หนาดใหญ่ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

หนาดใหญ่ งานวิจัยและสรรพคุณ 36 ข้อ

ชื่อสมุนไพร หนาดใหญ่
ชื่ออื่นๆ หนาด, หนาดหลวง, คำพอง (เหนือ), พิมสม (กลาง), ใบหรม (ใต้), ไต่ฮวงไหง่, ไหง่หนับเฮี่ยง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera (L.) DC.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Blumea grandis DC., Baccharis salvia Lour.
ชื่อสามัญ Ngai Campor Tree, Camphor Tree 
วงศ์ ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ถิ่นกำเนิดหนาดใหญ่

หนาดใหญ่ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่มักพบขึ้นตามที่รกร้าง ทุ่งนา หรือ ตามหุบเขาทั่วไป พบหนาดใหญ่ ได้ทุกภาคในประเทศไทย และพบได้ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศจีน นับว่าเป็นพืชพื้นถิ่นของไทยได้เลยที่เดียว
 

ประโยชน์และสรรพคุณหนาดใหญ่

  1. แก้วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
  2. แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  3. เป็นยาห้ามเลือด
  4. เป็นยาเจริญอาหาร
  5. แก้โรคไขข้ออักเสบ
  6. เป็นยาบำรุงหลังคลอด
  7. แก้ไข้
  8. ช่วยลดความดันโลหิต
  9. เป็นยาขับพยาธิ
  10. เป็นยาระงับประสาท
  11. ช่วยขับลม
  12. แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
  13. แก้ปวดท้อง
  14. ช่วยขับเหงื่อ
  15. ช่วยขับเสมหะ
  16. แก้มุตกิด (ขับระดูขาว)
  17. แก้ปวดท้อง
  18. แก้ท้องร่วง
  19. แก้แผลอักเสบ
  20. แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ
  21. แก้ริดสีดวงจมูก
  22. ขับลมในลำไส้
  23. รักษาแผลฝีหนอง บาดแผลสด
  24. แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ
  25. แก้กลากเกลื้อน
  26. ใช้ผสมในน้ำอาบสมุนไพรหลังคลอด
  27. บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น
  28. ช่วยขยายเส้นเลือด
  29. แก้ประจำเดือนออกมากผิดปกติ
  30. ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  31. แก้คัน
  32. แก้ลมพิษ
  33. รักษาโรคไข้มาลาเรีย
  34. แก้เริม
  35. แก้อาการเลือดกำเดาไหล
  36. บำรุงกำลัง

