กก. พบว่ามีการขับน้ำดีเพิ่มขึ้น 130% ในเวลา 1 ชั่วโมง มีการขับbilirubin และ biliary cholesterol เพิ่มขึ้น 100% ภายในเวลา 30 และ 150 นาที ตามลําดับ
• ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Banerjee และคณะ46 ทําการศึกษาคุณสมบัติในการต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นชันในหลอดทดลอง (in vitro) กับเชื้อในกลุ่ม saprophytic, กลุ่มเชื้อก่อโรคในพืช กลุ่มเชื้อก่อโรคในมนุษย์ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา พบว่าน้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบและเชื้อราก่อโรคได้ดี Shankar และคณะ47 ทําการศึกษาผลของขมิ้นชันต่ออัตราการเติบโตและการสร้างกรดของเชื้อแบคทีเรียในลําไส้บางชนิด พบว่าขมิ้นชันมีผลยับยั้งการเติบโตและการสร้างกรดของเชื้อ Lactobacilli ในขณะที่กระตุ้นการเติบโตและการสร้างกรดของเชื้อ Streptococci และ E. coli เล็กน้อย โดย minimum effectiveconcentration ของขมิ้นชันมีค่า 0.5%
Shankar และคณะ48 ทําการศึกษาผลของสารสกัดส่วนต่างๆ จากเหง้าขมิ้นชันต่ออัตราการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลําไส้เล็ก แบคทีเรียก่อโรค และแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ โดยพบว่าสารสกัดส่วนที่เป็นน้ำมัน(turmeric oil) ของขมิ้นชันมีผลยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ ส่วนสาร curcumin ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Bacillus aureus สารสกัดในส่วนแอลกอฮอล์ และสารสกัดส่วนที่เป็นน้ำมันมีผลเหนี่ยวนําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเชื้อ Streptococci, Lactobacilli และStaphylococci
อัญชลี อินทนนท์ และคณะ51 ได้ทําการทดลองใช้ขมิ้นชันรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง ซึ่งเชื่อว่าเป็นอาการของโรคแผลเป่ปติค (peptic ulcer) โดยเปรียบเทียบกับการใช้ไตรซิลิเกต (trisilicate) ซึ่งเป็นยาลดกรดขององค์การเภสัชกรรม ได้ผลดังนี้ คือ อาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยขมิ้นชันครบ 12 สัปดาห์ จํานวน 15 รายคิดเป็น 88 % หายปกติ 1 ราย คิดเป็น 5.8% อาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยไตรซิลิเกต 5 ราย คิดเป็น 50% หายปกติ 4 ราย คิดเป็น 40%
ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์ และคณะ52 ทําการศึกษาผลของขมิ้นชันแคปซูลในการรักษาโรคแผลเปื่อยด้วยวิธีการส่องกล้องในผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลําไส้เล็กดูโอดีนัมที่มีอาการปวดท้อง โดยให้ขมิ้นชันในรูปแคปซูลขนาด 250 มก. รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงและก่อนนอน ทําการส่องกล้องตรวจตั้งแต่เริ่มการรักษาและเมื่อครบ 4, 8 และ 12 สัปดาห์หลังการรักษา มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจนสิ้นสุดการศึกษา ทั้งสิ้น 10 ราย เป็นชาย 8 ราย และหญิง 2 ราย มีอายุระหว่าง 16 -60 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (8 ราย) มีแผลเปื่อยในลําไส้เล็กดูโอดีนัม และอีก 2 รายเป็นแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารขนาดแผลที่พบมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-1.5 ซม. จากผู้ป่วยทั้งสิ้น 10 ราย มีการหายของแผลเป็นปกติภายใน 4 สัปดาห์ 5 ราย (50%) หรือหายเป็นปกติภายใน 4 ถึง สัปดาห์ 7 ราย (70%)
การศึกษาทางพิษวิทยาของขมิ้นชัน
การศึกษาพิษในหนูขาว (rat), หนูตะเภา (guinea pig) และลิง โดยให้ขมิ้นชันทางปาก ไม่พบการเกิดพิษทั้งการศึกษาทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อ (histology) และเซลล์วิทยา (cytology) ของหัวใจ ตับ และไต