หนาดใหญ่

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ในมาเลเซีย ใช้ใบอ่อน และรากหนาดใหญ่ต้มกินเป็นอาหารบางครั้งใส่ยี่หร่าลงไปด้วย รากเก็บจากต้นอ่อนยังไม่ออกดอก กล่าวว่า มีฤทธิ์ขับพยาธิในลำไส้ ใช้ใบอ่อน กินร่วมกับใบพลู แก้อาการเจ็บบริเวณหัวใจ ซึ่งอาจเนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่ดีก็ได้
  • ในอินโดจีน ใช้ใบหนาดใหญ่ ร่วมกับต้นตะไคร้ ต้มให้เดือด ใช้อบตัวช่วยขับเหงื่อ
  • ในซาราวัค ใช้ใบต้มร่วมกับเทียนดำ (Nigella sativa L.) หัวหอมเล็ก หรือ บดกับเกลือ กินแก้ไข้
  • ในชวา ใช้น้ำคั้น หรือ น้ำต้มจากใบหนาดใหญ่ หรือ จากราก กินแก้ประจำเดือนออกมากผิดปกติ
  • ในกัมพูชา ใช้ใบพอกแก้หิด ใช้ใบหรือยอดอ่อน ตำพอกแผลห้ามเลือด หรือ ตำร่วมกับใบขัดมอญ (Sida rhombifolia L.) พอกศีรษะแก้ปวดหัว
  • ตำร่วมกับใบกระท่อม ใบยอ ใบเพกา ใช้เป็นยาพอกแก้ม้ามโต
  • ใบต้มน้ำ ให้หญิงหลังคลอดอาบ และใช้ทาถูภายนอก แก้ปวดหลัง เอว และปวดข้อ
  • น้ำคั้นจากใบ หรือ ผงใบหนาดใหญ่แห้ง ทาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ใบ ชงน้ำร้อน กินตอนอุ่นๆ ใช้แก้ไข้ ขับเหงื่อ ในไทย
  • ชาวบ้านบางแห่งก็ใช้ใบหนาดใหญ่ อังไฟให้ร้อน แล้วนำมาห่อตัวบริเวณที่มีการอักเสบ หรือ ทางใต้จะใช้รองหัว (ก้อนหินเผาไฟ) ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยแก้ปวดหลังปวดเอว แก้อักเสบ แก้ฟก บวม บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ และยังมีตำรับยาที่ใช้ใบหนาดนำมาดองกับเหล้า เพื่อเก็บไว้ใช้นานๆ สำหรับทาถูแก้ปวด เช่น ปวดข้อรูมาติกส์ และแก้คัน แก้ลมพิษได้ด้วย หนาดเป็นสมุนไพรหลักตัวหนึ่งที่นิยมใส่ในตำรับยาอบ และในลูกประคบ
  • สาวภูไทยใช้เป็นส่วนผสมในยาสระผม โดยสาวภูไทยผมยาวสลวยจะใช้ใบหนาด ใบมะนาว รากแหน่งหอม (ว่านสาวหลง) ต้มกับน้ำข้าวหม่า (น้ำที่แช่ข้าวเหนียวทิ้งค้างคืนไว้) แล้วใช้เป็นยาสระผม ทำให้ผมหอมกรุ่น ใบหนาดยังแก้วิงเวียน แก้ปวดหัวได้ดีโดยการตำใบหนาดให้พอละเอียด นอนลง หรือ นั่งเอนหลัง แล้วนำมาวางข้างขมับ และหน้าผาก ใช้แก้ปวดหัวได้ หรือจะต้มใส่หม้อเอาไอรม เพื่อรักษาอาการวิงเวียนก็ได้
  • ชาวม้งจะใช้ยอดอ่อนนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปตุ๋นใส่ไข่ ใช้กินเป็นยารักษาโรคไข้มาลาเรีย 
  • รากหนาดใหญ่ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้หวัด
  • ตำรับยาแก้ปวดประจำเดือน ให้ใช้รากหนาด 30 กรัม และเอี๊ยะบ๊อเช่า 18 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน 
  • ตำรับยาแก้เริมบริเวณผิวหนัง ด้วยการใช้ใบหนาด 20 กรัม, ขู่เซินจื่อ 20 กรัม, โด่ไม่รู้ล้ม 20 กรัม, จิงเจี้ย 20 กรัม, เมล็ดพุดตาน 15 กรัม, ไป๋เสี้ยนผี 30 กรัม, และใบสายน้ำผึ้ง 30 กรัม นำมารวมกันต้มเอาน้ำชะล้างแผล
  • ตำรับยาแก้ปวดประจำเดือน ให้ใช้รากหนาด 30 กรัม และเอี๊ยะบ๊อเช่า 18 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน 
  • ใบเป็นส่วนผสมในยาสมุนไพรอาบรักษาอาการผิดเดือนสำหรับสตรีหลังคลอดลูกร่วมกับใบเปล้าหลวง (ลำเชิน)และใบหมากป่า
  • รากหนาดใหญ่ นำมาต้มในน้ำผสมกับรากเปล้าหลวง (ลำเชิน) ใช้เป็นยาห่มรักษาอาการผิดเดือน (ลั้วะ)
  • ใบหนาดใหญ่ นำมาขยี้แล้วดมแก้อาการเลือดกำเดาไหล
  • ใบอ่อน ทุบแล้วแช่น้ำดื่มแก้อาการท้องร่วง หรือ ใช้ต้มน้ำร่วมกับ ใบช่านโฟว (ว่านน้ำเล็ก) ลำต้นป้วงเดียตม เครือไฮ่มวย ต้นถ้าทางเมีย ต้นเดี่ยปวง (สามร้อยยอด) ใบสะโกวเดี๋ยง (เดื่อฮาก) ใบจ้ากิ่งยั้ง (ก้านเหลือง) ใบทิ่นหุ้งจา (ฝ่าแป้ง) ให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟอาบเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (ถ้าหาสมุนไพรได้ไม่ครบก็ให้ ใช้เท่าที่หาได้) (เมี่ยน)
  • ใบหนาดใหญ่ ใช้เป็นที่ปะพรมน้ำมนต์ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายร่วมกับกิ่ง พุทรา (คนเมือง)
  • พิมเสน สกัดใบหนาดใหญ่ และยอดอ่อนด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันหอมทำให้เย็น พิมเสนก็จะตกผลึก แล้วกรองแยกเอาผลึกพิมเสนมาใช้ประมาณ 0.15-0.3 กรัม นำมาป่นให้เป็นผงละเอียด หรือ ทำเป็นยาเม็ดกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือ ใช้ขับลม เมื่อใช้ภายนอกนำผงมาโรยใส่บาดแผล แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ เป็นต้น
  • ใบและยอดอ่อนหนาดใหญ่ ใช้ใบและยอดอ่อนแห้งประมาณ 10-18 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือ ใช้ภายนอกด้วยการบดให้เป็นผงละเอียดผสมสุรา ใช้พอก หรือ ทาแผลผกช้ำ ฝีบวม อักเสบ แผลฝีหนอง บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน เป็นต้น
  • รากหนาดใหญ่ ใช้รากสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บวม ปวดข้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ขับลม ทำให้การหมุนเวียนของโลหิตดี และแก้ปวดเมื่อยหลังคลอดแล้ว เป็นต้น