ไม่พบการเกิดพิษเฉียบพลันในหนูขาว (rat) โดยให้สาร curcumin ทางปากในขนาดสูงถึง 5 ก./กก.9 การศึกษาในหนูขาว (rat) โดยให้ขมิ้นชันหรือสาร curcumin ทางปากในขนาดที่มนุษย์บริโภคโดยทั่วไปหรือขนาดที่สูงกว่านั้น (1.25-125 เท่า) ไม่ทําให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ต่อการเติบโต การกินอาหาร,erythrocytes, leukocytes, สารประกอบในเลือด (Hb, total serum protein, albumin, globulin, serumaminotransferase และ alkaline phosphatase)
สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% เมื่อฉีดเข้าทางท้องหนูขาว (rat) ในขนาด 500 มก./กก. ทําให้หนูตายครึ่งหนึ่ง และหนูทนต่อสารสกัดนี้ได้ถึง 250 มก./กก. ส่วนสารสกัดด้วยปีโตรเลียม อีเทอร์ แอลกอฮอล์และน้ำทําให้หนูตายครึ่งหนึ่งเมื่อให้สารสกัดขนาด 525, 398 และ 430 มก./กก. ตามลําดับ ส่วนพิษเฉียบพลันนั้น มีผู้ทดลองในสัตว์ทดลองชนิดไม่พบว่ามีพิษเฉียบพลัน เมื่อให้ขมิ้นชันในขนาด 2.5 ก./กก. หรือสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์ 300 มก./กก.15
การศึกษาพิษเรื้อรังของขมิ้นชันในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ (vistar rat) ที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมได้รับน้ำ และกลุ่มทดลองได้รับผงขมิ้นชันทางปากในขนาด 0.03, 2.5 และ 5.0 ก./กก./วัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 1, 83 และ 166 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนคือ 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม/วัน เป็นเวลานาน 6 เดือนพบว่าหนูเพศผู้ที่ได้ขมิ้นชันในขนาด 2.5 และ 5.0 ก./กก./วัน มีน้ำหนักตัวและการกินอาหารน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในเพศเมียที่ได้รับยาขนาดเท่ากัน ขมิ้นชันในขนาดต่างๆ ที่ให้แก่หนู ไม่ทําให้เกิดอาการพิษใดๆ รวมทั้งไม่มีผลต่อค่าทางโลหิตวิทยาหรือค่าเคมีคลินิก และไม่ทําให้เกิดพยาธิสภาพ ต่ออวัยวะภายในของหนูทั้งสองเพศ
การศึกษาพิษเรื้อรังนาน 6 เดือน ของ curcuminoids ในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ที่แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มกลุ่มละ 15 ตัวต่อเพศ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ กลุ่มควบคุมที่ได้รับ tragacanth และกลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำยาแขวนตะกอน curcuminoids ใน tragacanth ทางปากในขนาด 10, 50 และ 250 มก./กก./วัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 1, 5 และ 25 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนต่อวัน ส่วนหนูขาวกลุ่มที่ 4 ได้รับน้ำยาแขวนตะกอน curcuminoids ขนาด 250 มก./กก./วัน นาน 6 เดือน แต่หยุดให้ยา 2 สัปดาห์ก่อนผ่าซาก เพื่อดูว่าหากมีอาการพิษจาก curcuminoids เกิดขึ้น จะกลัยมาหายเป็นปกติได้หรือไม่หลังจากหยุดยา พบว่าอัตราการเจริญของหนูเพศผู้ที่ได้รับ curcuminoids 50 มก./กก./วัน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ tragacanth อย่างมีนัยสำคัญ หากมี อาการพิษ จากcurcuminoids เกิดขึ้น จะกลับมาหายเป็นปกติได้หรือไม่หลังจากหยุดยา พบว่าอัตราการเจริญของหนูเพศผู้ที่ได้รับ curcuminoids 50 มก./กก./วัน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ tragacanth อย่างมีนัยสําคัญ curcuminoids ไม่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยาใดๆ ที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของสารที่ให้ในหนูเพศผู้ที่ได้รับcurcuminoids 250 มก./กก./วัน พบว่าน้ำหนักจริงและน้ำหนักสัมพัทธ์ของตับ และระดับ alkaline phosphateสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งสองกลุ่ม