ลักษณะทั่วไปของหนาดใหญ่

หนาดใหญ่ เป็นไม้พุ่ม หรือ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร สูง 1-4 เมตร ลำต้นกลม กิ่งก้านมีขนนุ่มยาว เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีกลิ่นหอมของการบูร

           ใบหนาดใหญ่ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดหนาแน่น คล้ายเส้นไหม และมีกลิ่นหอม กว้าง 2-20 เซนติเมตร ยาว 8-40 เซนติเมตร ปลายใบ และโคนใบแหลม ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน หรือ ฟันเลื่อย ก้านใบมีรยางค์ 2-3 อัน

           ดอกหนาดใหญ่ เป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง หรือ ซอกใบ เป็นช่อกลม ช่อดอกมีขนาดโตไม่เท่ากัน กว้าง 6-30 เซนติเมตร ยาว 10-50 เซนติเมตร มีริ้วประดับหลายชั้น บางครั้งริ้วประดับอาจยาวกว่าดอก รูปขอบขนาน แคบยาว 1-9 มิลลิเมตร ปลายแหลม ด้านหลังมีขนนุ่มหนาแน่น ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง ฐานดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร ดอกสมบูรณ์เพศมีหลอดดอกยาว 4-7 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นหลอด รูปไข่ ปลายแหลม มีขนนุ่ม ดอกตัวเมียมีหลอดดอกเล็กเรียว ยาวไม่เกิน 6 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 2-4 แฉก เกลี้ยง

           ผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน ยาวราว 1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล โค้งงอเล็กน้อย เป็นเส้น 5-10 เส้น มีขนสีขาว


การขยายพันธุ์หนาดใหญ่

หนาดใหญ่ ขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด นิยมปลูกไว้หน้าบ้านด้วยมีความเชื้อว่าสามารถขับไล่ผี และสิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้านได้ แต่โดยมากมักขยายพันธุ์เอาโดยธรรมชาติ โดยอาศัยลมพัด ผลของหนาดใหญ่ ไปตกตามที่ต่างๆ และเกิดเป็นต้นออกมา ซึ่งเป็นการกระจายพันธุ์โดยอาศัยธรรมชาติ


องค์ประกอบทางเคมี

ในใบหนาดใหญ่ พบสาร cryptomeridion มีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม และสารที่พบอีก ได้แก่ blumealactone, borneol, flavanone, quercetin, xanthoxylin[2] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า สารที่พบคือน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันหอมระเหยพบสาร Cineole, Borneol, Di-methyl ether of phloroacetophenone, Limonene นอกจากนี้ยังพบสารจำพวก Amino acid, Erysimin, Flavonoid glycoside, Hyperin เป็นต้น

           เมื่อกลั่นใบหนาดใหญ่ ด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันระเหยง่าย ประกอบด้วย d-carvo-tanacetone 1-tetrahydrocarvone mixture ของ butyric isobutyric และ n-octanoic acids, 1-borneol 1,8-cineol อนุพันธ์ของ carvotanacetone 2 ชนิด diester ของ coniferyl alcohol อนุพันธ์ของ polyacetylenes และ thiophene campesterol stigmasterol sitosterol xanthoxylin erianthin สารฟลาโวนอยด์ คือ 4’-methyl ether และ 4’, 7- dimethyl ether ของ dihydroquercetin สาร sesqiterpene ชื่อ cryptomeridion

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของหนาดใหญ่

โครงสร้างหนาดใหญ่

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของหนาดใหญ่

ขายส่งสมุนไพร

ไม่มีข้อมูลการศึกษาทางเภสัชวิทยา


การศึกษาทางพิษวิทยาของหนาดใหญ่

ไม่มีข้อมูลการศึกษาทางพิษวิทยา

 
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการทำพิมเสน (พิมเสนหนาด) เมื่อได้พิมเสนมาแล้ว จะมีลักษณะพิมเสนที่ดี คือ เป็นแผ่นใหญ่ ขนาด 5-15 มม. หนา 2-3 มม. มีสีขาว กลิ่นหอมเย็น รสเย็นซ่า


เอกสารอ้างอิง หนาดใหญ่
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หนาดใหญ่”. หน้า 813-815.
  2. หนาดใหญ่. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=123
  3. หนาด.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี .(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=หนาด&oldid=6255797
  4. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “หนาดใหญ่” หน้า 192.
  5. ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ. หนาดใหญ่และผักหนาม. นิตยสารหมอชาวบ้าน.คอลัมน์อื่นๆ. เล่มที่ 17 กันยายน 2523
  6.  เต็ม สมิตินันทน์, 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
  7. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ
  8. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร ไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หนาดใหญ่”. หน้า 610.
  9. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. ใบหนาด สมุนไพรป้องกันผีป้องกันตัว. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www/thaikasetsart.com
  10. อุทัย สาขี. บทคัดย่อโครงการวิจัย การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของต้นหนาดใหญ่และหนาดวัว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)