แต่ยังอยู่ในช่วงของค่าปกติ แม้ว่าหนูขาวกลุ่มนี้ดูเหมือนจะมีอุบัติการณ์ของไขมันสะสมในตับและชั้น cortex ของต่อมหมวกไตสูง แต่อุบัติการณ์ดังกล่าาวไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มควบคุมทั้งสองอย่างมีนัยสําคัญ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการให้ curcuminoids ขนาดที่ใช้ในคน 10 มก./กก./วัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ทําให้เกิดพิษในหนู ขาว อย่างไรก็ตาม curcuminoids ในขนาดสูงอาจมีผลต่อการทํางาน และโครงสร้างตับได้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลับเป็นปกติใหม่ได้เมื่อหยุดใช้ curcuminoids
จากการศึกษาความปลอดภัยของน้ำมันขมิ้นชัน (turmeric oil) ทางคลินิกระยะที่ 1 ในคนปกติ 9 รายก่อนที่จะนําไปศึกษาประสิทธิผลในการรักษา oral submucous fibrosis ซึ่งเป็น precancerous change ของมะเร็งช่องปากในระยะที่ 2 ต่อไปนั้น พบว่าเมื่อให้น้ำมันขมิ้นชัน 0.6 มล. วันละ 3 ครั้ง นาน 1 เดือน ตาม ด้วยขนาด 1 มล. แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง 2 เดือน พบว่าอาสาสมัคร 1 คนถอนตัว เนื่องจากมีไข้ ที่เหลืออีก 7 ราย พบว่าไม่ทําให้เกิดพิษทางคลินิก ทางโลหิตวิทยา หรือพิษต่อตับ ไต หลังได้รับน้ำมันขมิ้นชันนาน 1 หรือ 3 เดือน19
จากการวิจัยทางคลินิกของฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์ และคณะ52 ได้ศึกษาเคมีในเลือดผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจํานวน 30 คน ก่อนและหลังการรับประทานขมิ้นติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงผลเคมีในเลือดที่บ่งถึงการตรวจหน้าที่ตับและไตและ hematology
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
• ไม่ควรรับประทานสารสกัดที่ได้จากเหง้าขมิ้นชันติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย งุ่นง่าน กระสับกระส่าย ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน และสตรีที่มีครรภ์ในระยะแรกๆ ไม่ควรรับประทานเด็ดขาดเพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้
• การใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไป จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
• คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยา
• ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
• ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และเลือดไหลหยุดยากได้
เอกสารอ้างอิง ขมิ้นชัน
1. ขมิ้นชัน.วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/
2. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ.2549
3. ขมิ้นชัน.ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4. ขมิ้นชัน.ฐานข้อมูลสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้านล้านนา.มหาวิทยาลัยแม่โจ้
5. Ammon HPT, Wahl MA. Pharmacology of Curcuma longa. Planta Med 1991; 57: 2-3.
6. สํานักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐานสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานสําหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงค์เคราะห์ทหารผ่านศึก; 2530. หน้า 66.
7. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่มที่ 2 ขมิ้นชัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ร.ส.พ.; 2544. หน้า 1-2, 22, 24-26, 28, 58-59.
8. พร้อมจิต ศรลัมพ์, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, อาทร ริ้วไพบูลย์, สมภพ ประธานธุรารักษ์, วีณา จิรัจฉริยากูล. สมุนไพรสวนสิรีรุขชาติ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป; 2535. หน้า 94.
9. ขมิ้นชัน.ฐานข้อมูลเครื่องยา.คณะเภสัชศาสตร์.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedoug.com/main.php?action=viewpage&pid=34
10. World Health Organization. Rhizoma Curcuma longae. In: WHO monographs on selected medicinal plants. Vol. I. Geneva: 1999. p. 115-21.
11. Nutakul W. NMR Analysis of Antipeptic Ulcer Principle from Curcuma longa L. Bull Dept Med Sci 1994; 4: 211-8.
12. ยุพา เที่ยงลาย,การศึกษาผลของการสกัดจากใบพลู ใบฝรั่ง และหัวขมิ้นชันต่อการยับยั้ง Escherichia coli.2548
13. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ย่อเภสัชกรรมไทยและสรรพคุณสมุนไพร. กรุงเทพฯ: คลินิกธรรมเวชแพทย์แผนไทย; 2546. หน้า 93.
14. กัญจนา ดีวิเศษ, ชัยพร กลิ่นจันทร์, ไฉน น้อยแสง, ษรีวรรณ์ เสตะพาน, บรรณาธิการ. เภสัชกรรมแผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สามเจริญการพิมพ์; 2547. หน้า 181.
15. มาโนช วามานนท์, เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. บรรณาธิการ. ยาสมุนไพรสําหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2537. หน้า 34-5.
16. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ก้าวไปกับสมุนไพร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์; 2529. หน้า 68-9, 73.
17. ภาสกิจ วัณณาวิบูล.รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน.กทม.ทองเกษม.2555
18. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549. หน้า 16, 23-31.
19. Arora RB, Basu N, Kapoor V, Jain AP. Anti-inflammatory studies on Curcuma longa. Ind J Med Res 1971; 8: 1289-95.
20. Ghatak N, Basu N. Sodium curcuminate as an effective anti-inflammatory agent. Indian J Exp Bio 1972; 10: 235-6.
21. Ramprasad C, Sirsi M. Studies on Indian medicinal plants: Curcuma longa Linn. effect of
curcumin & the essential oils of C. longa on bile secretion. J Sci Industr Res 1956; 15: 262-5.
22. Ramprasad C, Sirsi M. Curcuma longa & bile secretion; quantitative changes in the bile constituents induced by sodium curcuminate. J Sci Ind Research 1957; 16: 108-10.
23. Deters M, Siegers C, Hansel W, Schneider KP, Hennighausen G. Influence of curcumin on cyclosporin-induced reduction of biliary bilirubin and cholesterol excretion and on biliary excretion of cyclosporin and its metabolites. Planta Med 2000; 66: 429-34.
24. Banerjee A, Nigam SS. Antimicrobial efficacy of the essential oil of Curcuma longa. Indian J Med Res 1978; 68: 864-6.
25. Shankar TNB, Murthy VS. Effect of turmeric (Curcuma longa) on the growth of some intestinal bacteria in vitro. J Food Sci Tech 1978; 15: 152-3.
26. Shankar TNB, Murthy VS. Effect of turmeric (Curcuma longa) fraction on the growth of some intestinal & pathogenic bacteria in vitro. J Exp Biol 1979; 17: 1363-6.
27. อัญชลี อินทนนท์, สมเกียรติ เมธีวีรวงศ์, ประกาย วิบูลย์วิภา, พยุงศรี เซียตระกูล, ชุจิรา มิทราวงศ์, เกษรแถวโนนงิ้ว. การใช้ขมิ้นชันรักษาอาการปวดท้อง. ม.ป.ท. : สํานักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูล ฐาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2529.
28. ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์, บรรจบ อินทรสุขศรี, มานิต ลีโทชวลิต, นันทพร นิลวิเศษ, อมรินทร์ ปรีชาวุฒิ, สุวัฒน์ วิมลวัฒนาภัณฑ์. ผลของขมิ้นชันต่อการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กดู โอดินัม ในผู้ป่วยแผลเปื่อยเปปติค รายงานเบื้องต้นในผู้ป่วย 10 ราย. วารสารเภสัชวิทยา 2529; 8: 139-51.